สำหรับวิธีป้องกัน และ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวก่อนว่า.. จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ผู้ใหญ่มากกว่า 23% และวัยรุ่นมากกว่า 80% มีกิจกรรมทางกายภาพที่ไม่เพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งมากเกินไป
ซึ่งกรมสุขภาพจิตจึงขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ ให้ลองปฏิบัติตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดที่ออกประกาศใช้ โดยมุ่งเน้นการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของลูกน้อย เช่น การนั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไร ,การนั่งติดกับสายรัดในรถเข็นเด็ก หรือการนั่งดูโทรทัศน์ หรือ เครื่องมือสื่อสารที่มีหน้าจอประเภทต่างๆ
โดยควรเพิ่มพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องระหว่างช่วงเวลาที่ลูกตื่น พร้อมเน้นเรื่องการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ และการควบคุมเวลาหน้าจออย่างเข้มงวด เพื่อพัฒนาการทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของลูกน้อย
“นั่งให้น้อย เล่นให้มาก ปราศจากหน้าจอ” หลักง่ายๆ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ
ทั้งนี้ทางอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังกล่าวต่อว่า…
- ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรมีกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหลายครั้งต่อวัน โดยเฉพาะการเล่นบนพื้น หากยังเคลื่อนไหวได้ไม่ดี ควรมีการนอนคว่ำแบบตะแคงหน้าอย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีหลายครั้งต่อวัน ในช่วงเวลาที่ตื่น ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆหรือล็อคติดกับรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง นอนหลับรวม 14-17 ชั่วโมง ในเด็ก 0-3 เดือน และ 12-16 ชั่วโมง ในเด็ก 4-11 เดือน ไม่ควรใช้หน้าจออย่างเด็ดขาดทั้งโทรทัศน์และเครื่องมืออิเล็คโทรนิกประเภทต่างๆ
- สำหรับในเด็กอายุ 1-2 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวันหรือมากกว่า ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆ หรือ ล็อคติดกับเก้าอี้หรือรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรนอนหลับรวม 11-14 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรใช้หน้าจออย่างเด็ดขาดในเด็กอายุ 1 ปี สำหรับในเด็กอายุ 2 ปี ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยยิ่งใช้เวลาหน้าจอน้อยยิ่งส่งผลดีต่อเด็ก
- และในเด็กอายุ 3-4 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวันหรือมากกว่า โดยเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานอย่างมากนานไม่ต่ำกว่า 60 นาที ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆ หรือล็อคติดกับเก้าอี้หรือรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรนอนหลับรวม 10-13 ชั่วโมงต่อวัน ตลอดจนควรจำกัดเวลาหน้าจอไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยยิ่งใช้เวลาหน้าจอน้อยยิ่งส่งผลดีต่อเด็ก
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต
ดังนั้นจากตารางเวลา ของวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ข้างต้น สิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ทำได้ คือ ควรชักชวนให้ลูกเล่นมากขึ้น แทนการอยู่หน้าจอ เพราะการเล่นของเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ ควรเน้นการส่งเสริมกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น อ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ฟัง เล่นบทบาทสมมติโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว เล่นต่อเพลงหรือต่อนิทานคนละประโยค เล่นของเล่นอย่างอิสระ หรือออกไปสัมผัสธรรมชาติภายนอก
นอกจากนี้ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต ตั้งคำถาม และพ่อแม่ต้องคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ ภายใต้บรรยากาศอันอบอุ่นและปลอดภัยของครอบครัว ทั้งนี้การส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดี ควรทำตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมติดตัวที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเมื่อโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสติที่ดี มีความสุขในอนาคต
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
- ป้องกันลูกติดมือถือ สไตล์คุณพ่อลูกสอง เต๋า สมชาย
- ต้นเหตุลูกพูดช้า เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต ประสบการณ์จากคุณแม่
- กุมารแพทย์แนะ“งด” เลี้ยงลูกด้วยมือถือ และจอทุกชนิดในเด็ก 2 ขวบปีแรก
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมสุขภาพจิต ,themomentum.co ,www.winnews.tv ,www.brainfit.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่