ลูกชอบมองเพดาน – คุณแม่ลูกอ่อนหลายคนอาจเคยสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณ ชอบจ้องมองเพดานอยู่บ่อยๆ พร้อมกับทำท่าทางแปลกๆ ที่ดูน่าขนลุก เหมือนกับว่าลูกของคุณกำลังสื่อสารอยู่กับอะไรบางอย่างจนแอบคิดไม่ได้ว่าพวกเขาเห็นอะไรบนนั้น เพราะหากเป็นความเชื่อโบราณ คนเฒ่าคนแก่จะบอกว่าเด็กกำลังคุยเล่นกับแม่ซื้อหรือเทพประจำตัวเด็ก
ลูกชอบมองเพดาน หัวเราะคนเดียว ทำท่าทางแปลกๆ ผิดปกติไหม?
หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยๆ คุณไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกจนเกินไป จำไว้ว่า โลกที่ทารกสัมผัสอยู่เป็นโลกที่แปลกใหม่ พวกเขาต้องปรับตัวในการอาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วย แสง สี เสียง การเคลื่อนไหวและการกระตุ้นต่างๆ ทารกมีหลายอย่างที่ต้องทำ สมองของพวกเขากำลังพัฒนา และซึมซับสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อประมวลผลสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่ใช่ในท้องแม่อีกต่อไป เหตุผลหลักที่ทารกมักจ้องมองบางสิ่งบางอย่าง คือ สมองของพวกเขากำลังพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแม้แต่เรื่องง่ายๆ ก็สามารถดึงดูดใจลูกน้อยของคุณได้
การมองเห็นของทารกอยู่ในช่วงพัฒนาระยะการโฟกัส ในขณะเดียวกันพวกเขาจะเริ่มคุ้นเคยกับสัญญาณภาพและเสียงที่แสดงถึงความปลอดภัย การเลี้ยงดูจากพ่อแม่และการสัมผัส ดังนั้นหากทารกแรกเกิดชอบจ้องมองเพดานจึงเป็นเรื่องที่ปกติมาก
ทารกแรกเกิดสามารถมองเห็นได้ในระยะเพียง 6 ถึง 9 นิ้ว เมื่อพูดถึงเพดานอาจมีความแตกต่างบางอย่างที่พวกเขาสนใจ เช่น โคมไฟ หรือเงา ทารกแรกเกิด มักถูกดึงดูดสายตา และความสนใจด้วยวัตถุที่มีความแตกต่างหรือตัดกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่พวกเขาจะมองออกไปดูวิวที่นอกหน้าต่าง พวกเขาจะจ้องบริเวณที่หน้าต่างบรรจบกับกรอบที่แสงมาบรรจบกับความมืดแทน
วิสัยทัศน์และการมองเห็นของทารก
เพื่อที่จะรู้ว่าทำไมทารกถึงชอบจ้องมอง ต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ของพวกเขาก่อน ด้านล่างนี้คือประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับพัฒนาการของดวงตาและการมองเห็นของทารก
- ดวงตาทารกแรกเกิดค่อนข้างไวต่อแสง รูม่านตามีขนาดเล็กมากเมื่อโดนแสงจ้า
- ทารกไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลออกไปได้อย่างชัดเจน เนื่องจากวิสัยทัศน์ของพวกเขายังคงพัฒนาอยู่
- ในช่วง 2 เดือนแรก ดวงตาของทารกอาจดูไขว้เขว หรืออาจดูเหม่อลอยไปด้านข้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าตาข้างหนึ่งหันเข้าหรือออกด้านนอกอย่างต่อเนื่อง (ไปทางจมูกหรือออกนอกจมูกตามลำดับ) ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์
- เมื่ออายุได้ 3 เดือน ทารกจะสามารถโฟกัสไปที่วัตถุที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 8 ถึง 12 นิ้วได้ดี พวกเขาสามารถมองเข้าไปในดวงตาของแม่หรือพ่อได้หากคุณอยู่ใกล้พวกเขา ส่วนสิ่งใดที่อยู่ไกลกว่านั้นจะหลุดโฟกัสและเบลอ
- เมื่ออายุได้ประมาณห้าเดือน ทารกจะพัฒนาความสามารถในการมองเห็นว่าวัตถุแต่ละชิ้นอยู่ห่างกันมากเพียงใด (การรับรู้เชิงลึก) พวกเขาจะเอื้อมมือออกไปหาสิ่งของได้ดีขึ้น พวกเขาอาจเริ่มมองเห็นสี แต่ยังไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากการมองเห็นและการประมวลผลยังพัฒนาไม่เต็มที่
