หมอรามาแนะแนวทาง พ่อแม่ดูแลลูก รับมือไวรัสโคโรน่า - Amarin Baby & Kids
รับมือไวรัสโคโรน่า

หมอรามาแนะแนวทาง รับมือไวรัสโคโรน่า “5 วิธีดูแล+สอนลูก รอดจาก COVID-19”

event
รับมือไวรัสโคโรน่า
รับมือไวรัสโคโรน่า

(ต่อ) วิธีดูแล+สอนลูก รับมือไวรัสโคโรน่า

4. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับเด็กเท่าที่จำเป็น และเหมาะสมตามระดับพัฒนาการของลูก

สิ่งสำคัญในการ รับมือไวรัสโคโรน่า อีกหนึ่งเรื่อง สำหรับบ้านที่มีเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกน้อยดูแลสุขอนามัยของตัวเอง โดยแบ่งตามระดับอายุ ได้ดังนี้…

วัยทารกหรือเด็กเล็ก

พ่อแม่ไม่ต้องบอกอะไร เพียงแต่คอยดูแลสุขอนามัยให้ลูกไปเลย หมั่นล้างของเล่นของใช้ให้สะอาด ดูแลความสะอาดของตัวเราก่อนเข้าไปใกล้ชิดลูก และให้กินอาหารที่สะอาดปรุงสุก สดใหม่ และไม่ควรพาไปในที่ชุมชน

Must read >> 8 วิธีรับมือไวรัสโคโรน่า COVID-19 ฉบับพ่อแม่ที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะ!

ทั้งนี้หากคุณแม่คนไหนที่กำลังคิดหยุดให้นมแม่ช่วงนี้ อย่าเพิ่งหยุดค่ะ อดทนให้ต่อไปก่อน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้อย่างมาก และจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าคุณแม่จะเป็นโรคโควิดก็สามารถให้นมแม่จากเต้าได้ตามปกติ เพียงแต่ให้ใส่หน้ากากและล้างมือบ่อยๆ

Must read >> ให้ลูกกินน้ำนมได้ไหม ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19

รับมือไวรัสโคโรน่า

เด็กอนุบาล

คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายโดยใช้ภาษาง่ายๆ แบบสั้นๆ ไม่ข้อให้ข้อมูลมากเกินไป เพราะลูกจะสับสนและกังวล เช่น “ช่วงนี้ข้างนอกมีคนไม่สบายเยอะ หนูอยู่บ้านเล่นกับแม่ก่อน พอคนไม่สบายน้อยลงแล้ว เราค่อยไปข้างนอกกัน”

และสอนให้ลูกล้างมืออย่างถูกวิธี ด้วยสบู่ นาน 20 วินาที ด้วยการร้องเพลงที่ความยาว20 วินาที เช่น เพลงช้าง ไปด้วยกัน ร้องเพลงจบจึงหยุดล้างมือ ชมเขาว่าเก่งถ้าทำได้แบบแม่ สอนลูกใส่หน้ากากถ้าจำต้องออกไปนอกบ้าน โดยเพจ ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ยังได้แนะนำ เกี่ยวกับการ รับมือไวรัสโคโรน่า นี้ด้วยว่า ไม่ควรพาไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ซึ่งถ้าต้องไปจริงๆ ให้ใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าลูกไม่ยอมใส่ ซึ่งมักเป็นในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรทำดังนี้

  • เลือกหน้ากากลายการ์ตูนน่ารักสำหรับลุกสาว หรือ ลายซูเปอร์ฮีโร่ สำหรับลูกชาย
  • หรือเลือกหน้ากากลายที่เหมือนกับของพ่อแม่ เพราะเด็กบางคนชอบใส่เสื้อผ้าลายเดียวกับพ่อแม่
  • ลองหาหมวกแบบมีที่กั้น เพราะเด็กบางคนอาจยอมใส่หมวกมากกว่ายอมให้เอาอะไรมาคาดหน้า
  • ควรพกแอลกอฮอลล์ไว้ล้างมือตลอดเวลาที่มือของคุณพ่อคุณแม่หรือมือของลูกต้องสัมผัสกับผิวสัมผัสอะไรก็ตาม
  • บอกให้ลูกเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง กระเป๋าเสื้อแจ๊คเก็ตหรือถือของเล่นที่ลูกชอบติดมือไว้ตลอดเวลา เพราะมือจะได้ไม่ว่างไปจับอย่างอื่น หรือเอามือจับใบหน้า ตา จมูก ปากของตัวเอง

