ขั้นตอนในการยื่นเรื่อง เปลี่ยนชื่อลูก
เมื่อไปถึงที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ก็ให้คุณแม่ไปขอบัตรคิวและรอ ระหว่างนั้นอาจจะนั่งกรอกเอกสารที่ไปติดต่อขอรับมาก่อน คือ
- แบบ ช. 1 และยื่นให้กับทางนายทะเบียนของอำเภอหรือเขตนั้น
- จากนั้น นายทะเบียนก็จะทำหน้าที่รับคำร้องตามเอกสารที่เรายื่นไป และตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. ที่ได้กล่าวไปในขั้นต้น
- ถ้าทุกอย่างผ่านไม่มีปัญหานายทะเบียนก็จะออกหนังสือสำคัญ เปลี่ยนชื่อลูก ให้
หลังจากที่ได้ใบรับรับรองการเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนชื่อ เพราะคุณแม่จะต้องนำใบนี้ไปทำการเปลี่ยนชื่อที่ทะเบียนบ้านกับเจ้าหน้าที่ก่อน (ซึ่งก็สามารถทำได้ต่อจากกระบวนการก่อนหน้านี้เลย) และถ้าลูกอายุถึง 15 ปีแล้ว ก็ต้องไปทำบัตรประชาชนใบใหม่ในชื่อใหม่ด้วย *ในขั้นตอนนี้ขอแนะนำว่า วันที่พาลูกจะไปทำเรื่องเปลี่ยนชื่อนั้นอย่าลืมแต่งตัวดี ๆ ไปด้วยเพื่อถ่ายรูปทำบัตรประชาชนใหม่ด้วยนะคะ
โดยเจ้าหน้าที่ จะเปลี่ยนชื่อใหม่ของลูก ให้ในทะเบียนบ้าน (ขีดชื่อเก่าออก เขียนชื่อใหม่แทนลงไป) แต่จะไม่ขีดแก้ไขชื่อลูกในสูติบัตร แล้วจะออกเป็น เอกสารใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อบุคคล (ช.3) หรือ เรียกว่า แบบ ช.3 ให้
ซึ่งในการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อลูกนี้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท
***ทั้งนี้หลังจาก เปลี่ยนชื่อลูก เรียบร้อยแล้ว การไปติดต่อราชการ หรือทำเอกสารต่างๆ ทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อย (ซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน) จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องถือ (หรือสำเนา) สูติบัตรและเอกสารใบเปลี่ยนชื่อแนบคู่กันไปด้วยทุกครั้ง
ส่วนการเปลี่ยนนามสกุลนั้นก็มีหลักเกณฑ์ที่คล้าย ๆ กัน
คือ ไม่ไปพ้องหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามพระราชินีและราชทินนามของพระองค์ทั้งสอง และไม่ไปพ้องกับราชทินนาม นอกจากจะเป็นราชทินนามที่ทรงประทานให้ตัวคนยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเองหรือของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน ที่สำคัญต้องไม่ซ้ำกับนามสกุลอื่น ๆ ที่มีคนใช้แล้ว ในส่วนนี้สามารถค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้ว่าซ้ำหรือไม่ และไม่ใช่คำหยาบคายหรือเป็นคำที่มีความหมายไปในทางหยาบคาย
การเปลี่ยนนามสกุลที่กำหนดอีกอย่าง ก็คือ ต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ ห้ามใช้คำนำหน้านามสกุลโดยใช้ตัว ณ ถ้าไม่ใช่ได้รับพระราชทานมา ห้ามไม่ให้ใช้ชื่อพระมหานครและพระปรมาภิไธยมาเป็นนามสกุล ส่วนเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลนั้นก็ใช้เหมือนกับการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อทุกอย่าง ขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหลือนั้นก็เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนชื่อนั่นเอง แต่ค่าดำเนินการหรือค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนนามสกุลนั้น คือ 100 บาท
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยอื่นๆ ในการเปลี่ยนชื่อ – นาสกุล ให้ลูก หรือเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับฝ่ายทะเบียน ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตรเพื่อเป็นช่องทางให้คำปรึกษาปัญหาเหล่านี้ ผ่านทางช่องทาง ดังต่อไปนี้
- Call Center โทร1548 เพื่อรับฟังข้อมูลในระบบอัตโนมัติในหัวข้อที่สนใจ เกี่ยวกับงานทะเบียนและบัตรและติดต่อสอบข้อมูล สอบถามปัญหากับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง หรือ
- ทางเว็บไซต์ของของศูนย์ฯ ที่ http://stat.bora.dopa.go.th/callcenter1548/index.php หรือ คลิกดูรายเอียดฝ่ายทะเบียน ที่ http://203.155.220.230/m.info/bmaservice/bmaservice_02.html
- อีเมล์ [email protected]
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่เลิกกัน?
- สิทธิการเลี้ยงดูบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียน
- เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย
- สำเนาถูกต้อง เซ็นยังไงไม่ให้ถูกโกง?
ขอบคุณข้อมูลจาก : moneyhub.in.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่