โดยปกติแล้วเด็กทารกมักจะนอนหงาย ดังนั้นการเพ่งมองไปด้านบนเพื่อสำรวจพื้นผิวเพดาน หรือไฟบางดวงอาจเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจสำหรับพวกเขา เจ้าตัวเล็กของคุณ เพิ่งจะเริ่มเชื่อมโยงกับทุกสิ่งที่เขาเห็น หากคุณสามารถปรับสิ่งที่เขาสนใจได้ คุณจะสามารถเข้าใจปฏิกิริยาของลูกได้ชำนาญมากขึ้น ยิ่งคุณเล่นกับลูกน้อยและมีส่วนร่วมกับลูกมากเท่าไหร่ สมองของพวกเขาก็จะพัฒนาได้ดีขึ้นเท่านั้น ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณมองโลกผ่านวิสัยทัศน์ที่น่าตื่นตาตื่นใจของลูก และช่วยพัฒนาสมองของพวกเขา
- เคลื่อนไหววัตถุให้มองตาม ทารกมักสนใจสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหว วิธีนี้จะช่วยให้เขาระบุวัตถุที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกของเขาได้ เมื่อเขาเข้าใจความสามารถในการจดจำวัตถุแล้ว เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ว่าเขามีพลังที่จะเปลี่ยนวิธีการเคลื่อนที่ของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เขาจะรู้ว่าเขาสามารถใช้มือ (หรือเท้าของเขา) เพื่อทำท่าเต้นแบบเคลื่อนที่ได้ (ซึ่งเป็นตัวชี้นำเพื่อยกระดับมือถือให้สูงขึ้น!)
- ให้ความคมชัด ความเปรียบต่างหรือสีสันที่ตัดกัน สามารถดึงดูดใจเด็กทารกได้เป็นอย่างดี ลองนึกถึงสีที่ตัดกันสองสีที่อยู่เคียงข้างกัน หรือแม้แต่โครงร่างที่ตัดกัน เช่น จุดที่ขอบโต๊ะมาบรรจบกับพื้นผิวของผนัง ทั้งสองสิ่งนี้สามารถดึงดูดความสนใจของลูกน้อยและทำให้พวกเขาจ้องมองได้อย่างตั้งใจ เนื่องจากดวงตาของทารกถูกดึงดูดด้วยความแตกต่าง หากมีสีที่ตัดกันสองสีอยู่เคียงข้างกัน ดวงตาของลูกคุณจะถูกดึงดูดเข้าหาสีนั้นได้เป็นเวลานาน
- หาสิ่งที่แปลกใหม่ให้ลูกมอง คุณเคยสังเกตว่าลูกน้อยของคุณจ้องมองหนวดหรือแว่นตาของคนแปลกหน้าหรือไม่? พฤติกรรมนี้เป็นเพราะพวกเขาไม่เคยเห็นหน้าคนที่มีลักษณะนี้มาก่อน ทารกมักจ้องมองวัตถุบางอย่างเป็เวลานานหากสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับพวกเขา
- สังเกตสัญญาณทางกายของลูก สิ่งที่น่าสนุกสำหรับทารกคนหนึ่งอาจไม่สนุกสำหรับอีกคนหนึ่ง สมมติว่าคุณให้ลูกดูของเล่นสีสันสวยงามที่มีเสียงเพลงในเปลของลูก ลองใช้เวลาสักครู่เพื่อสังเกตการตอบสนองของลูก หากลูกเบือนหน้าหนีหรือพยายามหันเหความสนใจหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง นั่นเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาปิดรับเสียงและการเคลื่อนไหวต่างๆ แล้ว หรือบางทีลูกของคุณอาจต้องการมุมมองใหม่ที่ต่างไปจากเดิม
พ่อแม่ควรกังวลเมื่อใด
เมื่อลูกมีพฤติกรรมชอบจ้องมองเพดาน แล้วพูดคนเดียวหรือทำท่าทางแปลกๆ คุณแม่คุณพ่อหลายคน มักจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องออทิสติก เนื่องจากในโลกโซเชียลมีเดีย หรือ อินเทอร์เน็ต มีหัวข้อเหล่านี้ให้ค้นคว้าจำนวนมาก ทางที่ดีควรตรวจสอบกับกุมารแพทย์ที่รู้ประวัติของลูกคุณพวกเขาจะสามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี ตรวจสอบกับกุมารแพทย์ทันทีหากคุณสงสัยว่าอาจมีบางสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณ ทารกที่มีการเคลื่อนไหวของดวงตาที่ดูผิดปกติ หรือไม่เคยสบตา เป็นไปได้ว่าทารกอาจมีความสามารถในการมองเห็นที่แย่ ซึ่งคุณไม่ควรกังวลว่าลูกน้อยของคุณจะมีปัญหาเหล่านี้ เพียงเพราะพวกเขาสนใจในการจ้องมองเพดาน
หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูติดเชื้อในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กถ้าลูกป่วย!
