อุปสรรคในชีวิตลูกจะราบรื่น หากเรารู้วิธี สอนลูกให้ใจแกร่ง แม้ว่าพ่อแม่อย่างเราๆ ไม่อาจควบคุมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตลูกได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่จะช่วยให้ลูกผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ที่ลูกต้องพบเจอได้ คือ การเป็น Positive Parenting หรือการเป็นพ่อแม่ที่ยึดวิถี “พ่อแม่เชิงบวก” คือ การเลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจในพัฒนาการ
เปิดเทคนิค สอนลูกให้ใจแกร่ง ฟันฝ่าอุปสรรคชีวิตได้ราบรื่น
สอนลูกให้ใจแกร่ง – ในชีวิตคนเรา การปรับตัวให้กลมกลืนยืนหยัดกับสิ่งที่ต้องทำในชีวิต ในขณะเดียวกับที่ต้องเผชิญสถานการณ์อันเต็มไปด้วยอุปสรรคต่างๆ มากมายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะสามารถทำได้ดี ทั้งนี้เพราะ ทักษะความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience) ของแต่ละคนนั่นมีมากน้อยต่างกันไป แต่แท้จริงแล้วทักษะที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ ทุกคนสามารถพัฒนากันได้ค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญในการสั่งสมทักษะนี้ คือ การได้รับการเลี้ยงดูด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กนั่นเองค่ะ
“ความสามารถที่จะฟื้นตัว เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก มีแรงกดดันและความเครียดสูง โดยยังคงความมั่นใจและทัศนคติที่เป็นบวกที่จะฟื้นตัวฟื้นใจกลับมาได้” ประโยคนี้ คือ นิยาม ที่น่าสนใจของ คำว่า Resilience ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น คนที่มีทักษะ Resilience ก็เปรียบเสมือนทุ่นที่ลอยอยู่ในทะเล พายุจะแรงมหาศาลเพียงไร จะฉุดทุ่นให้จมดิ่งลึกลงไปใต้ทะเลแค่ไหน ตัวทุ่นเองก็สามารถเด้งกลับมาลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำได้ทุกครั้งไปค่ะ
สอนลูกให้ใจแกร่ง ด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญของ ทักษะ Resilience
- อึด คือ มีความเข้มแข็งทางจิตใจ สามารถทนทานต่อภาวะกดดันได้ดี จัดการความเครียดได้ อย่างเหมาะสม ควบคุมอารมณ์ได้ดี ยิ้มสู้กับทุกสถานการณ์
- ฮึด คือ มีศรัทธาและก าลังใจที่ดี เชื่อว่าสิ่งเลวร้ายต่างๆ ย่อมผ่านพ้นไปได้ สามารถให้ก าลังใจ ตัวเอง และได้รับก าลังใจจากคนรอบข้าง
- สู้ คือ สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคอย่างชาญฉลาด มีทักษะในการแก้ไขปัญหาดี หาทางออก ได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
ทีนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าเราจะมีเทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไร เพื่อให้ลูกของเราเป็นเด็กที่มีทักษะนี้ติดตัว
1. สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัวอยู่เสมอ
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ครอบครัวที่อบอุ่น คือ รากฐานสำคัญ สำหรับการเติบโตอย่างเข้มแข็งของเด็ก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้เด็กคนหนึ่ง มีสภาพพื้นฐานจิตใจที่ดี และ สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ร้ายๆ ไปได้ โดยมีการฟื้นฟูสภาพอารมณ์ และจิตใจได้อย่างรวดเร็ว ไม่จมอยู่กับความทุกข์ มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ ซึ่งคำว่าครอบครัวอบอุ่นในที่นี่ ไม่ได้แปลว่าการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา การตามใจ เอาอกเอาใจลูก แต่หมายถึง การที่เด็กได้มี ใครสักคนหนึ่ง ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเกิดความผูกพันอย่างลึกซึ้งด้วยนั่นเองค่ะ
2. สอนทักษะด้านการจัดการปัญหาให้กับลูก ด้วยวินัยเชิงบวก
