เช็คลิสต์ ยาสามัญ ที่ควรเตรียมพร้อมประจำบ้านไว้ให้ลูก - Amarin Baby & Kids
ยาสามัญ

เช็คลิสต์ ยาสามัญ ที่ควรเตรียมพร้อมประจำบ้านไว้ให้ลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ยาสามัญ
ยาสามัญ

เช็คลิสต์ ยาสามัญ ที่ควรเตรียมพร้อมประจำบ้านไว้ให้ลูก

เด็ก ๆ มักป่วยบ่อย ทั้งมีไข้ ปวดท้อง ปวดหัว ท้องอืด เป็นหวัด คัดจมูก ผื่นแพ้ต่าง ๆ พ่อแม่จึงควรเตรียม ยาสามัญ ประจำบ้านไว้เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นให้ลูกน้อย วันนี้ทีมแม่ ABK มีลิสต์ยาที่คุณพ่อคุณแม่วรเตรียมไว้สำหรับลูกน้อยมาฝากค่ะ

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรเตรียมไว้ให้ลูก

  1. ยาลดไข้

เป็นเรื่องปกติหากอากาศเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยมีอาการเป็นไข้ขึ้นมาได้ โดยยาลดไข้สำหรับเด็ก จะช่วยลดอาการตัวร้อน และทำให้ไข้ลดลง ซึ่งหากเป็นเด็กเล็กส่วนใหญ่จะเป็นยาน้ำ แต่ห้ามใช้ยาลดไข้เองในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน หากทารกตัวร้อนหรือไม่สบาย คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม

สำหรับเด็กที่อายุ 3 เดือนไปจนถึง 3 ปี ที่มีไข้ต่ำ ๆ โดยเฉพาะเด็กอายุ 3–6 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้โดยไม่จำเป็น โดยอาจใช้วิธีลดไข้โดยไม่ใช้ยา เช่น เช็ดตัว ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ

สำหรับวิธีการให้ยาก็ขึ้นอยู่กับอายุ และน้ำหนักของลูกน้อย แต่ไม่ควรให้ติดต่อกันนานเกิน 3-5 วัน หากไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์จะดีที่สุด

2. ยาแก้ปวดท้อง

เด็กเล็ก ๆ มักมีอาการปวดท้อง เนื่องจากท้องอืด เพราะระบบกระเพาะยังทำงานได้ไม่ดีนัก ทำให้หลังกินนมอาจมีอาการท้องอืดแน่นเฟ้อ จึงควรเตรียมยาแก้ปวดท้องไว้เสมอ เช่น ยาธาตุน้ำขาว สำหรับทาน มหาหิงส์สำหรับทาที่ท้อง

การใช้ยาแก้ปวดท้องในเด็กควรเป็นดังนี้

  1. ไม่ควรใช้ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิก ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรใช้เมื่อจำเป็นตามแพทย์สั่งเท่านั้น และต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา
  2. ห้ามใช้ยาไดไซโคลมีน ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ชัก หมดสติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การหายใจผิดปกติ เป็นต้น

3. ยาแก้แพ้ แก้คัน

เด็กอาจจะโดนยุง หรือแมลงกัดต่อย ทำให้เป็นตุ่มคัน แต่ยาแก้แพ้ แก้คันสำหรับเด็ก ก็ควรเลือกที่ส่วนผสมจากธรรมชาติ ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น ขี้ผึ้งที่หากเด็กเอามือไปโดน ก็ไม่ทำให้เกิดอาการแสบได้ หรือคาลาไมด์โลชั่นทาผิวแก้ผื่นคัน ก็อ่อนโยนสำหรับเด็กเล็ก

สำหรับเด็กวัยที่ต้องไปโรงเรียน สามารถกินยาแก้แพ้ แก้คัน เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ โดยสามารถเลือกกินยาต้านฮีสตามีน กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น ลอราทาดีน (Loratadine), เซทิริซีน (Cetirizine), เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine), เลโวเซทีริซีน (Levocetirizine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine) เป็นต้น

ยาในกลุ่มนี้สามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม คือ เยื่อบุจมูกอักเสบ เนื่องจากภูมิแพ้ เยื่อตาขาวอักเสบ เนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล ผื่นลมพิษ สามารถรับประทานเพียง 1-2 ครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของยา

ยาสามัญ
เช็คลิสต์ ยาสามัญ ที่ควรเตรียมพร้อมประจำบ้านไว้ให้ลูก

4. ยาแก้ผื่นผ้าอ้อม

เป็นอีกหนึ่งยาสามัญประจำบ้านที่ควรเตรียมไว้ ทาป้องกันไว้ทุกครั้งหลังอาบน้ำ หรือก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อม การรักษาผื่นผ้าอ้อม ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของตัวโรค ถ้าเป็นผื่นแดงเล็กน้อย ใช้การทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบผิวอย่างเหมาะสม ก็จะดีขึ้น ถ้าผื่นดูแดงอักเสบมาก พิจารณายาทาต้านการอักเสบชนิดอ่อน ( low-potency topical steroid ) ทาวันละ 2 เวลา เช้า เย็น จะช่วยป้องกัน และลดผื่นผ้าอ้อมได้เป็นอย่างดี

5. เกลือแร่

เผื่อไว้ในกรณีที่เด็กเล็กมีอาการท้องเสีย ซึ่งปกติแล้วส่วนใหญ่หลังถ่ายท้อง จะสามารถหายเองได้ แต่ต้องเตรียมเกลือแร่ป้องกันอาการขาดน้ำ สำหรับให้เด็กจิบตลอดทั้งวัน

6. เจลร้อน – เย็น

เอาไว้สำหรับประคบเวลาเด็กหกล้ม หรือเกิดอาการฟกช้ำตามร่างกาย

7. ยาทาสำหรับคัดจมูก

ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กหลายคนมีอาการคัดจมูก ทำให้บางครั้งนอนหลับไม่สบาย หลังอาบน้ำสามารถทาที่หน้าอก หลัง และฝ่าเท้า หรืออาจป้ายที่เสื้อผ้าบาง ๆ จะช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก
PPTV HD , pobpad, haamor, gedgoodlife, โรงพยาบาลพญาไท

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ยา อะม็อกซี่ รักษาหวัดได้ไหม ลูกเป็นหวัดควรกินยาอะไร

ใครเก็บ ยาน้ำ ในตู้เย็นบ้าง?เลิกด่วน!ยาบางชนิดงดแช่เย็น

ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ รับยาที่ไหน ลูกควรกินเท่าไหร่?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up