ข้อควรรู้ ก่อน เปลี่ยนชื่อลูก
จาก พ.ร.บ. การเปลี่ยนชื่อของคนไทยกันก่อน พ.ร.บ.นี้ มีบัญญัติขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 ใจความของ พ.ร.บ. กล่าวไว้ว่าสำหรับคนไทยซึ่งมีสัญชาติไทย สามารถมีชื่อตัว นามสกุล และจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ ชื่อตัวในที่นี้ ก็คือ ชื่อประจำของตัวบุคคล ชื่อรอง ก็คือ ชื่อประกอบของคน ๆ นั้น ที่ต่อจากชื่อจริง ส่วนชื่อสกุล ก็คือ ชื่อวงศ์ตระกูล นั่นเอง
ทั้งนี้หลักเกณฑ์ข้อห้ามในการเปลี่ยนชื่อ ก็คือ
1. สำหรับชื่อตัวหรือชื่อรอง ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี
และราชทินนาม ของพระองค์ทั้งสอง หรือเชื้อพระวงศ์ ทั้งหมด
2. ต้องไม่หยาบคาย หรือว่ามีความหมายในทางหยาบคาย
3. ไม่ส่อเจตนาไปในด้านที่ทุจริต
4. สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้
ขั้นตอน และเอกสารสำหรับ เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร
สำหรับการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร ปัจจุบัน หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการ เปลี่ยนชื่อลูก อายุไม่ถึง 20 (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชนของตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ที่เป็นคนยื่นเรื่อง ซึ่งต้องเป็นใบปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (หากบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุแล้วและยังไม่ได้ต่อ ก็ต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ทราบก่อน)
- บัตรประชาชนของลูก ซึ่งหากลูกยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน (อายุไม่ถึง 15 ปี) ให้ใช้ สูติบัตร
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงไม่ใช่สำเนา) ที่มีชื่อของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนอยู่ในนั้นด้วยเท่านั้น
⇒ Must read : แม่ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อ สูติบัตรลูกหาย
เมื่อเตรียมเอกสารเสร็จ เพื่อความรวดเร็ว แนะนำให้คนเดินเรื่องเป็นคุณแม่คนเดียวก็สามารถมีสิทธิ์ที่จะ เปลี่ยนชื่อลูก ได้โดยง่าย แต่ถ้าให้คุณพ่อเป็นผู้ยื่นคำร้อง ต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ไปยืนยันด้วย โดยสถานที่ยื่นเรื่องขอ เปลี่ยนชื่อลูกน้อย สามารถยื่นได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่เท่านั้น คือ
- ที่ว่าการอำเภอ
- กิ่งอำเภอ
- สำนักงานเขต