ญี่ปุ่นเผย! หน้ากากอนามัยแบบผ้า ให้ลูกใช้สีไหนดีที่สุด - Amarin Baby & Kids
หน้ากากอนามัยแบบผ้า

ญี่ปุ่นเผย! หน้ากากอนามัยแบบผ้า ให้ลูกใช้สีไหนดีที่สุด

event
หน้ากากอนามัยแบบผ้า
หน้ากากอนามัยแบบผ้า

เลือกให้ถูก! หน้ากากอนามัยแบบผ้า ให้ลูกใส่เพื่อป้องกันการกระจายของน้ำมูก หรือน้ำลายจากการไอจาม ควรเลือก เนื้อผ้าแบบไหน หรือจะใช้สีไหนดีที่ไม่ทำให้ร้อนจนลูกหายใจไม่ออก

ญี่ปุ่นเผย! หน้ากากอนามัยแบบผ้า ให้ลูกใช้สีไหนดีที่สุด

สำหรับ หน้ากากอนามัยแบบผ้า การใช้งานจะเน้นใช้สำหรับป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการกระจายของน้ำมูก หรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้เช่นเดียวกับหน้ากากอนามัยกระดาษ

แต่ความพิเศษของ หน้ากากอนามัยแบบผ้า คือ สามารถซักทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากจะประหยัดจากการนำกลับมาใช้งานซ้ำ ๆ ได้แล้ว ยังเป็นการลดขยะไปในตัวด้วย … ทั้งนี้หน้ากากผ้าที่จะป้องกันไวรัสได้ดี จะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับหน้ากากอนามัย นั่นก็คือ ด้านนอกสามารถกันของเหลว และ ด้านในสามารถดูดซึมของเหลวได้ ดังนั้นหน้ากากผ้าควรจะต้องมี “อย่างน้อย” 2 ชั้น

โดยวัสดุที่เหมาะสำหรับทำหน้ากากชั้นนอก ควรเลือกเป็นผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดพิเศษ เป็นผ้าเส้นใยสังเคราะห์เป็นเส้นใยยาว (ป้องกันการเป็นแหล่งเพาะเชื้อ เป็นขุยและฝุ่นละออง) ทอด้วยวิธีพิเศษจนแน่น และบีบอัดเส้นใย มีประสิทธิภาพการกรองได้ถึง 0.3 ไมครอน เพิ่มการกันน้ำด้วย Fluorocarbon C6 หรือ เทฟลอน สามารถกรองได้ทั้งฝุ่น PM 2.5 และไวรัส สามารถซักได้ไม่น้อยกว่า 50 ครั้ง โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยน ซึ่งจะเป็นผ้าที่ใช้ทำหน้ากากผ้าได้ดีที่สุด … ซึ่งหากไม่สามารถหาผ้าชนิดนั้นได้ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้ผ้าอื่นๆ ที่กันน้ำได้ เช่น ผ้าโพลีเอสเตอร์ทอแน่น ผ้า Taffeta ผ้าไหม เป็นต้น โดยทำการทดสอบว่า ผ้านั้นกันน้ำได้หรือไม่ด้วยการทดลองฉีดพ่นน้ำลงไปบนผิวผ้านั้น ถ้าน้ำเกาะตัวเป็นหยดน้ำ ไม่ซึมลงไป ถือว่าใช้ได้

แต่มีข้อแนะนำว่า ให้ทดลองก่อนว่า เมื่อเอามาปิดจมูกจะสามารถหายใจได้หรือไม่ เพราะถ้ามีการทอที่แน่นมากเกินไป หรือ มีสารเคลือบกันน้ำ อาจจะทำให้หายใจได้ยาก ซึ่งก็จะไม่เหมาะสำหรับการทำหน้ากาก ดังนั้นผ้าที่เหมาะนำทำหน้ากากชั้นใน คือ ผ้าที่สามารถดูดซับของเหลวได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้ามัสสลิน เป็นต้น

ในส่วนของลักษณะ หน้ากากอนามัยแบบผ้า ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เป็นหน้ากากสี่เหลี่ยมแบบมีจีบ เนื่องจากถ้าไม่มีจีบ อาจทำให้หายใจไม่สะดวก และถ้าเป็นจีบ ตัวจีบควรจะจีบลง เพื่อไม่ให้รองรับของเหลว และหากไม่สามารถหาผ้าชั้นนอกที่กันน้ำได้ ก็ควรจะซ้อนหลายชั้น การตัดเย็บพยายามไม่ให้มีตะเข็บตรงกลาง เพื่อไม่ให้มีสารคัดหลั่งซึมเข้าไปได้ ควรเป็นผ้าชิ้นเดียวที่ปิดให้คลุมใบหน้า ถ้าผ้าไม่มีคุณสมบัติกันน้ำแล้วเข้าไปในที่ชุมชนแล้วมีคนไอจามใส่ ให้ถอดแล้วนำไปซักทันที วิธีการซักไวรัสก็ด่างอยู่แล้ว น้ำยาซักผ้าก็ใช้ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าสะอาดไหมก็ให้ต้มเพราะเชื้อโรคก็แพ้ความร้อน และตากให้แห้งในพื้นที่ที่มีแดด

