สัญญาณเตือน! ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนสายเกินแก้ - Amarin Baby & Kids
ลูกนอนไม่พอ

สัญญาณเตือน! ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนสายเกินแก้

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกนอนไม่พอ
ลูกนอนไม่พอ

ลูกนอนไม่พอ – การนอนหลับที่ดีมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัยทารก เด็กเล็ก ตลอดจนวัยรุ่น เพราะการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ สามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเติบโตที่มีคุณภาพของเด็กได้ นอกจากนี้การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอของเด็ก ยังเชื่อมโยงกับปัญหาด้านพฤติกรรม โรคอ้วน  และปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ ในฐานะพ่อแม่เราควรแน่ใจ ว่าลูกๆ ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกนอนเพียงพอหรือไม่ ถ้าลูกนอนหลับไม่เพียงพอ จะมีวิธีสังเกตอย่างไร เรามาติดตามกันค่ะ

สัญญาณเตือน! ลูกนอนไม่พอ พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนสายเกินแก้

การสังเกตว่าลูกนอนหลับเพียงพอหรือไม่ สิ่งที่อาจสังเกตได้ง่ายที่สุด คือ  ลูกมีอาการ หาวอย่างต่อเนื่อง หรือ ตาตก  ซึ่งทั้งสองอาการอาจสังเกตได้ง่ายในเด็กเล็ก แต่อาการต่างๆ จะซับซ้อนขึ้นและหลากหลาย เมื่อลูกของคุณโตขึ้น

ลูกนอนไม่พอ
ลูกนอนไม่พอ

โดยสัญญาณเตือนว่าลูกในแต่ละวัยของคุณอาจเข้าข่ายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีดังนี้

เด็กเล็ก (ทารก / เด็กวัยเตาะแตะ)

  • โวยวาย หงุดหงิด ร้องไห้ไม่มีเหตุผล
  • ต้องการพื้นที่ส่วนตัว อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว
  • กระสับกระส่าย
  • มีปัญหาในการแบ่งปันกับพี่น้อง
  • เงียบขรึม
  • ต้องการนอนเล่น หรืองีบหลับระหว่างวัน
  • เผลอหลับระหว่างเล่นของเล่น คล้ายคนหลับใน
  • มีปัญหาในรอบเวลาของการนอน
  • มีอาการกรนเสียงครืดคราด

เด็กวัยประถม

  • สมาธิสั้น หลงๆ ลืมๆ
  • หลับในเวลาที่ไม่เหมาะสม
  • สะดุ้งตื่นในตอนเช้าเป็นประจำ
  • ขาดความสนใจ ความตื่นตัว แรงจูงใจ
  • ง่วงที่โรงเรียนหรือที่บ้านระหว่างทำการบ้าน
  • ต่อต้านเนื้อหาในการเรียน
  • เผลอหลับระหว่างเล่นของเล่น คล้ายคนหลับใน
  • เดินละเมอเป็นครั้งแรก
  • ต้องการงีบหลับเป็นประจำ
  • แสดงอาการกรนเสียงดัง หายใจไม่สะดวก หรือกระสับกระส่ายในตอนกลางคืน
  • มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการถูกแยกออกจากพ่อหรือแม่ทั้งกลางวันและกลางคืน

ลูกนอนไม่พอ

เด็กวัยรุ่น

  • มีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า
  • ไปโรงเรียนสาย จนเป็นปัญหาเรื้อรัง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • มีปัญหาในการจดจ่อ
  • รู้สึกไม่มีแรงกระตุ้น
  • หงุดหงิดเป็นประจำในช่วงบ่าย
  • ง่วงระหว่างวัน
  • สมองไม่เปิดรับวิชาการ
  • ตื่นสายมากในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • สมาธิสั้น หรือ ก้าวร้าว
  • ทำท่าทางประหม่า
  • หมดอาลัยตายอยาก เซื่องซึม

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

นิทานก่อนนอน เล่าให้ลูกฟังทุกคืน ปูพื้นฐานภาษา ฉลาดทั้งไอคิว อีคิว

ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เวลานอนหลับที่เหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง คุณพ่อคุณแม่ควรเช็คว่าลูกสามารถนอนหลับพักผ่อนในระยะเวลาที่เพียงพอกับที่สมองต้องการ ตามที่  สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ระบุไว้หรือไม่ ดังนี้

