สิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก – สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยแบะเบาะเตาะแตะ สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือเรื่องของอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็กได้ทุกเมื่อ หากเราคลาดสายตา ซึ่งหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กเล็กๆ นอกจากการหกล้ม พลัดตกจากที่สูง หรือจมน้ำแล้ว คงหนีไม่พ้นเรื่องของสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่พลาดเข้าไปอยู่ในหูของเด็ก ด้วยเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นค่อนข้างสูง และยังรู้เท่าไม่ถึงการ ไม่รู้ว่าอะไรที่จะเป็นอันตรายกับตัวเอง จึงอาจหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่างๆ เข้าไปใส่ในหูของตัวเองตามประสาเด็กที่ยังไม่รู้เดียงสา
ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็ก เมื่อมีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปติดค้างอยู่ในหู คือ เรื่องเกี่ยวกับการได้ยิน และการติดเชื้อ ดังนั้น วันนี้เรามาติดตามวิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในหูลูกพร้อมวิธีป้องกันเหตุกันค่ะ
การปฐมพยาบาล เมื่อ สิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก และวิธีป้องกัน
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปติดอยู่ในหูของเด็กนั้นอาจทำให้เด็กมีอาการปวดหู ติดเชื้อในช่องหู หรือแม้แต่สูญเสียการได้ยินได้ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใหญ่อย่างเราจะรู้ตัวหรือรู้สึกได้เวลาที่มีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในหูของเรา แต่เด็กเล็กๆ อาจไม่รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างติดอยู่ในรูหูของพวกเขา นอกจากนี้ หากมีสิ่งแปลกปลอมติดในหู เช่น สำลีหรือแมลง อาจทำให้มีอาการคล้ายกับหูหนวกได้ชั่วคราว อาจทำให้เจ็บหู บวมแดง หรือมีน้ำมูกไหล ซึ่งการได้ยินอาจได้รับผลกระทบ ในกรณีที่วัตถุนั้นไปปิดกั้นภายในช่องหู
พฤติกรรมของเด็กเตาะแตะ ที่เกิดขึ้นได้ คือ การแหย่สิ่งของต่างๆ เช่น ของเล่นชิ้นเล็กๆ หรือลูกปัดใส่หู ด้วยความคิดแบบเด็กๆ เช่น ลูกปัดมันจะเข้าไปได้ลึกแค่ไหน หากคุณคิดว่าลูกของคุณมีสิ่งของติดอยู่ในหู ให้พาไปพบแพทย์ โดยเฉพาะหากวัตถุที่เป็นสารเคมี เช่น ถ่านกระดุม หรือพืชเช่น ถั่ว ที่อาจขยายขนาดได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปที่แผนกฉุกเฉิน แพทย์ของคุณสามารถเอาวัตถุออกด้วยเครื่องมือพิเศษ ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์พร้อมเครื่องมีพิเศษในการนำเศษชิ้นส่วนต่างๆ ออกมา
วัตถุแปลกปลอมที่มักพบในหูของเด็ก ได้แก่
- สำลี (คอตตอนบัด)
- แบตเตอรี่กระดุม
- ก้อนหิน
- เศษกระดาษชิ้นเล็กๆ
- แมลง
- เมล็ดพืช
อาการต้องสงสัยเมื่อ สิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก
ให้พิจารณาว่ามีสิ่งแปลกปลอมในหูของลูก หากสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้ :
- เด็กบ่นว่า ปวดหู หรือ เจ็บในหู
- สูญเสียการได้ยิน จากการเรียกแล้วไม่ตอบสนอง
- มีอาการหูน้ำหนวก หูอื้อ
- มีอาการสะอึกหรือไอ เรื้อรัง
- มีหนองหรือเลือดไหลออกมาจากหู
- มีอาการแดง และบวมของช่องหู
ข้อควรรู้ในการปฐมพยาบาล และข้อควรระวัง หากวัตถุแปลกปลอมติดอยู่ในหูเด็ก
- อย่าตรวจดูภายในหู ด้วยก้านสำลีหรือไม้ขีดไฟ เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะดันวัตถุให้เข้าไปข้างใน ซึ่งอาจทำอันตรายกับหูของเด็กได้ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรตระหนักคือความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่อาจทำให้เด็กสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร
- จัดตำแหน่งเด็กให้เหมาะสม โดยให้นั่งตัวตรง หรือ นอนราบ
- นำวัตถุออกถ้าเป็นไปได้ (ในกรณีมองเห็นวัตถุได้ชัดเจน) หรือสามารถใช้แหนบจับคีบได้ไม่ยากจนเกินไป โดยให้ค่อยๆ คีบ และดึงออก
- ลองใช้แรงโน้มถ่วงช่วย โดยเอียงศีรษะไปทางด้านที่ได้รับผลกระทบ เพื่อพยายามเคลื่อนเศษวัตถุ
