ลูกโดนทำร้าย – ปัญหาเรื่องเด็กโดนทำร้าย ทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องอยู่ที่โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือที่อื่นๆ ยังเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้บ่อยในสังคมไทย และยังคงมีประเด็นให้วิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลอยู่เสมอ ล่าสุด มีผู้ใช้เฟซบุ๊ครายหนึ่ง ได้โพสต์เรื่องราวลงในเฟซบุ๊คกรุ๊ป จากกรณีพบบาดแผลที่บริเวณหลัง ใบหูและตามลำตัวของหลานชายชั้นเตรียมอนุบาล ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้แจ้งให้ทางโรงเรียนรับทราบเรื่องแล้ว และยังรอดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุและข้อเท็จจริงอยู่
การที่ เด็กโดนทำร้าย ในที่นี้ ขอเรียกว่า child abuse หรือการถูกล่วงละเมิดในเด็กค่ะ ก่อนอื่น เรามาดูลักษณะของการล่วงละเมิดที่เด็กๆ อาจพบเจอและประสบด้วยตัวเองได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การล่วงละเมิดทางอารมณ์
การล่วงละเมิดทางอารมณ์ คือพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งบุคคลหนึ่งกระทำกับอีกบุคคลโดยไม่ใช่ทางกายภาพ เช่น การพูดข่มขู่ ถากถาง การใส่ร้าย การทำให้อับอาย การไม่พูดด้วย เป็นต้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดทอนความรู้สึกมีตัวตน ศักดิ์ศรี และคุณค่าในตนเองของบุคคลอื่น ซึ่งผลเสียจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศมักเป็นบาดแผลทางจิตใจที่ติดตัวไปในระยะยาวได้ ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือขั้นหนัก คือเกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือ อาจป่วยเป็นโรคเครียดหลังเกิดบาดแผลทางใจ (PTSD) ได้ เห็นมั้ยคะ ว่าการล่วงละเมิดทางอารมณ์ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่น้อย หากเกิดขึ้นกับลูกหลานของเรา
2. การล่วงละเมิดทางกาย
การล่วงละเมิดทางกาย คือ การกระทำใด ๆ โดยเจตนาที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือ การบาดเจ็บต่อบุคคลอื่นโดยการสัมผัสทางร่างกาย ในกรณีส่วนใหญ่เด็ก ๆมักตกเป็นเหยื่อของการทำร้ายร่างกาย การทำร้ายร่างกายหรือความรุนแรงทางร่างกายและอาจรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายร่างกายอาจเกี่ยวข้องกับผู้ทำร้ายมากกว่าหนึ่งคนและเหยื่อมากกว่าหนึ่งคน
เมื่อลูกเราอยู่ในวัยเรียน เป็นธรรมดาที่ต้องมีการออกจากบ้านไปพบเจอสังคมใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนที่บ้าน อาจทำให้ต้องพบเจอผู้คนใหม่ ๆ ที่มาจากต่างครอบครัว ต่างการเลี้ยงดู ซึ่งเราไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ลูกของเรากำลังตกอยู่ในอันตรายจากผู้คนเหล่านี้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ๆ หรือ ครู อาจารย์ เพราะฉะนั้น วันนี้เราเราจึงขอนำ วิธีสังเกต เมื่อเกิดความผิดปกติกับลูกของเรา หรือสงสัยว่าลูกกำลังโดนทำร้ายหรือล่วงละเมิดค่ะ
ลูกโดนรังแก บ่อยควรสอนให้สู้ไม่ถอย หรือหนีเอาตัวรอดเป็น
ลูกโดนแกล้ง พ่อแม่ช่วยได้ ป้องกันก่อนสายใช้กำลัง- ฆ่าตัวตาย
สอนลูกให้คิดเป็น ฝึกฝนการเจออุปสรรค เพื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
7 สัญญาณเตือน ลูกโดนทำร้าย ลูกเปลี่ยนไป พ่อแม่ต้องรู้!
