ลูกชอบฝันร้าย ตื่นแล้วร้องไห้ไม่หยุด พ่อแม่ควรรับมือยังไง?- Amarin Baby & Kids
ลูกชอบฝันร้าย

ลูกชอบฝันร้าย ตื่นแล้วร้องไห้ไม่หยุด พ่อแม่ควรรับมือยังไง?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกชอบฝันร้าย
ลูกชอบฝันร้าย

ลูกชอบฝันร้าย – แม้แต่เด็กวัยเตาะแตะก็อาจพูดถึงความฝัน ทั้งเรื่องที่สนุก และน่ากลัว เด็กเกือบทุกคนมีความฝันที่น่ากลัวหรือน่าผิดหวังเป็นครั้งคราว แต่ฝันร้ายสำหรับเด็กๆ อาจจะรุนแรงขึ้นในช่วงวัยเรียนก่อนวัยเรียนที่ความกลัวความมืดเป็นเรื่องปกติ ฝันร้ายอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ปกครองสามารถจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการพักผ่อนในยามค่ำคืนอย่างสงบสุขได้ ด้วยวิธีนี้ เมื่อฝันร้ายคืบคลานเข้ามา ความสบายใจเล็กน้อยจากคุณจะช่วยให้จิตใจของลูกสงบลงได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้ว เด็กอายุ 3-6 ปี ประมาณ 10% -50% มักมีประสบการณ์ฝันร้ายที่ดูเหมือนจริงจนน่าสะพรึง เป็นเหตุให้เด็กๆ เกิดความกลัว นอนหลับตาร้องไห้ แม้ในขณะตื่นแล้วก็ยังคงร้องไห้ ขวัญเสียไม่หยุด จนพ่อแม่ต้องอุ้มปลอบกันเป็นการใหญ่ สำหรับพ่อแม่ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อช่วยให้ลูกหยุดฝันร้ายได้ ต่อไปนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณรับมือและลดความเสี่ยงที่ทำให้ลูกนอนฝันร้ายได้ค่ะ

ลูกชอบฝันร้าย ตื่นแล้วร้องไห้ไม่หยุด พ่อแม่ควรรับมือยังไง?

ฝันร้ายในเด็กคืออะไร?

ฝันร้ายเป็นความฝันที่อาจทำให้เด็ก ๆ ตื่นขึ้นมารู้สึกตกใจกลัวและเสียใจ

เป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะฝันร้ายได้เกี่ยวกับ:

  • อันตรายที่เหมือนเกิดขึ้นจริง เช่น โดนสุนัขวิ่งไล่กัด
  • ฝันเห็นสัตว์ประหลาดตัวใหญ่ในจินตนาการ เช่น แมงมุมยักษ์
  • เหตุการณ์จริงต่างๆ ที่น่ากลัวที่พวกเขาเคยเห็นหรือประสบมา

บางครั้งเด็ก ๆ สามารถบอกเราเกี่ยวกับฝันร้ายที่เกิดขึ้นโดยละเอียดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษาของพวกเขา ฝันร้ายมักจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคืน เมื่อลูกของคุณกำลังนอนหลับสนิท หากฝันร้ายแล้วเด็กที่อายุน้อยบางคนอาจรู้สึกว่าการกลับไปนอนหลับต่อได้อีกครั้งหลังจากฝันร้ายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา ฝันร้ายพบได้บ่อยในเด็กทุกวัย แต่จริงๆ แล้วมักพบได้บ่อยกว่าเมื่อเด็กอายุประมาณ 10 ปี

ฝันร้ายเกิดขึ้นเมื่อใด

ฝันร้ายเหมือนความฝันส่วนใหญ่ โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงของการนอนหลับที่สมองทำงานหนักและกำลังหลับลึก (REM Sleep) ภาพที่สดใสที่สมองกำลังประมวลผลอาจดูเหมือนจริง การนอนหลับส่วนนี้เรียกว่าเป็นช่วงของการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วเนื่องจากดวงตามีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วภายใต้เปลือกตาที่กำลังปิด ฝันร้ายมักจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการนอนหลับเมื่อช่วง REM Sleep นานขึ้น

เมื่อเด็ก ๆ ตื่นจากฝันร้ายภาพที่เห็นในความฝันจะยังคงสดใหม่และดูเหมือนจริง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเขาจะรู้สึกกลัวและเสียใจและมองหาผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยปลอบโยน

แต่เมื่อถึงวัยอนุบาล 3 – 4 ขวบ เด็ก ๆ จะเริ่มเข้าใจได้ดีขึ้นว่าฝันร้ายที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความฝัน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องจริงและไม่สามารถทำร้ายพวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ป้องกันไม่ให้พวกเขารู้สึกกลัว แม้แต่เด็กโตก็ยังรู้สึกหวาดกลัวเมื่อต้องตื่นจากฝันร้าย

