6. ของเล่นที่ดี
เลือกของเล่นที่เหมาะกับวัยและช่วยให้ลูกจดจ่อให้การเล่นได้นาน เช่น จิ๊กซอว์ เลโก้ ร้อยเชือก บล็อกไม้ ฝึกให้ลูกเล่นของเล่นทีละอย่างจะช่วยให้ลูกมีสมาธิกับการเล่นได้นานขึ้น
7. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
ขณะที่เด็กฟังนิทาน ลูกได้มีโอกาสฝึกการใช้ประสาทสัมผัส การมองสีหน้า ท่าทางของพ่อแม่ขณะเล่า ฝึก ประสาททาง หู ในการฟัง และปากในการพูดตาม รวมทั้งการใช้สมาธิจดจ่อในเรื่องราวที่พ่อแม่เล่า ซึ่งเด็กจะจดจำเรื่องราวเหล่านี้ไว้อย่างไม่น่าเชื่อ
8. ฝึกวินัย
การฝึกวินัย และความเป็นระเบียบในการดำเนินชีวิต เช่น จัดตารางกิจวัตรในบ้านให้ชัดเจน ว่าเวลาไหนควรทำอะไรบ้าง จะช่วยให้เด็กทำอะไรเป็นระบบ ขั้นตอน และทำอะไรอย่างไม่เร่งรีบเกินไป ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างสมาธิทั้งสิ้น
บทความแนะนำ คลิก >> พ่อแม่คือคนสำคัญที่ส่งเสริมการเล่นให้ลูก
9. ฝึกเพิ่มสมาธิ
ฝึกการเพิ่มสมาธิให้ลูกอย่างเป็นระบบ ตัดสินใจให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ให้นานขึ้นตามลำดับ เช่น เริ่มจากการติดกระดุมจากครั้งแรกได้เม็ดเดียว ก็ค่อยเพิ่มเป็น 5 เม็ด การค่อยๆ เพิ่มงานที่ยากขึ้น หรือต้องใช้เวลาทำนานขึ้น หรืองานที่ต้องใช้ความละเอียดเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับเป็นการฝึกสมาธิที่นานขึ้นเช่นกัน และเมื่อเด็กทำให้ได้คำชม พึงระวัง ไม่ตำหนิ และใช้อารมณ์กับลูก เพราะเด็กจะขาดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้
10. สนับสนุนสิ่งที่เด็กชอบ
หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกเริ่มสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องแมลง เรื่องไดโนเสาร์ พ่อแม่ควรกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น ด้วยการตั้งคำถามและข้อสงสัย แล้วท้าทายให้เด็กแสวงหาคำตอบ เช่น ค้นคว้าจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต พาไปศึกษารายละเอียดตามพิพิทธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สมาธิจดจ่อในการศึกษาเรื่องที่สนใจยาวนานขึ้นได้[1]
นอกจากการส่งเสริมเรื่องสมาธิให้ลูกทั้ง 10 วิธีนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มฝึกให้ลูกลองนั่งสมาธิ และสวดมนต์สั้นๆ เมื่อลูกอยู่ในวัยที่พร้อม อย่างช่วงปฐมต้นก็สามารถเริ่มให้ลูกนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์สั้นๆ ที่ห้องพระกับพ่อแม่ ย่ายาย หรือเวลาพาไปทำบุญที่วัด ก็อาจชวนลูกสวดมนต์ และนั่งสมาธิสัก 5-10 นาที การฝึกให้ลูกทีละเล็กละน้อยจะช่วยให้ลูกค่อยๆ ซึมซับ และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอกให้ทำค่ะ
อ่านต่อ ประโยชน์ของการนั่งสมาธิและสวดมนต์ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่