สัญญาณเตือนว่าลูกอาจโดนทำร้าย
1. ลูกมีรอยฟกช้ำ ซึ่งไม่น่าเกิดจากการวิ่งเล่นทั่วไป ในจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่น ใต้ร่มผ้า แผ่นหลัง หรือ หน้าอก เพราะคนทำ อาจตั้งใจให้เห็นบาดแผลได้ยาก พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ ควรหมั่นดูความผิดปกติของลูกอย่างใกล้ชิด เช่น คอยสังเกตตามร่างกาย เวลาอาบน้ำหรือแต่งตัวให้ลูก
2. ลูกนอนละเมอฝันร้ายเป็นประจำ แม้อาจไม่มีบาดแผลทางกายให้เราเห็น แต่บาดแผลทางใจเป็นสิ่งที่สังเกตได้ชัดเจน เนื่องจากจิตใต้สำนึก ไม่อาจปกปิดกันได้ในยามที่ลูกหลับ ดังนั้นหากเห็นว่าลูกฝันร้าย หรือละเมอ บ่อยกว่าปกติ เมื่อปลุกให้ตื่นแล้วร้องไห้ไม่หยุด ให้คิดไว้เลยค่ะ ว่า “มีบางอย่างผิดปกติแล้ว”
3. ลูกดูมีความวิตกกังวลและความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น เมื่อต้องไปโรงเรียนแต่เช้า ลูกอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสียหรืออาเจียน หรืออาจแสดงออกด้วยการกรีดร้อง ร้องไห้หนัก เกาะตัวพ่อแม่ อยากให้พ่อแม่อุ้ม และมีความรู้สึกไม่อยากเข้าใกล้โรงเรียน
4. ลูกพูด ว่า“ไม่อยากไปโรงเรียน” เพราะ กลัวครูคนนั้น เพื่อนคนนี้ หรือ ไม่อยากเรียนวิชานี้ ไม่อยากเจอเพื่อนคนนี้เลย เป็นต้น และอาจมีมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงสถานที่ บุคคล หรือ สิ่งของบางอย่าง (ที่มีจุดร่วมคล้ายกัน) โดยพ่อแม่อาจสังเกตเห็นได้ชัดเจนหากคอยเฝ้ามองดูพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด
5. ลูกมีการแสดงออกบางอย่างที่ผิดปกติ อาจแสดงออกให้พ่อแม่เห็น โดยการหมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรบางอย่างกับร่างกายตัวเอง เช่น การจับ-เล่น ถูไถอวัยวะเพศบ่อยกว่าปกติ ซึ่งตรงนี้ให้สงสัยไว้เลย ว่าลูกอาจถูกล่วงละเมิดทางเพศมา นอกจากนี้หากลูกมีประสบการณ์โดนทำร้ายร่างกาย ลูกอาจวาดรูปเล่นในกระดาษซึ่งเหมือนเป็นภาพของการใช้ความรุนแรง เป็นต้น
6. ลูกมีพฤติกรรมถดถอย เช่น ปัสสาวะราด กัดเล็บอมนิ้ว พูดติดอ่าง พูดเสียงอยู่ในลำคอ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างที่ควรจะเป็น
7. ลูกมีอาการเหม่อลอย ไม่สดใส จากที่เคยร่างเริง แววตาเหม่อลอย เด็กบางคนอาจจะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว โมโหง่าย
หากเกิด 7 สัญญาณเตือนกับลูก ที่เชื่อมโยงกับทั้ง 7 ข้อนี้ ให้สงสัยไว้เลยค่ะว่า ลูกของเรากำลังถูกทำร้าย และล่วงละเมิดอยู่” ซึ่งสิ่งที่ต้องรีบทำอันดับแรก คือการดูแลลูกอย่างใกล้ชิด พร้อมหาวิธีบำบัดจิตใจและร่างกายลูกต่อไป
แนวทางในการสอนลูก เพื่อป้องกันการถูกทำร้าย
เพราะทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง การถูกคนอื่นทำร้าย กลั่นแกล้ง ไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวเราเองลดลงไป คุณพ่อคุณแม่ลองสอนลูกให้รู้จักคุณค่าในตัวเอง และรักตัวเองให้เป็น เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าใครจะทำให้เรารู้สึกด้อยค่ามากแค่ไหน ก็จะไม่สามารถทำอะไรเราได้ ถ้าเรานั้นรู้ตัวอยู่เสมอว่า “เรามีคุณค่ามากพอ”
