9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้! - Amarin Baby & Kids
สอนลูกให้ชอบอ่าน

9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

Alternative Textaccount_circle
event
สอนลูกให้ชอบอ่าน
สอนลูกให้ชอบอ่าน

สอนลูกให้ชอบอ่าน – การอ่าน เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดกระบวนการการเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญด้านต่างๆ  เช่น การฟัง การพูด การเขียน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์  ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อสมองของผู้อ่าน ที่สำคัญหากคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือกับลูกๆ ก็จะช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกได้อีกด้วย แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดในประโยชน์ของการอ่านหนังสือ คือ การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กๆ และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้วิธีการอ่าน

นอกจากนี้ มีงานวิจัยล่าสุดที่กล่าวว่า นอกเหนือจากการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กๆ แล้ว การอ่านยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสมองของเด็กๆ อีกด้วย ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่อยากปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน คุณพ่อคุณแม่จะทำอะไรได้บ้าง วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณรักการอ่านมาฝากค่ะ แต่ก่อนอื่นเราลองมาดูประโยชน์ของการอ่านหนังสือกันก่อนค่ะ

สอนลูกให้ชอบอ่าน

ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ

  • กระตุ้นพลังแห่งจิตใจ
    มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่แสดงให้เห็นว่าการได้รับการกระตุ้นทางจิตใจ สามารถลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมได้  ขึ้นอยู่กับว่า “เราเลือกที่จะใช้มันหรือสูญเสียมันไป” เป็นธรรมดาที่พฤติกรรมที่ไม่ค่อยได้ใช้ วิถีประสาทเหล่านั้นก็จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งความสามารถของสมองส่วนนั้นอาจสูญหายไปโดยสิ้นเชิง ทุกวันนี้เราอาจกำลังทำให้ความเฉียบคมของสมองลดลงโดยไม่รู้ตัวได้ จากการที่ไม่ทำกิจกรรมที่ท้าทายสมอง เพราะฉะนั้น หากต้องการท้าทายสมองเพื่อเป็นการกระตุ้นสมอง ให้ลองหากิจกรรมต่าง ๆต่อไปนี้ทำ  เช่น อ่านหนังสือ ต่อจิ๊กซอว์ และหมากรุก เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้สมองได้ออกกำลังกายและกระตุ้นให้สมองตื่นตัวพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • ลดความเครียด
    คุณเคยสังเกตไหมคะ ว่าความเครียดหายไปได้อย่างไรเมื่อเราได้หลุดเข้าไปในโลกของหนังสือดีๆ สักเล่มที่เราเปิดอ่าน หากคุณกำลังมองหาวิธีคลายเครียด ให้หยิบหนังสือดีๆ สักเล่ม และปล่อยให้จิตใจของคุณลืมปัญหาต่างๆ ไปชั่วขณะ การอ่านหนังสือช่วยลดความเครียดได้ค่ะ จากการศึกษาในปี 2552 พบว่าการอ่านหนังสือสามารถลดระดับความเครียดลงได้มากถึง 68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าการฟังเพลง ดื่มชา เล่นวิดีโอเกม หรือไปเดินเล่น นักวิจัยเผยว่าการอ่านหนังสือเพียงหกนาที จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง และความตึงเครียดของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • ทักษะการเข้าสังคมที่เพิ่มขึ้น
    สำหรับบางคนการอ่านหนังสือเป็นวิธีหลีกหนีจากโลกแห่งความจริงและผู้คนมากมายที่วุ่นวาย แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าการอ่าน สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมเพื่อช่วยให้คุณจัดการกับผู้คนเหล่านั้นได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าคนที่อ่านนิยายเป็นประจำ จะสามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ทฤษฎีของจิตใจ” ขึ้นมาได้ ทฤษฎีของจิตใจ คือ ความสามารถในการเข้าใจสภาพจิตใจ ความเชื่อ ความปรารถนา และความคิด ที่แตกต่างกันของผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ทางสังคมที่ค่อนข้างซับซ้อน
  •  พัฒนาคลังคำศัพท์ในสมอง
    ยิ่งอ่านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคำศัพท์ในสมองมากขึ้นเท่านั้น ผลการวิจัยมีความชัดเจนมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการอ่านคำ และคำศัพท์ วิทยาศาสตร์ยืนยันความสำคัญของการอ่านต่อกระบวนการเรียนรู้คำศัพท์ในเด็กและวัยรุ่น และผู้ใหญ่ ว่า คนที่รู้คำศัพท์มากมีแนวโน้มที่จะมีรายได้ที่ดีกว่าเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน
  • พัฒนาความสามารถในการจดจำ
    เมื่อเราเริ่มอ่าน สมองจะทำมากกว่าการถอดรหัสคำบนหน้ากระดาษ การอ่านมีการใช้งานระบบประสาทมากกว่าการประมวลผล ภาพหรือเสียงพูดในขณะที่คุณอ่าน สมองส่วนที่แตกต่างกัน เช่น ด้านการมองเห็น ด่านภาษา และการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง ซึ้งทั้งสามด้าน จะทำงานร่วมกัน จากการศึกษาหนึ่งพบว่า การอ่านสามารถช่วยรักษาทักษะความจำ และการคิด โดยเฉพาะเมื่อคุณอายุมากขึ้น การอ่านหนังสือทุกวันจะช่วยชะลอความถดถอยของความรู้ ความเข้าใจ ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้                                                                          นอกจากนี้ในงานวิจัยอื่น ๆ พบว่า การอ่าน จะช่วยชะลออัตราการเสื่อมถอยของหน่วยความจำ และการลดลงของความสามารถทางจิตที่สำคัญในด้านอื่น ๆ สิ่งนี้อาจหมายความโดยอ้อมได้ว่า การอ่านช่วยให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้นได้ การอ่านจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองโดยรวม และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบความจำ
  • ปรับปรุงการเชื่อมต่อและการทำงานของสมอง
    การศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่าการมีส่วนร่วมในนวนิยายจะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อในสภาวะพักผ่อนของสมอง และการทำงานระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านนิยายจะช่วยเพิ่มความสามารถของผู้อ่านในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และช่วยพัฒนาจินตนาการ ความเชื่อมโยงของสมอง แม้แต่ตอนที่เราเลิกอ่านไปแล้ว
  • การนอนหลับที่ดีขึ้น
    การสร้างกิจวัตรประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือก่อนนอน เป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายของคุณทราบว่าถึงเวลาพักผ่อนและใกล้เข้านอนแล้ว ซึ่งร่างกายของคุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายและพร้อมที่จะเข้านอน หลังจากอ่านหนังสือจบ  แต่ต้องแน่ใจนะคะ ว่าเราได้อ่านหนังสือจริงๆ  นอกจากนี้ควรจำกัดเวลาอยู่หน้าจอในช่วงก่อนนอนเช่น e-reader และแท็ปเล็ต เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะส่งผลให้คุณหลับได้ยากขึ้น

เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับประโยชน์ของการอ่านหนังสือ เรียกได้ว่ามีมากมายหลายข้อเลยทีเดียว ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าเทคนิควิธีที่ช่วยให้ลูกๆ ของเรา มีนิสัยรักการอ่าน ชอบอ่านหนังสือ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนหรือแนะนำลูกๆ ได้อย่างไร เพื่อให้ลูกๆ ได้รับประโยชน์จากการอ่าหนังสือได้อย่างเต็มที่

9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

1. เริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิด

เชื่อว่ามีคุณแม่ท้องหลายคน นอนอ่าหนังสือให้ทารกในครรภ์ฟัง แม้ลูกอาจไม่เข้าใจ แต่ความจริงประโยชน์ที่ได้จากการอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง คือ ช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงแม่ได้คะ ประมาณ 18 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยิน และเมื่อทารกคลอดออกมาเขาจะคุ้นเคยกับเสียงของสภาพแวดล้อมที่เคยได้ยินมาก่อน  เมื่อแรกเกิดจึงเป็นช่วงเวลาที่คุณสามารถเริ่มการอ่านให้ลูกฟัง นอนลงใกล้ ๆ กับลูก พลิกหนังสือภาพ และค่อยๆ อ่านออกเสียงให้ลูกได้ยิน วิธีนี้ยังช่วยสร้างความผูกพันกับลูกและทำให้ทารกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับหนังสือได้เมื่อเริ่มโตขึ้นค่ะ

2. ปล่อยให้ลูกคลุกคลีกับหนังสือ

แม้จะเป็นหนังสือเล่มเดียวกัน แต่เด็กอาจได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกันได้จากในแต่ละหน้าแต่ละตอนของหนังสือเล่มนั้นๆ ช่วงแรกเริ่มลูกอาจทำได้แค่พลิกหน้ากระดาษที่มีสีสันสะดุดตาไปมา หลังจากนั้นเขาจะสามารถเข้าใจภาพต่างๆ ได้ เช่น เข้าใจว่าภาพของนกในหนังสือ คือสัตว์ในชีวิตจริงที่เขาเคยได้เห็น จากนั้นเด็กจะสามารถสร้างเรื่องราวด้วยภาพ ทำความเข้าใจคำและเชื่อมโยงกับภาพ และต่อมาจะสามารถอ่านข้อความได้อย่างอิสระในขั้นต่อไป ที่สำคัญควรปล่อยให้เด็กเปิดหนังสือได้เองอย่างอิสระ อย่ายัดเยียดสิ่งที่คุณต้องการให้ลูกอ่านมากเกินไปในช่วงแรกเริ่ม

