ปราบลูกเกรี้ยวกราด ด้วยบันได 6 ขั้น - amarinbabyandkids
ปราบลูกเกรี้ยวกราด

บันได 6 ขั้น ช่วยพ่อแม่ ปราบลูกเกรี้ยวกราด

Alternative Textaccount_circle
event
ปราบลูกเกรี้ยวกราด
ปราบลูกเกรี้ยวกราด

 4 ข้อเทคนิคปราบลูกดื้อตามคำแนะนำจากนักจิตวิทยา

ดร.ทันยา ไบรอน (Dr.Tanya Byron) นักจิตวิทยา ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

1. ใส่ใจและเพิ่มปริมาณการชื่นชมพฤติกรรมที่ดี ลดการตำหนิติเตียน (ปรับพฤติกรรมเชิงบวกของแม่ด้วย)

เด็กเกือบทุกคนมักจะมีจุดอ่อนอยู่ 2 เรื่อง คือ ต้องการคนชม และต้องการคนสนใจ ถ้าเราสนใจและชมเขาในสิ่งดีที่เขาทำบ่อยๆ ให้มากเท่าที่ทำได้ ทุกครั้งที่ชมจะเป็นเครื่องยืนยันว่า หนูทำถูกต้องแล้ว ทำต่อไปนะแม้แต่เด็กที่ดื้อ ซน ก้าวร้าว พฤติกรรมก็จะดีขึ้นๆ จนกลายเป็นเด็กน่ารักในที่สุด

2. ใช้ท่าทีที่สงบสยบความดึงดัน ให้พ่อแม่เป็นคนยืนยันในสิ่งที่ต้องการ

เด็กดื้อ คือ เด็กที่ยืนยันในสิ่งที่เขาต้องการ แล้วได้ตามต้องการ เด็กซน คือ เด็กที่ยืนยันว่าการเล่นสนุกนั้นทำได้เสมอในทุกที่ เด็กก้าวร้าว คือเด็กที่ยืนยันว่าการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงนั้นได้ผลเสมอ เราปล่อยให้ลูกก้าวร้าวทำร้ายคนอื่นเท่ากับว่าเราทำให้ลูกเรียนรู้ว่า เขาจะทำร้ายใครก็ได้ที่ทำให้ไม่พอใจ

วิธีปราบลูกนั้น ไม้เด็ด คือ ยืนยันอย่างสงบว่าอย่างไรเสียลูกจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ยิ่งเราควบคุมความโกรธได้เท่าไหร่ เรายิ่งควบคุมสถานการณ์ได้ดีเท่านั้น สิ่งสำคัญ คือ ความคิด คำพูด และการกระทำของคุณพ่อคุณแม่นั้นต้องตรงกัน ต้องทำให้ลูกยุติการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้ได้ เช่น เมื่อลูกโมโหไม่ได้ดั่งใจแล้วตีแม่

ความคิด: ลูกตีแม่อย่างนี้ไม่ถูกต้อง จะให้ลูกทำอย่างนี้ไม่ได้ควบคุมอารมณ์ให้ได้  จ้องหน้าลูกแล้วพูดอย่างชัดเจนหนักแน่น

คำพูด: “หยุดนะ ลูกตีแม่ไม่ได้”

การกระทำ : จับมือลูกให้หยุดการตีให้ได้ ทำซ้ำเดิมจนกว่าลูกจะหยุดตี เมื่อลูกหยุด ต้องชื่นชม

หรือดึงมือลูกที่กำลังตีออกแล้วเดินหนีไม่พูดด้วย ห้ามสนใจ อย่ามอง อย่าพูดด้วย เมื่อลูกซนมาก (รักษาระยะห่าง) แล้วลูกก็จะสงบลงเอง

3. การทำกระดานสติ๊กเกอร์

มีการให้คะแนนหรือรางวัล อาจเป็นดาว สติ๊กเกอร์ แต้มสะสมเมื่อลูกทำความดี หรือทำในสิ่งที่ตกลงกันไว้ และยึดแต้มคืนกี่แต้มเมื่อลูกทำผิด

4. เบี่ยงเบนความสนใจ ให้ทำตามคำสั่ง ด้วยวิธีที่สนุก

ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ  ให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน  เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ เช่น หากต้องการให้ลูกเก็บของเล่น ก็ทำใช้วิธีการเกมแบบเป็นเกมแข่งขันใครเก็บเร็วกว่ากันเป็นฝ่ายชนะ หรือหากลูกดื้อดึงไม่ยอมกลับบ้านขณะอยู่ห่าง คุณแม่ต้องใช้วิธีวิ่งเล่นเพื่อเบี่ยงเบนอาการร้องงอแงไม่อยากกลับ แต่หากลูกยังไม่ยอมฟังก็ให้ใช้วิธีเพิกเฉยดังเช่นข้อที่ 2

อ่านเทคนิคปราบลูกดื้อต่อได้ที่ คลิก >> 4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)

 

การเลี้ยงลูกหากเข้าใจพัฒนาการ อารมณ์ พฤติกรรมของลูกในแต่ละช่งวัย ก็จะช่วยให้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจกันมากขึ้น และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะสามารถแก้ไขได้ไม่ยากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใคลิก

สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!
ชมคลิปนักจิตวิทยาต่างประเทศแนะ! วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ ตอน “หนูเป็นใหญ่ในบ้าน”

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1พญ.สาริณี.newmomguidebook
2 ผศ.ดร. ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาฟื้นฟูสำหรับเด็กพิเศษ โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพธุรกิจ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up