ระวัง! 3 อันตรายจากแสงสีฟ้า ทำร้ายตาลูกไม่รู้ตัว
การมองเห็นของทารก พัฒนาการที่พ่อเเม่ควรรู้
วิธีสังเกตอาการออทิสติกของทารกในเบื้องต้น
ต่อไปนี้คือข้อสังเกตบางอย่างที่อาจช่วยให้ผู้ปกครองทราบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมปกติที่เหมาะสมกับวัยของลูกและและสัญญาณเริ่มต้นของออทิสติกที่ควรได้รับการรักษา
อายุ 12 เดือน
เด็กที่มีพัฒนาการตามแบบฉบับจะหันศีรษะเมื่อได้ยินชื่อ เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ASD อาจไม่หันมามอง แม้จะซ้ำชื่อหลายครั้งแล้ว แต่จะตอบสนองต่อเสียงอื่นๆ
อายุ 18 เดือน
เด็กที่มีทักษะปกติการหากพูดช้า จะชี้ ทำท่าทาง หรือใช้การแสดงออกทางสีหน้า เพื่อชดเชยการพูด เด็กที่เป็นออทิสติก อาจไม่พยายามชดเชยคำพูดที่ล่าช้าหรืออาจจำกัดการพูดให้พูดซ้ำในสิ่งที่พวกเขาได้ยินทางทีวีหรือสิ่งที่พวกเขาเพิ่งได้ยิน
อายุ 24 เดือน
เด็กที่มีพัฒนาการตามแบบฉบับจะนำภาพมาอวดแม่และแบ่งปันความสุขกับเธอ เด็กที่เป็นออทิสติก อาจนำขวดนมของแม่มาเปิด แต่พวกเขาไม่มองหน้าแม่เมื่อทำหรือแบ่งปันความสุขในการเล่นด้วยกัน
ข้อสังเกตที่ควรคำนึงถึง คือ หากทารกจะจ้องมองเพดานหลังจากผ่านไปประมาณ 12 ถึง 16 สัปดาห์ และคุณรู้สึกว่าไม่สามารถดึงความสนใจของทารกออกจากเพดานได้ แม้ในระยะเวลาสั้นๆ เป็นไปได้ว่า อาจมีอย่างอื่นเกิดขึ้น ถ้าพวกเขาไม่รู้จักใบหน้าที่ซ้ำซากเหมือนพ่อกับแม่ อาจถึงเวลาปรึกษากับกุมารแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยอาการผิดปกติบางอย่าง
ดร.แมรี โคห์น กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคโลราโด กล่าวว่า ความแตกต่างของอายุ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงหากคุณกังวล เนื่องจากทารกมีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การจ้องมองที่เพดานเป็นเรื่องปกติมากสำหรับทารกแรกเกิดก็จริง แต่อาจไม่ปกติสำหรับทารกที่มีอายุ เกินกว่า 18 เดือน หรือ หนึ่งขวบครึ่ง เป็นต้นไป
สุขภาพของดวงตา ตลอดจนพัฒนาการในการมองเห็นของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม หากเกิดความผิดปกติใด ควรหาทางแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งในปัจจุบันที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากมาย ที่คอยล่อตาล่อใจเด็กๆวัยอยากรู้อยากเห็น ก็มีโอกาสทำให้สายตาของเด็กเกิดปัญหาก่อนวัยอันควรได้ ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้เด็กเล็กๆ อยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ แทปเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน เมื่อเด็กๆ เติบโตพอที่จะเข้าใจในเหตุและผลต่างๆ เราควรปลูกฝังให้ลูกๆ ได้รู้ถึงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการใช้สายตา วิธีการถนอม และดูแลดวงตา การทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงระบบต่างๆ ของร่างกาย และสายตาให้ทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งนอกจากจะป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาของลูกแล้วยังเป็นการเสริมสร้างทักษะความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) ได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : momjunction.com , healthychildren.org , kindercare.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา
10 ปัญหา โรคตาเด็ก ที่พบได้บ่อย พร้อมวิธีรักษา
รู้จักและเข้าใจ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม ภาวะพัฒนาการบกพร่องในเด็ก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่