ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง?
1.ลดหย่อนภาษีส่วนตัว
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท เมื่อยื่นแบบแสดงรายการก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนี้ได้ทันที
- ค่าใช้จ่ายคู่สมรส 60,000 บาท (ไม่มีรายได้) ใช้ได้ในกรณีคู่สมรสจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
- ค่าเลี้ยงดูบุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ 2561 เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท)
- ค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตรตามที่จ่ายจริง สูงสุดท้องละไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท หากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อ คุณแม่อายุมากกว่า 60 ปี
2.ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ
- ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีพ่อแม่ที่ไม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) ตามที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษี 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 200,000 บาท
3.ลดหย่อนภาษีการลงทุน
- กองทุนรวมระยะยาว (LTF) ซึ่งปีนี้เป็นปีสุดท้าย สามารถลดหย่อนได้ตามมาตรการของรัฐ เน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี สำหรับการซื้อตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ลงทุนไว้ในสินทรัพย์หลายประเภท ใช้ในการวางแผนเกษียณ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่มีเงื่อนไขคือ
- ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี)
- ต้องซื้อขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท
- ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 500,000 บาท สามารถเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดกับนายจ้าง
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
- เงินประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
หมายเหตุ: ยอดรวมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4.ลดหย่อนภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ
- การท่องเที่ยว แบ่งเป็น เที่ยวเมืองหลัก 15,000 บาท เที่ยวเมืองรอง 20,000 บาท รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 30 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562 เฉพาะค่าทัวร์ และที่พัก
- การใช้จ่าย ได้แก่
- ค่าลดหย่อนซื้อสินค้า OTOP 15,000 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562
- ค่าลดหย่อนซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา 15,000 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2562
- ค่าลดหย่อนซื้อหนังสือหรืออีบุ๊ค 15,000 บาท
- ค่าลดหย่อนช็อปช่วยชาติ 15,000 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2562
5.ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก
ลดหย่อนซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรก ไม่เกิน 200,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท ซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ภายในช่วง 30 เมษายน – 31 ธันวาคม 2562 สามารถลดหย่อนภาษี ปี 2562 ปีเดียวเต็มจำนวน
6.ลดหย่อนภาษีการบริจาค
- บริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ จะได้ลดหย่อน 2 เท่าของเงินบริจาคแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- บริจาคแก่พรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่บริจาคแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ทราบแล้วว่าอะไรบ้างที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ก็เตรียมความพร้อม และวางแผนกันให้ดี เพราะจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยเลยค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
ฝากเงินให้ลูก เทียบเงินฝากปลอดภาษี ธนาคารไหนดอกเบี้ยสูง?
ได้เพิ่มอีก 60,000! ลดหย่อนภาษีลูกคนที่ 2 มีผลบังคับใช้แล้ว!
แม่เฮ! คลังออกกฎ ยกเว้นภาษี ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร
รวม 5 สิทธิประโยชน์ ลดหย่อนภาษี คู่สมรส
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่