ลูกพูดมาก – การเลี้ยงเด็กอายุ 3 ขวบหรือ 4 ขวบ โดยเฉพาะเด็กที่พูดเก่ง อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะในแต่ละวันเด็กๆ วัยนี้มักจะพูดได้ไม่รู้จักเหนื่อย พร้อมที่จะถามคำถามมากมาย เพื่อให้พ่อแม่หาคำตอบ เมื่อลืมตาตื่นนอนในตอนเช้า ก็จะเริ่มปล่อยคำพูดต่างๆ นานๆ ออกมาจากปากพวกเขาอย่างไม่หยุดหย่อน เช่นเล่านู่นเล่านี่ ถามคำถามคนรอบข้างได้ไม่รู้จบ
โดยปกติแล้ว การถามคำถาม “อะไร” “ทำไม” ตลอดทั้งวัน ถือเป็น พฤติกรรมปกติสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 4 ขวบ ค่ะ เด็กหลายคนอาจพูดมากหากพวกเขารู้สึกตื่นเต้นกับบางสิ่ง จนปล่อยทุกความคิดในหัวออกมาเป็นคำพูดที่ไม่สิ้นสุด
นอกจากนี้ การพูดคุยกับพ่อแม่ หรือพูดกับตัวเองเป็นวิธีหนึ่งที่เด็กๆ ใช้เรียนรู้ ประมวลผล และซึมซับข้อมูล เพื่อกระตุ้นพัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก เมื่อโตขึ้น เด็กๆ จะค่อยๆ ปรับความเหมาะสมในการพูดได้ด้วยตัวเอง
พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็ก
แรกเกิดถึง 5 เดือน เปล่งเสียงความยินดีและไม่พอใจต่างกันออกไป (หัวเราะ หัวเราะคิกคัก ร้องไห้ หรือเอะอะ) ส่งเสียงดังเวลาคุยกับ
6-11 เดือน เข้าใจคำว่า “ไม่” พยายามสื่อสารด้วยการกระทำหรือท่าทาง พยายามทำซ้ำเสียงเลียนแบบพ่อแม่ และมักเริ่มพูดคำแรกที่มีความหมายได้
1 ถึง 2 ขวบ ตอบคำถามง่ายๆ ได้ โดยไม่ใช้คำพูด พูด 2 ถึง 3 คำเพื่อเรียกชื่อบุคคลหรือวัตถุแต่การออกเสียงอาจไม่ชัดเจน พยายามเลียนแบบคำง่าย ๆ และ สามารถทำเสียงเลียนสัตว์ต่างๆ ได้ เช่น อู๊ดๆ เจี๊ยกๆ เด็กจะเริ่มพูดมากกว่าพยางค์เดียว เช่น “เอานมเยอะ” และ เริ่มใช้สรรพนาม เช่น “ของฉัน”
2 ถึง 3 ปี เด็กจะเริ่มรู้แนวคิดเชิงพื้นที่บางอย่าง เช่น “ข้างใน ข้างนอก” หรือ “เปิด ปิด” และรู้จักการใช้สรรพนาม เช่น “คุณพ่อ” “คุณแม่” รู้คำที่ใช้พรรณนาถึงสิ่งต่าง เช่น “ใหญ่” หรือ “กลม” และสามารถตอบคำถามง่าย ๆ ได้ เริ่มรู้จักการปฏิเสธด้วยคำว่า ” ไม่” เพราะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง
3 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้ จะสามารถพูดจัดกลุ่มสิ่งของต่างๆ ได้ เช่น อาหาร หรือ เสื้อผ้า ระบุสี เริ่มใช้สรรพนามได้มากขึ้น สามารถอธิบายการใช้สิ่งของ เช่น “ส้อม” หรือ “หวี” และจะเริ่มสนุกกับการใช้ภาษา ชอบเล่าเรื่องราวจากจินตนาการ มักเริ่มพูดมาก และชอบถามคำถาม อะไร ทำไม เป็นวัยที่ต้องการคำตอบในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ
4 ถึง 5 ปี วัยนี้เด็กจะเข้าใจแนวคิดเชิงพื้นที่ เช่น “ข้างหลัง” หรือ ” ข้าง ๆ” เข้าใจคำถามที่ซับซ้อน พูดเป็นประโยคได้ แต่การพูดออกเสียงคำยาวๆ หรือซับซ้อน อาจจะยังทำได้ไม่ดีนัก นอกจากนี้จะเริ่มพูดอวดความสามารถของตัวเอง เช่น กินข้าวเก่ง หรือ ฉีดยาเจ็บแต่ไม่ร้องไห้ด้วย เป็นต้น
5 ปี + เข้าใจลำดับเวลา เช่น เกิดอะไรขึ้นก่อน สอง หรือสาม มีส่วนร่วมในการสนทนามากขึ้น รู้จักการฟัง รอโอกาสและจังหว่ะในการพูด พูดเป็นประโยคได้อย่างสมบูรณ์ เริ่มใช้ประโยคที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น และสามารถอธิบายเกี่ยววัตถุต่างๆ ได้ดี ตลอดจนใช้จินตนาการสร้างเรื่องราวเพื่อบอกเล่าได้ดี
ทำไมลูกพูดไม่หยุด ลูกพูดมาก เป็นเพราะอะไร ควรกังวลไหม
นอกจากที่การพูดมากจะเป็นพัฒนาการตามปกติของเด็กโดยเฉพาะช่วง 3- 4 ขวบแล้ว ยังมีอีกหลายเหตุผล ที่ทำให้เด็กวยนี้พูดมาก เช่น พวกเขาอาจแค่กำลังหลงใหลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และต้องการบรรยายทุกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น นอกจากนี้ เด็กๆ อาจพูดไม่หยุด ถ้าพวกเขารู้สึกเครียดเพราะยังไม่รู้วิธีในการสงบสติอารมณ์ เด็กขี้อายอาจกังวลในสถานการณ์ทางสังคมแต่แทนที่จะนิ่งเงียบ พวกเขาอาจจะพูดมากขึ้น เด็กบางคนมีปัญหากับทักษะการเข้าสังคมโดยทั่วไปพวกเขามีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการรับรู้สัญญาณทางสังคม เช่น ภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้า ดังนั้นพวกเขาจึงอาจไม่สังเกตว่าคนอื่นมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคำพูดของพวกเขา
ตัวอย่างปัญหาที่เกิดจากการพูดมากของเด็ก
- พูดในเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
- พูดขัดจังหวะคุณครูที่โรงเรียน
- คนอื่นพูดยังไม่จบแต่พูดแทรกขึ้นมา
- ทำให้คนอื่นไม่พอใจหรือรู้สึกรำคาญ
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เมื่อลูกพูดมาก
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องระวังคือ อย่าหงุดหงิดหรือโมโหใส่ลูก เพราะลูกกำลังอยู่ในช่วงที่สนุกกับการพูดการใช้ภาษา ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการตามปกติ แต่หากในกรณีที่เห็นว่า ถึงวัยที่ลูกสมควรจัดการกับการพฤติกรรมพูดของตัวเองได้แล้ว แต่ยังมีปัญหาด้านการสนทนา พ่อแม่ควรอธิบายให้เด็ก ๆ ได้รับทราบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้น
การส่งเสริมให้บุตรหลานของเราเห็นว่าสิ่งต่างๆ ส่งผลกระทบบุคคลอื่นอย่างไรจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการพูดของเด็กไปในทางที่ดีขึ้นได้ เมื่ออายุประมาณได้ประมาณห้าหรือหกขวบ ให้ลองถามพวกเขา เช่น “ลูกสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับน้องชายของลูกมั้ย น้องต้องการพูดกับลูกด้วยหรือเปล่า? ” กระตุ้นให้พวกเขาพิจารณาว่า “คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เมื่อเราพูดตลอดเวลา และดูเหมือนไม่สนใจฟังใคร”
นอกจากนี้ควรยกย่องเด็ก ๆ ในลักษณะที่ช่วยสร้างความนับถือตนเอง ชี้ให้เห็นเมื่อพวกเขาสามารถควบคุมการพูดของตัวเองได้ ยิ่งคุณแสดงคำชมได้เฉพาะเจาะจงมากเท่าไร เด็กๆ ก็จะยิ่งมีแรงบันดาลใจในการปรับปรุงพฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้น
ลูกมีเพื่อนทิพย์! เพื่อนในจินตนาการ ชอบพูดคนเดียวปกติไหม?
เทคนิค การพูดกับลูก วัยทารก แม่ต้องพูดยังไง เน้นอะไรดี?
นี่แหละโลกที่ลูกรู้ การเรียนรู้ของลูก วัยทารกถึงก่อนวัยเรียน
ลูกพูดมากเกินไป อาจเป็นสมาธิสั้นได้หรือเปล่า ?
แม้การพูดมากในเด็กวัย 3 – 4 ขวบจะเป็นพัฒนาการปกติของเด็ก แต่การพูดมากเกินไป บวกกับการแสดงท่าทีบางอย่างของเด็ก อาจเป็นอาการที่บ่งบอกว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กกลุ่มนี้มักปัญหาในการยับยั้งชั่งใจ และควบคุมการตอบสนองของตัวเอง ซึ่งรวมถึงการพูด พวกเขาอาจพูดโพล่งออกมาในสิ่งแรกที่นึกถึง (ไม่ว่าจะเหมาะสมหรือไม่ก็ตาม) โดยไม่ได้คิดว่าจะส่งผลกระทบตามมาอย่างไร
เด็ก (และผู้ใหญ่) ที่มีสมาธิสั้นอาจมีการผูกขาดการสนทนาและพูดคุยมากเกินไป การพูดมากเกินไปอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ผู้ปกครอง และครู โดยทั่วไป เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มักชอบ ฮัมเสียงต่างๆ เคลื่อนไหวไปมาไม่หยุด กระสับกระส่าย หุ่นหันพลันแล่น
โดยปกติแล้ว เมื่ออายุได้ 5 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มเรียนรู้ และเข้าใจว่าการสนทนามีองค์ประกอบของการให้และรับ และพวกเขาควรรอจังหวะที่พวกเขาจะพูดสิ่งที่อยู่ในใจ อย่างไรก็ตามหากย่างเข้า อายุ 7 -8 ขวบ แต่เด็กยังไม่เข้าใจในเรื่องการให้และรับในการสนทนา และยังมีลักษณะของการพูดมากที่ไม่มีทีท่าจะดีขึ้น อาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งหากเกิดกรณีเช่นนี้ พ่อแม่ควรหาโอกาสปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ถึงความผิดปกติของลูกที่อาจเกิดขึ้น
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : understood.org , stanfordchildrens.org , verywellmind.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 ความเข้าใจผิดเมื่อ ลูกไม่พูด..พูดช้า และ 6 วิธีฝึกลูกพูด
วิธีพูดกับลูกด้วย ภาษาเด็กเล็ก ช่วยลูกพูดไว สื่อสารได้เร็ว!
ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพูดช้า ผิดปกติ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่