2. ตั้งคำถามให้คิด เรื่องการรับมือ
ลองสร้างสถาณการณ์จำลองขึ้นมา ตั้งคำถามแก่ลูกว่า หากลูกโดนเพื่อนแกล้ง ลูกจะมีวิธีจัดการอย่างไร นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก แม้ลูกอาจจะยังไม่โดนใครทำร้าย แต่เราสามารถฝึกให้เค้าคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านการตั้งคำถามได้ เช่น หากลูกโดนเพื่อนแกล้ง หากลูกโดนครูทำร้ายร่างกาย จะทำอย่างไร เปิดใจรับฟังคำตอบของลูก พร้อมคอยแนะแนวทางที่ถูกต้อง และถ้าลูกต้องเผชิญหน้ากับปัญหานั้นจริงๆ ลูกจะมีวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม
3. เชื่อใจลูก การเชื่อใจลูก เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเชื่อใจลูก ไม่ด่วนตัดสินลูกก่อน จะช่วยให้ลูกรู้สึกอยากเปิดใจและกล้าระบายปัญหาต่างๆ ที่เขากำลังเผชิญให้เราฟัง ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะตัดสินเด็กจากสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ซึ่งจะทำให้เด็กไม่อยากเล่าความจริงให้ฟัง
4. สอนลูกให้รู้จักระมัดระวังตัว เด็กส่วนใหญ่ไม่อาจจะแก้ปัญหาการโดนรังแกได้ด้วยตัวเอง และมักจะต้องการความช่วยเหลืออยู่เสมอ ดังนั้นคุณจึงควรที่จะสอนลูกให้ได้รู้จักระวังตัวเอง เช่น หากลูกของคุณต้องไปไหนมาไหนคนเดียวในโรงเรียน ควรสอนให้ลูกลองชวนเพื่อนสักคนไปด้วยกัน เป็นต้น
5. ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง มีการสำรวจพบว่า การสอนลูกให้รู้จักป้องกันตนเอง ด้วยความมั่นใจ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้ลูกโดนรังแก การมีความมั่นใจในตัวเอง บวกกับการเรียนศิลปะป้องกันตัว สนใจในงานอดิเรก เล่นกีฬา ฯลฯ เหล่านี้เป็นการแก้ปัญหาที่ดีเยี่ยม ที่ทำให้ลูกของคุณสามารถจัดการกับปัญหาการโดนรังแกของตัวเองได้
ในกรณีการถูกรังแก หรือถูกล่วงละเมิดทางกายหรือทางใจ หากคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังและแนะแนวทางในการเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ลูกอาจต้องเจอ จะช่วยให้ลูกผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆ ในชีวิต ด้วยเกราะป้องกันด้าน ความฉลาดในการเผชิญปัญหา (AQ) ลูกจะสามารถแก้ไขปัญหา แก้ไขสถานการณ์ได้ด้วยตัวเอง ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จซึ่งทำให้ตัวเค้า เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-Esteem) เมื่อสามารถแก้ปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : pregnancybirthbaby.org.au, joinonelove.org, ตามใจนักจิตวิทยา,NooZap Pawornruj
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูกถูกทำร้าย ใจลูกสำคัญ พ่อแม่ควรทำเรื่องนี้..ก่อนสายเกินแก้!!
30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนา ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่?
พ่อแม่ทำร้ายลูก เรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นในสังคม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่