โชคดีพ่อทำเป็น! ปั๊มหัวใจ ลูกชาย 3 ขวบจมน้ำรอด! - Amarin Baby & Kids
ปั๊มหัวใจ

โชคดีพ่อทำเป็น! ปั๊มหัวใจ ลูกชาย 3 ขวบจมน้ำ รอดหวุดหวิด!

Alternative Textaccount_circle
event
ปั๊มหัวใจ
ปั๊มหัวใจ

ปั๊มหัวใจ-  เรื่องราวความโชคดีครั้งนี้ สืบเนื่องจาก แดน เมเยอร์ส ชาวเมือง St. Simon’s Island รัฐจอร์เจีย ในสหรัฐอเมริกา ได้ดึงลูกชายวัย 3 ขวบที่หมดสติจากการจมน้ำขึ้นมาจากสระน้ำ จากนั้นได้ทำ CPR ด้วยการปั๊มหัวใจ และผายปอดให้ลูกอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนความช่วยเหลือมาถึง

โชคดีพ่อทำเป็น! ปั๊มหัวใจ ลูกชาย 3 ขวบจมน้ำ รอดหวุดหวิด!

ในวันเกิดเหตุพวกผู้ใหญ่ กำลังช่วยกันเตรียมอาหารสำหรับงานปาร์ตี้ มีเด็กๆ เล่นกันอยู่รอบๆ บ้าน ทันใดนั้น คาเดนลูกชายวัย 3 ขวบของเมเยอร์ส กระโดดลงสระว่ายน้ำโดยไม่มีห่วงยางและได้จมน้ำในที่สุด เมื่อเมเยอร์สเห็นว่าลูกชายจมลงไปในสระน้ำ จึงรีบวิ่งไปดึงลูกชายของเขาขึ้นมาทันที เขาสังเกตเห็นว่าลูกชายของเขาไม่ตอบสนอง จึงรีบโทรไปที่หมายเลข 911 ทันที เมื่อเจ้าหน้าที่ 911 สั่งให้ เมเยอร์สเล่าว่า เขา เริ่มกดหน้าอกและช่วยชีวิตลูกต่อโดยไม่หยุดพัก เพื่อรอจนหน่วยบริการการแพทย์จะมาถึง ทันใดนั้นคาเดนเริ่มหายใจแต่ยังคงไม่ตอบสนอง พอดีกับหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเดินทางมาถึง คาเดนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อทำการรักษา และสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในเวลาต่อมา

ปั๊มหัวใจ
เมเยอร์สและลูกชายของเขา (Credit ภาพ : redcross.org)

แดน เมเยอร์ส  กล่าวว่า  “ผมเคยได้รับการฝึกอบรม การทำ CPR จากสภากาชาดมาตั้งแต่มัธยมปลาย”  “ สิ่งเดียวที่ผมคิดตอนเกิดเหตุ คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ลูกชายกลับมาหายใจอีกครั้ง ต่อให้ต้องใช้เวลานานแค่ไหนก็ตาม ผมก็จะไม่หยุดทำ CPR จนกว่าลูกจะกลับมาหายใจได้”

จากเหตุการณ์นี้ทำให้ตระหนักได้ว่า เหตุฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในบ้านของตัวเองที่ดูเหมือนว่าปลอยภัย การฝึกอบรมการทำ CPR จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่อาจช่วยชีวิตคนที่อยู่ใกล้ยามเกิดเหตุได้ เมื่อผู้ประสบเหตุไม่หายใจแต่ยังมีชีพจร คุณจะต้องทำการช่วยหายใจ หากไม่มีการหายใจและไม่มีชีพจรคุณควรทำ CPR อย่างเต็มที่ จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

อย่างไรก็ดี ต่อไปนี้คือเทคนิคการช่วยชีวิตเด็กที่หมดสติหรือหยุดหายใจจากอุบัติเหตุ ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรรู้ไว้ในกรณีเกิดเหตุไม่คาดคิดกับลูกๆ

เทคนิคการปฐมพยาบาลทารกและเด็กเล็กที่หมดสติ

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

ตรวจสอบการตอบสนอง: แตะทารกเบา ๆ และตะโกนเพื่อดูว่าเด็กส่งเสียงตอบรับหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ ในกรณีที่เด็กไม่มีการตอบสนองให้โทรเรียกรถฉุกเฉินทันที ระหว่างนั้นให้ทำ CPR เป็นเวลาอย่างน้อยสองนาที