สอนลูกให้ชอบอ่าน
สอนลูกให้ชอบอ่าน

3. ค่อยเป็นค่อยไปอย่าเร่งเร้า

คุณอาจภูมิใจหากสมมุติว่าลูกอายุหกขวบ กำลังอ่านแฮร์รี่พอตเตอร์  แม้ว่าจะเป็นเรื่องดีหากบุตรหลานของคุณอ่านหนังสือที่ซับซ้อนได้ แต่จำไว้ว่าอย่ารีบร้อนให้บุตรหลานของคุณโฟกัสกับการอ่านได้นาน หรืออ่านหนังสือที่เนื้อหาซับซ้อนเกินวัย เพียงเพราะคุณต้องการให้เป็น อย่าเพิกเฉย ต่อหนังสือที่มีข้อความเพียง 10 บรรทัด หรือ บอกบุตรหลานของคุณว่า “ลูกโตเกินไปแล้ว” สำหรับหนังสือภาพหรือการ์ตูน เพราะหากพวกเขาแสดงความสนใจในหนังสือเหล่านั้น ลูกก็ควรได้ตัดสินใจเมื่อเขาพร้อมที่จะก้าวไปสู่การอ่านในระดับที่สูงขึ้น  ระดับการอ่านเปรียบเสมือนอาคารที่มีลิฟต์ความเร็วสูง คุณสามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลา และไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องติดอยู่ในที่เดียวเมื่อไปถึงจุดสูงสุดแล้ว คุณสามารถแนะนำหนังสือประเภทต่างๆให้ลูกได้ตลอดเวลา เพียงแต่อย่าเร่งเร้าจนเกินไป

เอ๋ มณีรัตน์ เผยเคล็ดลับหัดอ่านหนังสือวันละ 15 นาที

10 ทักษะ ที่ลูกต้องมี! ก่อนพ่อแม่ ฝึกลูกเขียนหนังสือ

ลูก 5 ขวบ อ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี? มาช่วยลูกให้ “อ่านออก” กัน

4. อย่าตีกรอบการอ่านของลูก

พ่อแม่หลายคนเชื่อมั่นในคำว่า อ่านเพื่อ “ให้ความรู้” เท่านั้นเมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน และคุณอาจเลือกซื้อเฉพาะหนังสือที่ตัวเองคิดว่ามีประโยชน์ให้ลูกอ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เนื้อหาจะเน้นหนักไปทางวิชาการ อาทิ คณิตศาสตร์ หรือ ภูมิศาสตร์โลก และไม่ยอมเสียเงินให้กับ นิยายหรือการ์ตูนต่างๆ ที่เคยซื้อให้ลูกอ่านตอนเล็กๆ บอกไว้ตรงนี้เลยค่ะว่า นี่เป็นวิธีที่น่ากลัวที่สุด ในการฆ่าความรักในการอ่านของลูกได้  การอ่านนิยายที่คุณอาจคิดว่า “ไร้ประโยชน์” นั้น สามารถช่วยพัฒนาจินตนาการ และความสามารถของเด็กในการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของตนเองได้  จำไว้ว่าอนุญาตให้พวกเขาอ่านเพื่อความสุขบ้าง การมีช่วงเวลาที่เพลิดเพลิน ผ่อนคลายกับหนังสือไม่ใช่เรื่องผิด

5. ซื้อหนังสือที่ลูกต้องการ

อาหาร รองเท้า เสื้อผ้า อาจเป็นเงินหลายพัน แต่เราจ่ายได้โดยไม่คิดมาก แต่บางทีเรากลับคิดแล้วคิดอีกก่อนจะควักกระเป๋าสตางค์จ่ายเงินค่าหนังสือเล่มที่ลูกอยากได้ เพียงเพราะไม่แน่ใจว่า เล่มนี้จะ “คุ้ม” หรือไม่  อย่างไรก็ดี ขอแนะนำให้ดูว่าหนังสือเล่มที่ลูกยื่นมาให้ มีความยาวเพียงพอ มีเนื้อหาเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์กับลูกได้หรือไม่ ถ้าดูแล้วใช้ได้มีสาระที่คิดว่าเป็นประโยชน์ หยิบไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์เลยค่ะ วิธีนี้เป็นการสนับสนุนให้ลูกรักการอ่านที่ดี ลูกจะรู้สึกได้ว่า พ่อแม่พร้อมจะสนับสนุนในทุกการเรียนรู้ของเค้า