ที่สำคัญพ่อแม่ต้องมีสติตลอดเวลา คอยสังเกตว่าลูกถอดหน้ากากตอนไหน ลูกทำของเล่นตกพื้นตอนไหนแล้วแอบเก็บขึ้นมา ลูกเอามือไปสัมผัสกับผิวสัมผัสอื่นตอนไหน มีใครมาจับมือลูกตอนไหน แล้วรีบเอาแอลกอฮอลทำความสะอาดทันที

เด็กประถม

ลูกวัยนี้พอจะเข้าใจแนวคิดเรื่องเชื้อโรคได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ควรให้รายละเอียดมากเท่ากับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปให้บอกว่าเกิดจากเชื้อโรค ที่ติดต่อผ่านการไอ จาม และโดนน้ำลายน้ำมูกกระเด็นออกมา จึงจำเป็นที่ลูกต้องใส่หน้ากากถ้าออกไปในที่ที่มีคนเยอะ และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ นาน 20 วินาที และไม่ให้เอามือจับหน้า

วัยรุ่น

ลูกเข้าใจเรื่องนี้ได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่บางคนอาจมีอารมณ์เมื่อต้องกักตัวเองไม่ได้ออกไปทำกิจกรรมที่ตนเอง ตั้งใจไว้ ไม่ได้ไปเจอกลุ่มเพื่อน และต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น แต่เดิมสามารถออกไปติวกวดวิชานอกบ้านกับเพื่อนได้ ตอนนี้ต้องงดอยู่แต่ในบ้าน นั่นจึงทำให้ลูกหงุดหงิดรู้สึกไม่มีอะไรทำ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ คือ งดการพูดคุยตอนที่ลูกกำลังมีอารมณ์ ต้องให้เขาสงบสติอารมณ์ตัวเองก่อน แล้วจึงเข้าไปพูดคุยด้วยเหตุผล และความห่วงใยที่มี สอบถามความคิดเห็นของลูกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้เขาได้แสดงความคิดเห็น แทนการสั่งว่าเขาควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

5. ทำกิจวัตรประจำวันในบ้านตามปกติ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นและการใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น พาออกนอกบ้านน้อยลง และพยายามทำตัวตามปกติ ก็ถือเป็นโอกาสในการใช้เวลาคุณภาพกับครอบครัว เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส!!! ได้แล้ว

สุดท้ายดูแลให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วิ่งเล่นออกกำลังกาย หัวเราะบ่อยๆ เพราะการหัวเราะหรือการมีสุขภาพจิตที่ดี จะช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น กินอาหารครบ 5 หมู่ ทานผักผลไม้ธัญพืช ถั่วหลากหลาย เมล็ดพืช ซึ่งมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

อย่างไรก็ตามสำหรับวิธี รับมือไวรัสโคโรน่า หากหลีกเลี่ยงการพาลูกออกไปสถานที่ที่คนเยอะได้ยาก คือถ้าจำเป็นต้องพาลูกไปจริงๆ ก็ควรป้องกันโดยการให้สวมหน้ากากอนามัย และใช้วิธี social disruption เว้นระยะการเดินระหว่างผู้อื่น ทั้งหน้าและหลัง เลือกที่นั่งให้ห่างจากผู้อื่น ไม่อยู่ใกล้ชิด โดยอย่างน้อยควรห่าง 2 เมตรขึ้นไป แต่หากอยากพาลูกออกไปเที่ยวผ่อนคลายข้างนอก ควรเลือกสถานที่อากาศดีๆ เช่น สวนสาธารณะ ทะเล ต่างๆ มากกว่าการไปที่ที่ไม่มีอากาศถ่ายเทนะคะ

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลจากเพจ  สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ และ  จิตเวช รามา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (อ้างอิงจาก www.cdc.gov)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up