ลูกร้องไห้บนเครื่องบิน เพราะปวดหูต้องทำอย่างไร?
สาเหตุหลัก ๆ ที่เด็กมักจะร้องไห้บนเครื่องบิน นั่นคือ ลูกรู้สึกปวดหูจากแรงดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงเวลาเครื่องบินบินขึ้นและลงนั่นเอง แถมยังต้องถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่ระหว่างที่เครื่องบินขึ้นและลง สำหรับเด็กแล้ว การที่รู้สึกปวดหู ไม่สบายตัว แถมยังต้องอยู่กับที่ ถือเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีเอาเสียเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ลูกจะร้องไห้งอแง แล้วพ่อแม่ควรจะทำอย่างไรดีล่ะ เพื่อบรรเทาอาการปวดหูให้ลูกขณะเครื่องขึ้นลงได้?
3 วิธีบรรเทาอาการปวดหูเมื่อเครื่องขึ้นและลง
-
อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง ดื่มนม
สำหรับเด็กทารกที่ยังทานนมแม่ หรือ นมขวดอยู่ ในช่วงก่อนขึ้นเครื่อง อย่าเพิ่งให้ลูกทานนมจนอิ่ม ให้ลูกดูดนมแม่หรือนมขวดในช่วงเวลาที่เครื่องบินกำลังขึ้นหรือลง (Take off and Landing) การดูดนมขณะที่เครื่องขึ้นและลงจะช่วยทำให้ความดันในหูชั้นกลางมีการปรับสมดุลได้ดีขึ้น (คล้าย ๆ กับการกลืนน้ำลายในผู้ใหญ่นั่นเอง) และสำหรับเด็กที่สามารถทานลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่งได้แล้ว ควรให้ลูกอมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่งในช่วงนี้เช่นกัน เพราะการอมลูกอมจะทำให้เราต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ การเคี้ยวหมากฝรั่งก็จะช่วยให้เราเคลื่อนไหวกราม และกลืนน้ำลายไปด้วย การกลืนน้ำลายจะช่วยปรับแรงดันในหูให้ดีมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยลดอาการเจ็บแน่นหูไปได้เป็นอย่างดี
*เคล็ดลับในการกลืนน้ำลาย อมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ให้เริ่มทำตั้งแต่ก่อนเครื่องจะเริ่มออกตัว กลืนน้ำลายไปเรื่อย ๆ จนกว่าเครื่องบินจะบินขึ้นจากพื้น พุ่งทะยานสู่ฟากฟ้า และรักษาระดับความสูงได้คงที่
2. เคลียร์อากาศออกจากหู
สำหรับเด็กโตที่พอจะสอนให้เคลียร์อากาศออกจากหูได้แล้ว คุณพ่อสามารถสอนให้ลองทำได้ โดยการเคลียร์อากาศออกจากหู คือการทำให้อากาศออกจากร่างกายด้วยการปิดปาก บีบจมูก แล้วพยายามหายใจออกทางจมูก แต่เมื่ออากาศไม่สามารถออกทางปากและจมูกได้ อากาศจะพยายามหาทางออกโดยไปทางหูแทน วิธีนี้จะช่วยปรับความดันภายในหู อย่าลืมกลืนน้ำลายตามหลังทำด้วยทุกครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการหูอื้อได้
นอกจากนี้ การเอียงหูด้านที่มีอาการหูอื้อขึ้นด้านบน แล้วดึงหูเล็กน้อย หรือการอ้าปากหาว กลืนน้ำลายพร้อมปิดจมูก ก็ช่วยลดอาการหูอื้อได้เช่นกัน
3. เบี่ยงเบนความสนใจ
การเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกหันไปสนใจสิ่งอื่นแทนในขณะที่เครื่องกำลังเปลี่ยนระดับความสูง เช่น สมุดระบายสี นิทานเล่มโปรด ของเล่นตามวัย เกม หรืออะไรก็ตามที่มีสีสันให้ลูกหันไปสนใจสิ่ง ๆ นั้นแทนอาการปวดหูได้ นอกจากนี้ การปลอบประโลม และการกอดลูกแน่น ๆ เป็นการบอกลูกน้อยไปในตัวว่า ไม่ต้องกลัวหรือตกใจ คุณพ่อคุณแม่พร้อมจะอยู่กับลูกตลอดช่วงเวลานี้
จากเรื่องราวที่คุณแม่ชาวเกาหลีท่านนี้ได้ทำนั้น นอกจากจะทำให้ผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ไม่รู้สึกรำคาญต่อเสียงเด็กร้องแล้ว ยังแสดงถึงความใส่ใจถึงผู้ร่วมเดินทางท่านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งผู้ที่เข้ามาอ่านเรื่องราวเหล่านี้ หลาย ๆ เสียงก็เข้าใจได้ว่าการที่ ลูกร้องไห้บนเครื่องบิน นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เด็กไม่ร้องไห้ได้ แต่ก็ยังมีทางออกและวิธีอื่น ที่จะไม่รบกวนผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ได้เช่นกัน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
9 เรื่องที่แม่ต้องรู้! ก่อนพา ทารกขึ้นเครื่องบิน ป้องกันลูกงอแง
คนท้องขึ้นเครื่องบิน อย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพครรภ์
ยาลดน้ำมูก ผลข้างเคียงเยอะ! แม่ไม่ควรซื้อให้ลูกกินเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.dailymail.co.uk, Dave Corona Facebook, www.sanook.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่