ลูกชอบฝันร้าย
ลูกชอบฝันร้าย

สาเหตุของการฝันร้ายในเด็ก

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของฝันร้าย ความฝันและฝันร้ายอาจเกิดได้จากความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เผชิญอยู่ ซึ่งสมองของเด็กๆ มีการประมวลผลเพื่อจัดการกับความวิตกกังวลเหล่านั้นดังนั้นฝันร้ายอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีความเครียดหรือกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อาจทำให้รู้สึกไม่มั่นคง เช่น การย้ายบ้าน การเข้าโรงเรียนใหม่ การเกิดของพี่น้อง หรือความตึงเครียดในครอบครัวอาจสะท้อนให้เห็นในความฝัน

บางครั้งฝันร้ายเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาของเด็กต่อการบาดเจ็บ เช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บทางร่างกายต่างๆ  สำหรับเด็กบางคนโดยเฉพาะผู้ที่มีจินตนาการที่ดีการอ่านหนังสือที่น่ากลัวหรือดูภาพยนตร์หรือรายการทีวีที่น่ากลัวก่อนนอนสามารถสร้างฝันร้ายที่เป็นเรื่องเป็นราวได้ เด็กอาจจะจำทุกรายละเอียดไม่ได้ แต่โดยปกติจะจำภาพตัวละครหรือสถานการณ์และส่วนที่น่ากลัวได้บางส่วน

วิธีช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย

ความจริงแล้วพ่อแม่อาจไม่สามารถป้องกันฝันร้ายให้ลูกได้ 100% แต่สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้ลูกฝันร้ายได้ดังนี้

เพื่อช่วยให้พวกเขาผ่อนคลายเมื่อถึงเวลานอนควรแน่ใจว่าเด็ก ๆ :

  • ฝึกให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา
  • สร้างกิจวัตรการนอนหลับที่ช่วยให้พวกเขาผ่อนคลาย และรู้สึกปลอดภัยเมื่อเข้านอน ซึ่งอาจรวมถึงการอาบน้ำ การกอดกับพ่อแม่ การอ่านหนังสือ หรือการพูดคุยอย่างเงียบ ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่น่ายินดีในวันนั้น
  • จัดสภาพแวดล้อมในการนอนที่สะดวกสบายและเงียบสงบ หากลูกมีตุ๊กตาตัวโปรด อย่าลืมวางเอาไว้ใกล้ๆ กับลูกหรือให้ลูกได้จับได้กอดก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงภาพยนตร์ รายการทีวี คลิปมือถือ ที่มีเนื้อหาน่ากลัวสยดสยองก่อนนอน

กลยุทธ์ฝึกลูกให้เอาชนะความกลัวในยามค่ำคืน 

ความกลัวความมืด สัตว์ประหลาดในตู้เสื้อผ้า หรือเพียงแค่กังวลเรื่องการเข้านอน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก วิธีที่คุณในฐานะพ่อแม่หรือผู้ดูแลจัดการกับความกลัวและให้ความมั่นใจกับลูกของคุณจะส่งผลต่อความสามารถในการงีบหลับได้อย่างสบาย

เคล็ดลับบางประการที่จะช่วยให้ลูกของคุณเอาชนะความกลัวในตอนกลางคืน :

  • ลูกของคุณกลัวอะไร? เริ่มต้นด้วยการระบุความกลัว ฟังลูกของคุณ ถามคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้พวกเขาบอกคุณถึงสิ่งที่ทำให้พวกเขากลัวเวลานอน อย่าล้อเล่นกับความกลัวของลูก สิ่งที่อาจดูตลกหรือไร้สาระสำหรับคุณคือเรื่องจริงสำหรับลูกของคุณ
  • สร้างความมั่นใจในตนเองและทักษะการเผชิญปัญหาให้ลูก เช่น ในช่วงเวลากลางวัน ให้ลูกทำกิจกรรมที่ช่วยสร้างความมั่นใจในตนเอง ตัวอย่างเช่น ให้ลูกของคุณพูดคุยเกี่ยวกับความกลัวและประสบการณ์ก่อนนอน คุณอาจสามารถพูดคุยถึงวิธีอื่นในการตอบสนองต่อความกลัวเหล่านี้หรือรับมือกับความกลัวที่อาจช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกกลัวน้อยลงในตอนกลางคืน
    อย่าลืมให้รางวัลหากลูกสามารถเอาชนะความกลัวได้สำเร็จ อาจจะเป็น อาหารเช้าอร่อยๆ ของเล่นชิ้นเล็กๆ หรือรางวัลพิเศษอื่น ๆ อย่าลืมสนับสนุนให้ลูกของคุณพูดคุยเกี่ยวกับความกลัวกับคุณในเวลากลางวัน