หน้ากากอนามัยแบบผ้า

ถัดมาเป็นเรื่องของสี ที่ใช้ทำ หน้ากากอนามัยแบบผ้า โดย สำนักข่าว NHK ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ “ผลทดสอบความร้อนสะสม จากการใช้หน้ากากอนามัยสีดำ และสีขาวในที่แจ้ง” โดยมีเนื้อหาสรุปดังต่อไปนี้

ทางรายการได้ตั้ง หน้ากากอนามัย “สีขาว” และ “สีดำ” ซึ่งผลิตจากวัสดุชนิดเดียวกัน ไว้กลางแดดหลังจากนั้น ก็เริ่มวัดอุณหภูมิบริเวณหน้ากากพบว่า…

ในนาทีที่ 1  หน้ากากสีดำ = 37.9°C ส่วน หน้ากากสีขาว = 35.8°C

นาทีที่ 2  หน้ากากสีดำ = 40.2°C ส่วน หน้ากากสีขาว = 35.8°C

นาทีที่ 3  หน้ากากสีดำ = 41.8°C ส่วน หน้ากากสีขาว = 35.9°C

หน้ากากอนามัยแบบผ้า

หน้ากากอนามัยแบบผ้า

หน้ากากอนามัยแบบผ้า

จึงสรุปได้ว่า หน้ากากอนามัยแบบผ้า สีดำ จะสะสมความร้อนจากแสง UV ได้มากกว่า หน้ากากสีขาวเช่นเดียวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่กันนั่นเอง นั่นเป็นเพราะวัตถุมีความสามารถในการดูดกลืนแสงและสะท้อนแสงต่างกัน หากมองเห็นวัตถุมีแดง ก็หมายความว่า เมื่อแสงสีขาวตกกระทบกับวัตถุชนิดนั้น วัตถุจะดูดกลืนแสงสีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนแสงสีแดงจะถูกสะท้อนออกมาเข้าสู่ตาของเรา ทำให้เราเห็นวัตถุนั้นมีสีแดง และอีกคุณสมบัติหนึ่งของแสง คือ แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีพลังงานความร้อน ซึ่งแต่ละสีจะมีพลังงานความร้อนไม่เท่ากัน หากเราเห็นวัตถุมีสีดำ แสดงว่าวัตถุนั้นดูดกลืนแสงทั้งหมดเข้าไปและไม่สะท้อนแสงสีใดออกมา

ดังนั้นพลังงานความร้อนทั้งหมดจึงถูกดูดซับไว้ วัตถุสีดำ จึงมีความร้อนสูงกว่าวัตถุสีอื่น ๆ แต่ถ้าเห็นวัตถุเป็นสีขาว แสดงว่าวัตถุนั้นสะท้อนแสงทุกสีออกมาหมดและไม่ดูดกลืนแสงสีใดไว้เลย จึงเห็นวัตถุนั้นเป็นสีขาว ซึ่งวัตถุจะสะท้อนพลังงานความร้อนออกมาด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ การเลือกใส่เสื้อผ้าสีขาว สามารถสะท้อนแสงได้ดีกว่าและไม่ดูดกลืนแสงสีอะไรไว้ ทำให้คนที่ใส่เสื้อสีขาวรู้สึกไม่ค่อยร้อนมาก แต่ผ้าสีขาวก็มีข้อเสีย คือ การสะท้อนรังสี UV กลับออกมา ไม่เพียงแต่สะท้อนกลับออกไปข้างนอกแต่ยังสะท้อนเข้าสู่ผิวด้วย ซึ่งรังสี UVจะทำให้สีผิวเข้มไปอีกระดับหนึ่งนั่นเอง

หากไม่อยากให้สีผิวเข้มอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าสีดำแทน เนื่องจากสีดำมีความสามารถในการดูดกลืนแสงทุกสี รวมถึงรังสี UV ที่มาพร้อมกับแสงด้วย แต่ผ้าสีดำก็มีข้อเสีย คือ การดูดซับพลังงานความร้อนที่มาจากแสงแดด ฉะนั้นนอกจากสีของเสื้อผ้าแล้วพ่อแม่จึงควรเลือก หน้ากากอนามัยแบบผ้า ที่เป็นสีอ่อนมาให้ลูกน้อยใส่ ก็จะช่วยลดความร้อนบริเวณใบหน้าได้ในระดับนึง


แหล่งข้อมูล : Science Daily. Some Color Shades Offer Better Protection Against Sun’s Ultraviolet Rays. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562 id SKIN EXPER. ใส่เสื้อสีโทนอะไร กันแสง UV ได้ดีที่สุด. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2562

ข้อมูลเพิ่มเติมตจาก : www.mustplay.in.thwww.trueplookpanya.comwww.bangkoklifenews.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจคลิกที่ภาพได้เลย ⇓

พ่อแม่ต้องรู้! 10 ความแตกต่าง อาการไข้เลือดออก vs อาการโควิด 19

แม่ต้องระวัง! โรคแทรกซ้อนโควิด-19 ในเด็ก ทำลูกป่วยหนัก

เบตาดีน วิจัยพบสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19

อัพเดท ราคาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2563 กว่า 25 แห่งรพ.รัฐ-เอกชน ทั่วกรุง

กรมควบคุมโรคเตือน!! โรคมือเท้าปาก ระบาดช่วงเปิดเทอม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up