- ใช้น้ำมันสำหรับแมลงหากวัตถุแปลกปลอมเป็นแมลง โดยให้เอียงศีรษะของเด็กโดยให้หูกับแมลงหันขึ้นด้านบน พยายามให้แมลงลอยออกมาโดยเทน้ำมันมิเนอรัล น้ำมันมะกอก หรือเบบี้ออยล์เข้าหู โดยน้ำมันควรมีอุณหภูมิอุ่น แต่ไม่ถึงกับร้อน ที่สำคัญ ห้ามใช้น้ำมันเพื่อเอาวัตถุอื่นที่ไม่ใช่แมลงออกมา
- ใช้กระบอกฉีดยาหูที่เป็นหลอดยางและน้ำอุ่นเพื่อทดน้ำให้วัตถุออกจากช่องหู (ใช้ในกรณีที่ไม่มีความผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนกับแก้วหู)
- หากเห็นว่าวัตถุอยู่ลึกเข้าไปในช่องหูของเด็ก อย่าพยายามเอาวัตถุออกด้วยตัวเองเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายและการบาดเจ็บเพิ่มได้
หากวิธีการเหล่านี้ล้มเหลวหรือเด็กยังมีอาการเจ็บปวด มีน้ำมูกไหลออกจากช่องหู การได้ยินมีปัญหา หรือบอกได้ว่ามีบางสิ่งติดอยู่ในหู ให้รีบไปพบแพทย์ หลังจากนำวัตถุออกแล้ว ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของบุตรหลานของคุณจะตรวจหูอีกครั้ง เพื่อดูว่ามีการบาดเจ็บที่ช่องหูหรือไม่ ซึ่งอาจมีการสั่งยาปฏิชีวนะแบบหยอดหูเพื่อรักษาโรคหูชั้นนอกที่อาจเกิดขึ้นได้
ฝีในต่อมน้ำลาย ก้อนแข็ง ๆ หลังติ่งหูทารก สัญญาณบอกโรค
อุทาหรณ์! ลูก ขี้หูเหม็น ขี้หูหมักหมมจนเน่า! เกือบเป็นหูน้ำหนวก
แม่แชร์ประสบการณ์! ลูกมีรูข้างหู ภัยเงียบที่ไม่ควรชะล่าใจ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการกำจัดวัตถุที่ติดอยู่ในหู
ภาวะแทรกซ้อนนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ในหูและระยะเวลาที่อยู่ในหู วัตถุในหูสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อไปนี้ได้
- ความเจ็บปวด
- หูหนวกหรือเสียงอู้อี้
- อักเสบมีหนองหรือบวม (หากวัตถุติดอยู่ในหูมาระยะหนึ่งแล้ว)
- หูติดเชื้อได้ หลังจากนำวัตถุออกแล้ว การติดเชื้อมีแนวโน้มเกิดได้มากขึ้นหากวัตถุนั้นติดอยู่ในหูเป็นระยะเวลานาน หรือมีชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของวัตถุที่ยังติดอยู่ในหูที่ตรวจไม่พบ
- เกิดการเสียดสี หรือฉีกขาดของช่องหูภายนอก
- เยื่อแก้วหูทะลุ
- กระดูกในช่องหูเสียหาย และอาจสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร
- หูชั้นกลางเสียหาย อาจสูญเสียการได้ยิน หรือ มีอาการหูน้ำหนวก
- ปวดตามข้อ หรือ อัมพาตใบหน้า
แนวทางป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าหูลูก
หากเป็นไปได้ ควรสอนเด็กๆ ว่าไม่ควรสอดใส่สิ่งของเข้าไปในหู ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่สามารถเล่นกับชิ้นส่วนเล็กได้ ช่นแบตเตอรี่แบตเตอรี่กระดุม เข็มหมุด เหรียญ ลูกแก้ว หัวปากกาลูกลื่น หรือลูกปัด นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ
- ควรจัดเก็บสิ่งของขนาดเล็กอย่างปลอดภัย เช่น ลูกปัด ลูกหิน เหรียญ ถ่านกระดุม และลูกโป่ง เป็นต้น
- เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของลูก
- ระวังของเล่นอาจมีส่วนเล็กๆ ถอดได้
- ส่งเสริมให้เด็กโตเก็บของเล่นให้ห่างจากเด็กเล็ก
- ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบตลอดเวลา ที่สัมผัสกับวัตถุชิ้นเล็กๆ ซึ่งรวมถึงอาหารชิ้นเล็กๆ เช่น ถั่ว ถั่ว หรือเมล็ดแตงโม
การป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของคนเป็นพ่อแม่ หากแต่การเข้มงวดในการตรวจตรา คอยหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ของเด็ก ด้านพฤติกรรมต่างๆ จะช่วยให้เราทราบถึงความผิดปกติบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นกับเด็กได้ นอกจากนี้การคอยปลูกฝัง และพยายามอธิบายให้เด็กๆ เข้าใจ และรู้เท่าทันถึงอันตรายจากการนำสิ่งแปลกปลอมใส่เข้าไปในหูก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ ห่างไกลจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังยังช่วยให้เด็กๆ เกิดทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : healthdirect.gov.au , stanfordchildrens.org , meded.psu.ac.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูกมีขี้หู แคะหูให้ลูก ได้ไหม หูลูก ควรทำความสะอาดอย่างไร?
หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูติดเชื้อในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กถ้าลูกป่วย!
อุทาหรณ์!! เลี้ยงหมาในบ้าน ระวัง เห็บหมาเข้าหูลูก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่