  •  4 -12 เดือน 12 ถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน (รวมนอนกลางวัน)
  •  1 – 2 ขวบ 11 ถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน (รวมนอนกลางวัน)
  •  3 – 5 ขวบ 10 ถึง 13 ชั่วโมงต่อวัน (รวมนอนกลางวัน)
  •  6 – 12 ปี 9 ถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน
  •  13 – 18 ปี 8 ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน

วิธีช่วยให้ลูกนอนหลับได้เพียงพอ

หากคุณคิดว่าลูกของคุณนอนหลับไม่เพียงพอ อันดับแรก ในเด็กวัยที่สามารถสื่อสารได้พอเข้าใจ  คือ ให้ลองถามถึงคุณภาพในการนอนหลับของลูก เช่น ถามว่านอนอิ่มมั้ยลูก ง่วงมั้ย สะดุ้งตื่นกลางดึกบ้างมั้ย เป็นต้น แต่สำหรับเด็กเล็กอาจตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือ คอยสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หรืออาจตั้งกล้องวงจรปิดในห้องที่ลูกนอน ซึ่งอาจช่วยให้คุณทราบว่าลูกมีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่

หากลูกของคุณมีปัญหาในการนอนหลับให้ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาพักผ่อนได้ดีขึ้น:

  • เลื่อนเวลาเข้านอน  กำหนดเวลาเข้านอนของบุตรหลานให้เร็วขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้นอนหลับเพียงพอ
  • ทำให้เป็นกิจวัตร ทำตามกิจวัตร ก่อนนอน เช่น อาบน้ำแปรงฟัน แล้วอ่านหนังสือ อ่านนิทาน ในช่วงเวลาสั้น ๆ (คนเดียวหรือกับพ่อแม่ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก)  กิจวัตรประจำวัน เหล่านี้สามารถช่วยให้ร่างกายของเด็กรู้สึกเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ
  • หลีกเลี่ยงหน้าจอก่อนนอน แสงจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ภายในสองสามชั่วโมงก่อนนอน สามารถรบกวนจังหวะการทำงานของสมองและอาจทำให้นอนหลับยาก โดยสมองจะโดนหลอกให้คิดว่ามันควรตื่นอยู่
  • สร้างสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่ดี สภาพแวดล้อมการนอนที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ลูกของคุณหลับและหลับสนิทได้ ห้องนอนของลูกคุณควรมืดเพียงพอ โดยอาจมีไฟสลัวๆ เพียงดวงเดียวหากจำเป็น และอุณหภูมิในห้องควรพอเหมาะ ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป
  • ความเงียบสงบสำคัญ  แต่หากต้องเปิดพัดลม อาจมีเสียงรบกวนเบาๆ จากพัดลมได้บ้าง ก็ไม่เป็นไร
  • ไม่มีหน้าจอในห้องนอน ในห้องนอน ควรจะเป็นห้อง สำหรับใช้นอนหลับพักกผ่อน ไม่ควรมี โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต อยู่รอบตัว
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกทานมื้อดึก ทั้งอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มก่อนนอน ควรงดทั้งหมด เพราะอาจรบกวนความสามารถในการนอนหลับของบุตรหลาน นอกจากนี้  ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานสองสามชั่วโมงก่อนนอน เพื่อช่วยให้ลูกพักผ่อนได้ง่ายขึ้น

การนอนหลับที่เพียงพอ คือสิ่งจำเป็นเสมอ สำหรับสุขภาพร่างกายของมนุษย์ทุกคน หากคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกเข้าใจว่าการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ คอยชี้แนะถึงปัญหาว่าถ้าเรานอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลเสียอย่างไรกับสมองและร่างกาย และหากเราทำเป็นกิจวัตรได้ แน่นอนค่ะว่าลูกจะซึบซึมและมีแนวโน้มที่จะเป็น เด็กที่มี ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ได้อย่างแน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : sleep.org,childrens.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อันตรายไหม?ลูก นอนหลับ แล้วทำไมตาปิดไม่สนิทกรอกไปมา

ผลวิทยาศาสตร์ยืนยัน ลูกนอนหลับ มากน้อยมีผลกับสมอง

4 เคล็ดลับ ช่วยลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up