หมอจุฬาเตือน 5 โรคผิวหนัง ในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง! - amarinbabyandkids
โรคผิวหนัง

หมอจุฬาเตือน! 5 โรคผิวหนังในเด็ก ต้องระวังช่วงหน้าหนาว

event
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนัง

โรคผิวหนัง สำหรับลูกน้อย อาจเกิดขึ้นได้ทุกฤดู ซึ่งในช่วงที่อากาศเย็นลง หรือมีอากาศแห้งๆ หากลูกบ้านไหนภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ ก็อาจเจอเชื้อไวรัสทำให้ป่วยได้ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับผิวหนัง ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องใส่ใจดูแลลูกน้อยเป็นพิเศษมาดูกันเลยค่ะ

สำหรับสภาพอากาศเมืองร้อนอย่างบ้านเรา เมื่อลมหนาวมาเยือนทีไร ทุกคนก็ต่างพากันดีอกดีใจยกใหญ่ แต่ก็อาจไม่ใช่บ้านที่มีลูกน้อย ซึ่งพ่อแม่มักมีปัญหากวนใจที่มาพร้อมกับอากาศแห้ง ๆ ในช่วงฤดูหนาวโดยไม่ทันได้ระวังกัน ซึ่งก็คือ โรคผิวหนัง นั่นเอง

โรคผิวหนัง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีด้วยกันหลายโรคแบ่งออกเป็น 2 จำพวกได้แก่ DNA และ RNA ไวรัสซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน ไข้สุกใส เป็นต้น ซึ่ง โรคผิวหนัง นี้ ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ออกมาเตือนให้คุณพ่อคุณแม่ระวัง ลูกน้อยอาจป่วยเป็น 5 โรคผิวหนัง เหล่านี้ได้

5 โรคผิวหนัง ต้องระวังลูก ในหน้าหนาว อากาศแห้ง

โรคผิวหนัง

1. โรคสุกใส หรือ อีสุกอีใส (Chickenpox)

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) เป็นโรคที่ระบาดแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือตามชุมชนที่อยู่อาศัยทั่วไป สามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีอุบัติการณ์เกิดสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

อีสุกอีใส สามารถติดต่อโดยการหายใจ หรือการสัมผัสถูกตุ่มแผลสุกใสโดยตรง รวมถึงการสัมผัสถูกของใช้ เช่น ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ มักเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กเล็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ไปจนถึงผู้ใหญ่

อาการบ่งชี้ ได้แก่ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร เป็นผื่นแดงราบ ต่อมาจะเริ่มมีเป็นตุ่มน้ำใสๆ เหมือนหยดน้ำขึ้นตามตัว กระจายตามใบหน้า ลำตัว และมีไข้

วิธีรักษาโรคผิวหนัง อีสุกอีใส

  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และหายเองได้
  • รักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส อาจทำให้ระยะเวลาการเป็นโรคสั้นลงหากลูกได้รับภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น ซึ่งเด็กที่ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รัยยาต้านไวรัสทุกราย โดยคุณหมอมักพิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  • ถ้าลูกมีไข้สูง ใช้ผ้าเช็ดตัวลดไข้ อาจให้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล แต่ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพรินเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไรย์ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสมองและตับอย่างรุนแรง
  • หมออาจพิจารณาให้รับประทานยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน หรือ ทาคาลาไมน์ เพื่อบรรเทาอาการคัน
  • ระวังอย่าให้ลูกเกาเพราะอาจเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ แม่ควรตัดเล็บลูกให้สั้น

วัคซีนสำหรับป้องกันโรค

เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นฉีดเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ในผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปีต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ เนื่องจากวัคซีนเป็นชนิดเชื้อเป็นจึงมีข้อห้ามในผู้ทีมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ทีรับประทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยังไม่ได้รักษา และหญิงมีครรภ์

ในเด็กที่ไม่มีข้อบ่งห้าม สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12 – 15 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งที่อายุ 4 -6 ปี หรืออาจฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งภูมิต้านทานจะขึ้นดีกว่าฉีด 1 เข็ม

เมื่อฉีดครบ 2 เข็มพบว่า 99% ของผู้รับวัคซีนจะเกิดภูมิต้านทานต่อโรค ผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนหนึ่งยังอาจเกิดโรคสุกใสได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เช่น อาจไม่มีไข้ หรือจำนวนผื่นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่เคยรับวัคซีน

อ่านต่อ >> โรคผิวหนัง ต้องระวังลูก ในหน้าหนาว อากาศแห้ง” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.phyathai.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up