ตรวจสอบการหายใจ: อุ้มวางเด็กทารกให้นอนหงาย (หากมีโอกาสที่เด็กจะได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังควรมีคนช่วยเคลื่อนย้ายทารกเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะหรือคอบิด) ขณะที่ทารกนอนหงาย ให้ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ในขณะที่ใช้มืออีกข้างกดลงบนหน้าผากเพื่อตรวจดูการหายใจ โดยวางหูไว้ใกล้กับปากและจมูกของทารก ให้ฟังและรู้สึกถึงลมหายใจที่แก้มของคุณ พร้อมกับเช็คหน้าอกของทารกว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่

ทำการช่วยหายใจ: หากคุณไม่ได้ยินหรือรู้สึกว่าทารกหายใจ คุณจะต้องทำการช่วยชีวิตแบบเม้าท์ทูเม้าท์ โดยให้ปิดปากและจมูกของทารกเบาๆ ด้วยปากของคุณ (หรือปิดแค่จมูกของทารกแล้วปิดปากไว้) ยกคางของทารกขึ้นและเอียงศีรษะไปด้านหลัง หายใจเข้าสั้นๆ 2 ครั้ง (แต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณหนึ่งวินาทีและควรทำให้หน้าอกของทารกสูงขึ้น) พึงระลึกไว้เสมอว่าลูกน้อยของคุณไม่ต้องการอากาศมาก ไม่ควรเป่าลมให้แรงจนเกินไป

ปั๊มหัวใจ

การทำ CPR : หลังจากที่คุณได้ทำการช่วยหายใจสองครั้งแล้ว ให้ตรวจดูการตอบสนองต่าง ๆ เช่น ดูว่าเด็กหายใจหรือไม่ หากเด็กยังไม่ตอบสนองให้เริ่มกดหน้าอก โดยให้วางนิ้วสองนิ้วบนกระดูกหน้าอกของทารกใต้ราวนม อย่ากดที่ปลายสุดของกระดูกหน้าอก ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งวางไว้บนหน้าผากของทารกโดยให้ศีรษะเอียงไปด้านหลังเล็กน้อย (เพื่อให้ทางเดินหายใจยังเปิดอยู่) ให้กดหน้าอก 30 ครั้งด้วยสองนิ้ว แต่ละครั้งปล่อยให้หน้าอกของทารกสูงขึ้นจนสุด การบีบอัดของคุณควรเร็วและหนักโดยไม่มีการหยุด นับการกดอย่างรวดเร็ว

หลังจากเสร็จสิ้นการกด 30 ครั้งให้ช่วยเด็กหายใจอีกสองครั้ง และดูหน้าอกของเด็ก – ซึ่งควรจะสูงขึ้นเมื่อคุณเป่าลมเข้าปากของเด็ก

หลังจากนั้นให้ทำ CPR ต่อด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ตามด้วยการช่วยหายใจ 2 ครั้งทำซ้ำรูปแบบนี้เป็นเวลาประมาณสองนาที

หลังจากทำ CPR ไปแล้ว 2 นาทีหากเด็กยังไม่มีเสียงลมหายใจปกติ ไม่ไอ และไม่เคลื่อนไหว ให้หยุดก่อนแล้วโทรเรียกรถพยาบาล จากนั้นทำ CPR ซ้ำ (30 ครั้งตามด้วยการหายใจ 2 ครั้ง) จนกว่าทารกจะฟื้น หรือจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง หากลูกน้อยของคุณฟื้นตัวให้วางทารกในท่าพักฟื้น คว่ำหน้าลงเหนือแขนโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย ประคองศีรษะและคอของทารกด้วยมือของคุณโดยให้มองเห็นปากและจมูกของทารกชัดเจนในขณะที่รอให้ความช่วยเหลือมาถึง

ปั๊มหัวใจ

สำหรับ เด็ก 1 ถึง 8 ขวบ

ตรวจสอบการตอบสนอง: เขย่าหรือแตะตัวเด็กเบา ๆ และตะโกนเพื่อดูว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวหรือส่งเสียงหรือไม่ หากเด็กไม่ตอบสนองให้หาคนช่วยโทรเรียกรถพยาบาล และแจ้งว่าขอเครื่องกระตุ้นหัวใจภายนอกอัตโนมัติ(AED)หากมี ระหว่างนั้นให้ทำ CPR เป็นเวลาอย่างน้อยสองนาที