คุณพ่อคุณแม่ทางบ้านเคยเป็นเหมือนกันมั้ยค่ะ ที่หลาย ๆ ครั้ง เรามักจะช่วยลูกแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ลูกต้องลำบาก หรือบางครั้งก็เป็นการตัดรำคาญ ให้ปัญหาจบได้อย่างรวดเร็ว แต่แท้จริงแล้ว การที่เราได้สอนแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับลูกอย่างสม่ำเสมอ แล้วลองปล่อยให้ลูกได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะเสริมสร้างนิสัย พึ่งพาตนเองได้ จนเกิดเป็นทักษะในการฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะลูกรู้สึกมั่นใจว่าสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆได้ด้วยตัวเอง
3. พูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียนลูกอยู่เสมอ
ในที่นี้ หมายถึงการ หมั่นสอบถาม กับคุณครูที่โรงเรียนของลูก ถึงหลักสูตร สภาพแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกของเรา กำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมเชิงบวก ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน และมั่นใจได้ ว่าการเรียนการสอนในชั้นเรียน ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของลูกเรา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับการสร้างสภาพจิตใจที่เข้มแข็งให้กับเด็กค่ะ
4. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมคลายเครียดที่เหมาะสมกับวัยของลูก
เคยได้ยินหลักการนี้มั้ยคะ ว่า “เด็กเล็กต้องได้เล่น เด็กโตต้องได้พักผ่อนอยู่กับตัวเองบ้าง” เพราะการได้มีเวลาสำหรับตัวเองจริงๆ อย่างเต็มที่ ในทุกวัน และทุกสัปดาห์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก ๆ เพราะจะทำให้ลูกได้ผ่อนคลายสมอง วางความเหนื่อยล้า ตึงเครียดลงและได้อยู่กับสิ่งที่มีความสุขปราศจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง เพราะบางครั้ง ลูกของเราอาจมีความเครียดที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวจนกลายเป็นความเครียดสะสม ส่งผลให้เป็นปัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของลูกในภายหลังได้ค่ะ
สรุป โดยภาพรวม สำหรับการเสริมสร้างทักษะ Resilience ในเด็กให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง คือ สถานภาพของครอบครัวที่อบอุ่นมีเสถียรภาพ มีการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง มีการแนะนำลูก สอนลูกด้วย วินัยเชิงบวก และที่สำคัญ เด็กที่ฟื้นสภาพได้ดีที่สุดจะมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับผู้ใหญ่อย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นพ่อแม่เสมอไปนะคะ อาจเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ และความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งมั่นคงนี่แหละค่ะ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่มาจากปัญหาครอบครัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
เป็นอย่างไรบ้างคะ เทคนิคการเลี้ยงลูกเพื่อให้มีทักษะของความยืดหยุ่นทางจิตใจ หรือเรียกว่าการสอนให้เป็นเด็กใจแกร่ง ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สำหรับใจความสำคัญที่เรานำมาเสนอในเรื่อง Resilience นั้นก็คือ การส่งเสริมลูกให้มี ความฉลาดในการเผชิญปัญหา (AQ) ด้วย Power BQ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ และฟันฝ่าอุปสรรคที่ต้องเจอในชีวิตได้สบายๆ เลยละค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.happyhomeclinic.com,www.bnhhospital.com,www.trueplookpanya.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สอนลูกให้คิดเป็น ฝึกฝนการเจออุปสรรค เพื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อ่าน! 3 เทคนิคเชิงบวกฝึกลูกเล็ก ควบคุมอารมณ์ โตไปไม่ก้าวร้าว
สอนลูกให้รู้จักความแตกต่าง หนูไม่ต้องเหมือนใคร เป็นตัวเองก็ดีมากพอแล้ว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่