6. อย่ายึดถือ “เรื่องอายุที่เหมาะสม” มากเกินไป

บางสำนักพิมพ์อาจกำหนดอายุของผู้อ่านที่เหมาะสมไว้บนปกหนังสือ แต่สิ่งนี้เป็นเพียงแนวทางไม่ใช่กฎเกณฑ์ตายตัวที่ต้องทำตามเสมอไป หากลูกของคุณสนใจหนังสือเหล่านี้ และคุณไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะอ่านได้หรือไม่ ให้ลองพลิกอ่านคร่าวๆ หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทางออนไลน์ว่าเนื้อหาของหนังสือเป็นอย่างไร  และอาจบอกลูกๆ ว่าสามารถถามพ่อแม่ได้หากมีคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งในหนังสือที่ลูกไม่เข้าใจ อย่ากำหนดเอาเองว่าความสนใจของเด็ก ควรจะต้องเป็นแบบนั้นหรือแบบนี้เท่านั้น

สอนลูกให้ชอบอ่าน

7. อนุญาตให้ลูกแบ่งปันหนังสือกับเพื่อนๆ

การอนุญาตให้ลูกแบ่งปันหนังสือกับเพื่อน ๆ และกระตุ้นให้พวกเขาพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนั้นๆ เป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยปลูกฝังให้ลูกรักการอ่าน เป็นการสร้างความทรงจำดีๆ ของลูก ที่มีร่วมกับคนอื่นๆ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน

8. อ่านหนังสือให้ลูกเห็นบ้าง

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้คือ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้จากการสังเกตมากกว่าการสอนการหรือพูดเฉยๆ หากคุณบอกให้บุตรหลานอ่านหนังสืออยู่ตลอดเวลา แต่ในทางกลับกันลูกไม่เคยเห็นคุณอ่านหนังสือเลย ลูกก็ไม่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจที่ดีจากต้นแบบของเขา ทางที่ดีควรให้ลูกได้เห็นคุณซื้อและอ่านหนังสือเพื่อความสุขของคุณเองบ้าง พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ่านกับบุตรหลานของคุณหากลูกต้องการที่จะฟัง

9. จำกัดเวลาหน้าจอของลูก

พ่อแม่หลายคน อาจยอมจำนนต่อการปล่อยให้ลูกใช้  สมาร์ทโฟน หรือแท็ปเล็ต  เพื่อแลกกับความ “เงียบสงบ” ของลูก  แต่ตามหลักแล้วพ่อแม่ควรควบคุมเวลาอยู่หน้าจอของลูกด้วยการฝึกให้ลูกนั่งอ่านหนังสืออย่างสงบดูบ้าง แม้ว่าหนังสืออาจเงียบและไม่เร้าใจหรือโต้ตอบได้ทันทีเหมือนหน้าจอที่มีภาพเคลื่อนไหวและเอฟเฟกต์เสียงต่างๆ แต่การติดหน้าจอสามารถครอบงำจิตวิญญาณของลูกได้เร็วมากหากคุณไม่ระวัง เมื่อความสนใจในหนังสือลดลงเพราะติดจอ อาจเป็นเรื่องยากที่ลูกของคุณจะนั่งอ่านหนังสือด้วยความใส่ใจได้เหมือนเคย หากคุณเลี่ยงไม่ได้ที่จะยื่นหน้าจอให้กับลูก โปรดตระหนักถึงปัญหานี้ไว้ ทางที่ดีควรกำหนด และจำกัดเวลาการอยู่หน้าจอของลูกให้ชัดเจนค่ะ

นอกจากนี้การปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่ยังเล็ก ยังเป็นการเสริมสร้างความฉลาดรอบด้านให้กับลูก ด้วย Power BQ ได้ในหลายเรื่องเลยค่ะ ทั้ง ความฉลาดในการคิดเป็น(TQ) , ความฉลาดทางสติปัญญา(IQ) , ความฉลาดในการคิดสร้างสรรรค์(CQ)เป็นต้น และเมื่อลูกมีนิสัยรักการอ่าน ประโยชน์ที่ได้ตามมา ที่เราจะเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ทักษะที่ลูกต่อยอดได้จากนิสัยรักการอ่าน ได้แก่  การฟัง การพูด การเขียน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ทักษะเหล่านี้ ยิ่งลูกมีติดตัวได้เร็วเท่าไหร่จะยิ่งเป็นผลดีต่อตัวลูกในวันที่เขาเติบโตต่อไปในอนาคตค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : thenewsminute.com,parent.com,thebestbrainpossible.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิจัยเผย พ่ออ่านนิทานให้ลูกฟัง ส่งผลดีต่อลูกมากกว่าแม่อ่าน

วิธีสร้างลูกน้อยรักการอ่าน 8 step

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังสำคัญไฉน ??

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up