ตรวจสอบการหายใจ: วางเด็กในท่านอนหงายอย่างระมัดระวัง หากมีโอกาสที่เด็กอาจได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังให้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในการเคลื่อนย้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการบิดศีรษะและคอ เมื่อเด็กนอนลง ให้เปิดทางเดินหายใจโดยยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่งและใช้มืออีกข้างหนึ่งดันหน้าผากลงพร้อมกัน มองและฟังว่าเด็กหายใจได้หรือไม่ โดยวางหูไว้ใกล้ปากและจมูกของเด็กเพื่อให้รู้สึกถึงลมหายใจ – พร้อมกับเฝ้าดูหน้าอกของเด็กว่ามีการเคลื่อนไหวใด ๆ หรือไม่

ทำการช่วยหายใจ: หากเด็กไม่หายใจ ให้ปิดปากให้แน่นด้วยปากของคุณ และบีบจมูกให้ปิด ยกคางของเด็กขึ้นและเอียงไปข้างหลัง หายใจเข้าออกสองครั้ง (การหายใจแต่ละครั้งควรกินเวลาประมาณหนึ่งวินาทีและควรทำให้หน้าอกของเด็กสูงขึ้น)

ทำ CPR: วางอุ้งมือข้างหนึ่งไว้ที่กระดูกหน้าอกของเด็กใต้ราวนม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุ้งมือของคุณของคุณไม่ได้อยู่ที่ส่วนปลายสุดของกระดูกหน้าอก วางมืออีกข้างไว้ที่หน้าผากของเด็กและให้ศีรษะของเด็กเอียงไปข้างหลัง กดหน้าอกของเด็กลง ประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของความลึกของหน้าอกและกด 30 ครั้ง อย่าลืมปล่อยให้หน้าอกสูงขึ้นทุกครั้ง การออกแรงกดของคุณควรรวดเร็ว และหนักหน่วง โดยไม่มีการหยุดชั่วคราว นับการบีบอัดอย่างรวดเร็ว

หลังจากเสร็จสิ้นการกด 30 ครั้ง ให้หายใจช่วยเด็กอีก 2 ครั้ง และตรวจดูให้แน่ใจว่าหน้าอกสูงขึ้น ทำ CPR ต่อไป (กด 30 ครั้งตามด้วยการช่วยหายใจสองครั้ง) ประมาณสองนาที หลังจากผ่านไปประมาณสองนาทีหากเด็กยังหายใจไม่ปกติ ไม่ไอ และยังไม่เคลื่อนไหวให้ปล่อย และ รีบโทรเรียกรถฉุกเฉิน ทำ CPR ต่อไป (กด 30 ครั้งตามด้วยการช่วยหายใจสองครั้ง) จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง หรือลูกของคุณฟื้นตัว

หากเด็กเริ่มหายใจอีกครั้ง ให้ช่วยให้เด็กอยู่ในท่าพักฟื้น โดยให้คุกเข่าข้างๆ ตัวเด็กแล้ววางแขนของเด็กให้อยู่ใกล้คุณมากที่สุดและตรงออกจากลำตัว จับแขนอีกข้างของเด็กและช่วยจับมือของเธอกับแก้มอีกข้างของเด็ก (โดยให้มือด้านหลังสัมผัสแก้มของเด็ก ให้ฝ่ามือหันเข้าหาคุณ) จับและงอเข่าของเด็ก ปกป้องศีรษะของเด็กด้วยมืออีกข้างหนึ่ง (ที่ด้านบนของมือของเด็กและข้างแก้มของเด็ก) ค่อยๆ หมุนเด็กเข้าหาตัวคุณโดยดึงเข่าที่อยู่ไกล ออกไปที่พื้น จากนั้นเอียงศีรษะของเด็กขึ้นเล็กน้อยเพื่อเปิดทางเดินหายใจและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือของเด็กยังคงซุกอยู่ใต้แก้มของเขา เพื่อไม่ให้ศีรษะอยู่เหนือพื้น ควรอยู่ใกล้ ๆ กับเด็กและตรวจดูการหายใจต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

ปั๊มหัวใจ
ปั๊มหัวใจ

เด็กอายุ 9 ปีขึ้นไป

หมายเหตุ: การช่วยหายใจและการทำ CPR สำหรับเด็กวัยนี้จะเหมือนกับผู้ใหญ่

ตรวจสอบการตอบสนอง: เขย่าหรือแตะลูกของคุณเบา ๆ และตะโกนเพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวหรือส่งเสียงหรือไม่ หากเด็กไม่ตอบสนองให้คนรีบไปโทร เรียกรถฉุกเฉิน และขอเครื่องกระตุ้นหัวใจภายนอกอัตโนมัติ (AED) หากมี