ลูกชอบฝันร้าย

วิธีรับมือเมื่อลูกตื่นหลังจากฝันร้าย

ต่อไปนี้คือวิธีช่วยให้บุตรหลานของคุณรับมือกับฝันร้ายที่เพิ่งเกิดขึ้น :

  • สร้างความมั่นใจให้ลูกของคุณว่าคุณอยู่ที่นั่น ความสงบจะช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกปลอดภัยและได้รับการปกป้องหลังจากตื่นนอนด้วยความรู้สึกกลัว การรู้ว่าคุณจะอยู่ที่นั่นจะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยของบุตรหลาน
  • อธิบายให้ลูกฟังว่าเกิดอะไรขึ้น ให้ลูกของคุณรู้ว่ามันเป็นแค่ฝันร้ายและตอนนี้มันจบลงแล้ว คุณอาจพูดว่า “ลูกฝันร้าย แต่ตอนนี้ลูกตื่นแล้วและทุกอย่างเรียบร้อยดี” สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าสิ่งน่ากลัวในฝันร้ายไม่ได้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง
  • ให้ความสบายใจ โดยแสดงว่าคุณเข้าใจว่าลูกของคุณรู้สึกกลัวและปลอบว่าไม่เป็นไร อธิบายให้ลูกฟังว่าทุกคนก็นอนฝันได้ บางครั้งความฝันอาจน่ากลัว สะเทือนใจ และอาจดูเหมือนจริงมาก เป็นเรื่องธรรมดาที่จะลูกจะรู้สึกกลัว
  • ใช้แสงไฟช่วย ไฟกลางคืนหรือไฟหัวเตียงจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกปลอดภัยในห้องที่มืดมิด เมื่อพวกเขาพร้อมที่จะกลับไปนอนอีกครั้ง
  • ช่วยให้ลูกของคุณกลับไปนอน การเสนอสิ่งที่ปลอบโยนอาจช่วยเปลี่ยนอารมณ์ได้ ลองใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนกลับไปนอนหลับ เช่น ตุ๊กตาสัตว์ตัวโปรดให้ลูกถือ ตาข่ายดักฝัน หรือเพลงเบาๆ หรือพูดคุยถึงความฝันอันน่ารื่นรมย์ที่ลูกของคุณอยากจะมี และอาจส่งลูกให้กลับเข้านอนด้วยการหอมและจูบลูก

สำหรับเด็กส่วนใหญ่ ฝันร้ายเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่ได้ทำให้เกิดความกังวล และต้องการการปลอบโยนและความมั่นใจจากผู้ปกครอง พูดคุยกับแพทย์ของคุณหากฝันร้ายมักจะป้องกันไม่ให้บุตรหลานของคุณนอนหลับเพียงพอหรือหากเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาทางอารมณ์หรือพฤติกรรมอื่น ๆ

ปรึกษาแพทย์หากฝันร้ายส่งผลเสียต่อลูก และคุณรู้สึกกังวัล

คุณสามารถพิจารณาโทรปึกษาแพทย์ได้ถ้าหาก :

  • ความกลัวและความวิตกกังวลก่อนนอนของบุตรของท่านยังคงดำเนินต่อไป รุนแรงหรือแย่ลง
  • ความกลัวของบุตรหลานของคุณเริ่มต้นหลังจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหลังจากเหตุการณ์จบลง
  • ความกลัวของบุตรหลานของคุณขัดจังหวะกิจกรรมในเวลากลางวัน

บางครั้งฝันร้ายของลูกอาจเป็นเรื่องที่น่าวิตกได้มากหากเกิดขึ้นซ้ำซาก หรืออาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิต ในกรณีเช่นนี้ เทคนิคการรักษาทางจิตวิทยา เช่น กลยุทธ์การผ่อนคลายอาจใช้ได้  หรือสำหรับเด็กโต การฝึกจินตภาพในฝันอาจช่วยแก้ไขเรื่องการฝันร้ายได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : my.clevelandclinic.org , kidshealth.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เพราะเหตุใด ลูกถึงฝันร้ายบ่อยๆ

พร้อมไหม ให้ลูกนอนคนเดียว ฝึกลูกให้นอนเองได้ ตอนไหนดี

วิจัยชี้!! ลูก นอนกลางวัน ช่วยให้ความจำดี เรียนรู้เร็ว!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up