ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ทำอย่างไรดี? - amarinbabyandkids
ลูกไม่อยากไปโรงเรียน

ทำอย่างไรเมื่อ…ลูกไม่อยากไปโรงเรียน !!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่อยากไปโรงเรียน
ลูกไม่อยากไปโรงเรียน

7 วิธีฝึกลูกให้รับมือเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียน

  1. เลือกคนดูแลเด็กที่รักเด็ก ให้ความรัก ความอบอุ่น และทำให้เด็กรู้สึกสงบ ปลอดภัยได้ ครูหรือผู้ดูแล (ที่ทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ แทนพ่อแม่) ต้องดูแลเด็กได้อย่างดีทั้งด้าน (ความสนุก) และเวลาที่เด็ก (ทุกข์ใจ)
  2. เป็นธรรมชาติที่เด็กจะร้องไห้ในแต่ละวันที่แม่แยกจาก เเม้แม่จะพยายามทำให้มั่นใจว่า จะกลับมารับลูกแน่ในตอนเย็นพ่อ แม่ต้องเลือก ที่ที่คนดูแล (พร้อม) จะช่วยเหลือให้เด็กผ่านความรู้สึกแย่ขณะที่ต้องต่อสู้กับฮอร์โมนแห่งความเครียด โดย รีบเข้าไปอุ้ม และให้เวลากับเด็กขณะร้องไห้การอุ้มและการปลอบใจ จะช่วยลดระดับคอร์ติซอล และกระตุ้นสารเคมีเชิงบวกในสมองลูกได้ ถึงแม่ไม่อยู่ หนูก็รู้สึกปลอดภัย การตอบสนองทางอารมณ์ ความอบอุ่น การโอบกอด จะช่วยป้องกันไม่ให้ระดับคอร์ติซอลของเด็กสูงขึ้นในขณะที่ถูกแยกจากพ่อแม่ เมื่อเด็กเริ่มรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ระดับฮอร์โมนความเครียดก็ลดต่ำลงค่อยๆ ผ่อนคลายและเริ่มเล่นได้ (ดังนั้นโรงเรียนที่เด็กมากเกินครูหรือผู้ดูแล จะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะอาจมีเด็กหลายคนร้องไห้พร้อมกัน)
  3. จงสร้างเวลาที่ดีกับลูก ก่อนจากกันเมื่อจะแยกจากที่ประตูห้องอย่ารีบหนีออกไปอย่างรวดเร็วการรีบ ทำให้ผลลัพธ์แย่ลง เพราะทำให้สารเคมีและฮอร์โมนความเครียดเพิ่มระดับสูงขึ้นก่อนแยกจากกัน ให้กอดลูกแน่นๆ วิธีนี้ ช่วยกระตุ้นสารแห่งความรักความผูกพันในสมองทำให้ลูกสงบลงได้
  4. กระตุ้นระบบความอยากรู้อยากเห็นของลูก เมื่อครูมาช่วยอุ้ม นอกจากแสดงความเข้าใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น ครูสามารถช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชี้ให้ดูโน่นนี่ ในโรงเรียน คอยให้กำลังใจเค้าในการสำรวจค้นหาแนะนำให้เด็กรู้จักเพื่อนใหม่ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนหน้าของเด็ก ให้เด็กดูของเล่นในห้อง ดูข้าวของต่างๆ และแม่ก็ค่อยๆ ออกไป ในขณะที่รู้ว่ามีสารเคมีทางบวก อยู่ในสมองมากกว่า สารเคมีแห่งความเครียด
  5. ให้ของแทนใจเด็กหลายคนมีของบางอย่างที่ให้ความรู้สึกดี เช่น ผ้าห่มนุ่มนิ่มที่เขากอดประจำตุ๊กตาตัวโปรด ถ้าลูกคิดถึงแม่ ลูกสามารถทำแบบนี้ได้ เพราะแม่อยู่กับลูกเสมอ ช่วยลูกให้อบอุ่น ผ่อนคลายเวลาไม่มีแม่
  6. พ่อแม่ต้องฝึกฝนตนเอง เพื่อช่วยปลอบลูกถ้าพ่อแม่เองก็เครียด ลูกรับรู้ได้มันมีสัญญาณการแสดงออกจากพ่อแม่เล่าวันนี้อาจยาวเกินไป เพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องสัญญาณการแสดงออกได้ในหนังสือ 30 หลักคิดติดปีกลูกนะคะ
  7. ใช้การเล่าเรื่อง บอกความรู้สึกช่วงเวลาที่อยู่กับลูก เราสามารถช่วยลูกสะท้อนความรู้สึกกังวลความรู้สึกแย่ ในตอนที่แม่แยกจากหนูเศร้า หนูเสียใจมากใช่มั้ยลูกเวลาที่แม่ ไปส่งหนูที่หน้าห้องและแม่ออกไปตอนที่แม่ไป หนูเป็นยังไงบ้างคะ (เด็กที่พูดสื่อสารได้ พ่อแม่สามารถกระตุ้นให้เด็กพูดบอกความรู้สึกตัวเองเด็กเล็ก ให้พ่อแม่พูดบรรยายเหตุการณ์ และเอาตัวไปนั่งในใจลูกและบอกความรู้สึกแทนลูก) เมื่อเด็กเล่า เราฟังอย่างตั้งใจ แสดงความเข้าใจความรู้สึกเขา อาจช่วยกันคิดว่า ทำแบบไหนลูกจะรู้สึกดีขึ้น เช่น ถ้าลูกรู้สึกแย่มาก ให้กอดผ้าห่มไว้ ลูกสามารถเดินไปบอกครู หรือ ลูกร้องไห้ก็ได้นะ พอลูกนอน ตื่นขึ้น ก็ได้เจอหน้าแม่แล้ว (เด็กเล็กอาจยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา ต้องบอกกิจกรรมที่ทำ) เด็กโตหน่อย อาจให้วาดภาพ หรือเขียนสื่อสาร หรือพูดบอกคนที่เขาไว้ใจ

ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอค่ะ ขอเพียงแค่พ่อแม่เข้าใจลูกในทุกช่วงพัฒนาการ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และสำหรับครอบครัวไหนที่กำลังเจอกับปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน ลองนำวิธีที่คุณหมอภาแนะนำนี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

เช็กลิสต์และเตรียมของใช้ลูก ก่อนไปโรงเรียนอนุบาลวันแรก!
30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนาปัญหาที่โรงเรียนลูก
โรงเรียนอนุบาลที่เจ๋งที่สุดใน 3 โลก

 


ขอขอบคุณเนื้อหาข้อมูลจาก
ทพญ.จีรภา ประพาศพงษ์ เจ้าของเพจ “หมอภา/Jeerapa prapaspong

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up