วางเด็กลงอย่างระมัดระวัง หากมีโอกาสที่เด็กอาจได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังให้ขอความช่วยเหลือจากคนสองคนในการเคลื่อนย้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการบิดที่ศีรษะและคอ เมื่อเด็กนอนราบให้เปิดทางเดินหายใจโดยใช้สองนิ้วยกคางขึ้นและในขณะเดียวกันก็ใช้มืออีกข้างดันหน้าผากลง

ตรวจสอบการหายใจ: ดูฟังและรู้สึกถึงการหายใจได้โดย วางหูไว้ใกล้ปากและจมูกของเด็กเพื่อให้รู้สึกและฟังลมหายใจ – พร้อมกันเฝ้าดูหน้าอกของเด็กว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่

ทำการช่วยหายใจ: หากเด็กไม่หายใจ หรือมีปัญหาในการหายใจ ให้ปิดปากของเด็กให้แน่นด้วยปากของคุณและบีบจมูกให้ปิด ยกคางของเด็กและศีรษะเอียงไปข้างหลัง หายใจเข้าออกสองครั้ง (การหายใจแต่ละครั้งควรกินเวลาประมาณหนึ่งวินาทีและควรทำให้หน้าอกของเด็กสูงขึ้น)

ทำ CPR: วางอุ้งมือข้างหนึ่งไว้ที่กระดูกหน้าอกของเด็กใต้ราวนม วางอุ้งมืออีกข้างไว้ด้านบนสำหรับส่วนแรกแล้วประสานมือเข้าหากัน จัดตำแหน่งร่างกายของคุณให้สูงขึ้นและเหนือกว่ามือของคุณในขณะที่คุณคุกเข่าข้างๆตัวเด็ก กดหน้าอก 30 ครั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการกดของคุณเร็วและแรงมาก คุณควรกดหน้าอกลงไปประมาณสองนิ้ว และหลังจากการบีบแต่ละครั้งปล่อยให้หน้าอกของเด็กสูงขึ้นจนสุด นับการบีบอัดอย่างรวดเร็ว

หลังจากเสร็จสิ้นการกด 30 ครั้งให้หายใจช่วยเด็กอีก 2 ครั้ง และตรวจดูให้แน่ใจว่าหน้าอกสูงขึ้น

ทำ CPR ต่อไป (กด 30 ครั้งตามด้วยการช่วยหายใจ 2 ครั้ง) จนกว่าเด็กจะฟื้นหรือจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง หากมีเครื่อง AED ให้ใช้โดยเร็วที่สุด

หากเด็กเริ่มหายใจอีกครั้ง ต้องช่วยจับให้อยู่ในท่าพักฟื้น โดยการคุกเข่าข้างๆ ตัวเด็กแล้ววางแขนของเด็กที่อยู่ใกล้คุณมากที่สุดตรงออกจากลำตัว จับแขนอีกข้างของเด็กแล้วเอามือแนบแก้ม (โดยให้หลังมือแตะแก้ม ฝ่ามือหันเข้าหาคุณ) จับและงอเข่าด้านที่ไกลของเด็ก พร้อมกับปกป้องศีรษะของเด็กด้วยมืออีกข้างหนึ่ง (ที่ด้านบนของมือเด็ก และข้างแก้มของเด็ก) ค่อยๆ หมุนเด็กเข้าหาตัวคุณโดยดึงเข่าที่อยู่ไกลออกไปที่พื้น จากนั้นเอียงศีรษะของเด็กขึ้นเล็กน้อยเพื่อเปิดทางเดินหายใจและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือของเด็กยังคงซุกอยู่ใต้แก้มของขาเพื่อไม่ให้ศีรษะอยู่เหนือพื้น อยู่ใกล้ ๆ กับเด็กและตรวจดูการหายใจต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

การศึกษาวิธีการช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาไว้ ตลอดจนการปลูกฝังให้ลูกๆ ได้รู้ถึงอุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากความประมาท สอนให้ลูกรู้จักระมัดระวังตัวเอง และส่งเสริมให้ลูกๆ ให้ความสำคัญและใส่ใจในความปลอดภัยของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมลูกเกิดทักษะด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) สิ่งสำคัญที่ต้องสอนลูก คือ ไม่ว่าลูกจะเล่นหรือทำกิจกรรมใด ๆ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎอย่างเค่งครัด เช่น การลงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ หรือการไปเล่นในที่สาธารณะต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : redcross.org,parents.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แนะ ขั้นตอนการทำ CPR พ่อแม่ทำได้ ช่วยชีวิตลูกทัน!

วิธีการทำ CPR 3 ขั้นตอนง่ายๆ ช่วยชีวิตได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

เทคนิคสอนเด็กว่ายน้ำเอาตัวรอด ป้องกันเด็กจมน้ำ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up