ทารกสำลักน้ำคร่ำ
ขี้เทา (Mekonium) คือชื่อของของเสียซึ่งถูกรวบรวมไว้ที่ลำไส้ต่าง ๆ เมื่อตอนทารกอยู่ในครรภ์ หากเด็กคนหนึ่งคลอดออกมาด้วยความยากลำบากจะมีความเครียดสูง ตัวอย่างเช่น เนื่องจากการขาดออกซิเจน สามารถนำไปสู่การที่เด็กขับถ่ายของเสียในน้ำคร่ำ และแม้กระทั่งพยายามที่จะหายใจให้ได้ก่อนที่จะคลอดออกมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปอดของเด็กมีอุจจาระที่ปนอยู่กับน้ำคร่ำอาจพูดได้ว่าเด็กได้สูดสำลักขี้เทา
ขี้เทาก่อให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นปอดอักเสบทางเคมีชนิดหนึ่ง บางทีเด็กจะมีภาวะการหายใจลำบากทันทีตั้งแต่หลังคลอดออกมา บางครั้งอาจมีอาการหายใจดังฮืด ๆ ต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ ของการมีชีวิต และมักจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว ในฟิล์มเอ็กซเรย์ปอดเราจะเห็นเป็นลายด่าง ๆ
“สำลักขี้เทา”…หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ถ้าจะถามว่าอันตรายมากน้อยแค่ไหน คุณหมออรวรรณ อิทธิโสภณกุล กุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด หน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ NICU โรงพยาบาลกรุงเทพบอกว่า เด็กปกติทั่วไปคลอดออกมาจะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำๆ เรียกว่าขี้เทา แต่ในเด็กส่วนหนึ่งในเด็กปกติอาจจะถ่ายในครรภ์ได้ ซึ่งในท้องคุณแม่อยู่ในน้ำคร่ำเป็นน้ำใสๆ ปกติ แต่ถ้าเด็กถ่ายขี้เทาก็จะลอยอยู่ในน้ำคร่ำ อุจจาระเด็กจะค่อนข้างเหนียว ถ้าปะปนอยู่ในน้ำคร่ำ เด็กก็จะกลืนเข้าไปด้วย
ถามต่อไปอีกว่า อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือเปล่า? “ตอนนี้มีการรักษาที่ทันสมัยมากขึ้น ความเสี่ยงก็ลดลงไปมากกว่าอดีต แต่ก็อยู่ที่ห้าสิบห้าสิบที่จะเกิดเสียชีวิตขึ้นได้ แต่เนื่องจากว่าหมอแรกเกิดมีเครื่องมือทันสมัยในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้ดีกว่าเมื่อตอน 10-20 ปีที่แล้ว ทำให้ภาวะเด็กที่เสียชีวิตด้วยความเสี่ยงเหล่านี้ลดลงไป”
การรักษา คือ การให้ออกซิเจนใช้เครื่องซีแพพและเครื่องช่วยหายใจ ในกรณีที่อาการหนักให้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด (MAS) มักจะเป็นสาเหตุให้ความดันเลือดในปอดสูง (pulmonell hypertension: PPHN) การรักษาทารกที่เป็นผู้ป่วยหนัก MAS จะรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทา หรือสำลักน้ำคร่ำ
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ
- การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Postterm pregnancy, Prolonged pregnancy) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย
วิธีการตรวจที่บ่งบอกอายุครรภ์ที่แน่นอนได้ ต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่างประกอบกัน ได้แก่ ประวัติวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP) การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดมดลูกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเป็นครั้งแรก ข้อมูลดังกล่าวสามารถคำนวณอายุครรภ์คลาดเคลื่อนได้ 2 สัปดาห์หรือมากกว่า นอกจากนี้จากหลายการศึกษาพบว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เพื่อประเมินอายุครรภ์ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ก็มีความคลาดเคลื่อนได้ตั้งแต่ 3 – 10 วัน แต่สามารถระบุอายุครรภ์ได้แม่นยำมากกว่าจากการสอบถามประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้นจากข้อมูลทั้งหมดประกอบกันจะเป็นตัวกำหนดอายุครรภ์ และให้การดูแลรักษาครรภ์เกินกำหนดได้อย่างเหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด (Risk factors)
- ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (Prepregnancy body mass index : BMI) ≥ 25 kg/m2
- ครรภ์แรก (Nulliparity) พบได้มากกว่าครรภ์หลัง
- มีประวัติเคยตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน
- ทารกในครรภ์มีภาวะคับขัน
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้สายสะดือถูกกด (Cord compression) และทารกอยู่ในภาวะคับขัน (Fetal distress) ในการตั้งครรภ์ปกติปริมาณน้ำคร่ำจะลดลงหลังจากอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ในรายที่ทารกถ่ายขี้เทาในครรภ์ ปัญหาน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) จะเสริมให้ขี้เทาที่ปนในน้ำคร่ำมีความเข้มข้นมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการสำลักขี้เทา (Meconium aspiration syndrome) หลังคลอดตามมาได้ สาเหตุของภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดจากทารกที่อายุครรภ์เกินกำหนดจะมีเลือดไปเลี้ยงที่ไต (Fetal renal blood flow) ลดลง ทำให้มีการสร้างปัสสาวะ (Fetal urine production) ลดลง
ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ถึงปีละ 7 แสนคน โดยมีทารกที่เกิดก่อนกำหนดประมาณ 1 แสนคน และอัตราการเสียชีวิตของเด็กแรกคลอดอยู่ที่ 6.7 คน ใน 1 พันคน…เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ดังนั้น “ทารกแรกเกิด” และ “ทารกแรกเกิดวิกฤติ” จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด โดยเฉพาะที่หน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit : NICU) ไม่เพียงช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- มารดาติดเชื้อเอชไอวี
การติดเชื้อเอชไอวีในมารดาไม่ได้เพิ่มความพิการแต่กำเนิดในทารกแม้ว่าทารกนั้นเกิดจากการติดเชื้อ เอชไอวีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่ยังมีความขัดแย้งของข้อมูลในเรื่องการเพิ่มขึ้นของอัตราการคลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย การเจริญเติบโตช้าในครรภ์และทารกตายคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับในสตรีทั่วไป
- รกลอกตัวก่อนกำหนด
จากการศึกษาของ Smith และ Baker ในปี ค.ศ. 1999 พบว่าตั้งแต่อายุครรภ์ 41 สัปดาห์ขึ้นไปจะมีการตายของเซลล์รก (Placental apoptosis) มากขึ้น และจากการศึกษาของ Jazayeri และคณะ ในปี 1998 ได้ทำการศึกษาระดับ Erythropoietin ในเลือดจากสายสะดือของทารกที่คลอดระหว่างอายุครรภ์ 37 – 43 สัปดาห์ พบว่าทารกที่คลอดหลังอายุครรภ์ 41 สัปดาห์มีระดับของ Erythropoietin สูงขึ้น แสดงถึงภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่รกเสื่อมสภาพ ตามปกติแล้ว รกควรจะลอกตัวออกจากโพรงมดลูก หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด ทางหน้าท้องก็ตาม แต่หากทารกยังไม่คลอดแต่รกเกิดลอกตัวจากโพรงมดลูก ไม่ว่าจะหลุดลอกออกเพียงเล็กน้อย หรือหลุดลอกออกบริเวณกว้าง อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ เพราะรกเป็นช่องทางการติดต่อระหว่างมารดาและทารกในครรภ์ ทั้งสารอาหารและออกซิเจน หากรกมีการลอกตัวออกจากผนังมดลูก อาจทำให้ทารกขาดสารอาหารหรือออกซิเจน และทำให้มารดาเสียเลือดมากได้
ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ทางเราขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจของคุณแม่ที่ต้องสูญเสียลูกอันเป็นทื่รัก การคลอดลูกนับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงทั้งต่อตัวแม่ และตัวทารกในครรภ์ คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้อย่างแน่นอน เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนทั้งที่กำลังรอคอยเห็นหน้าลูกน้อย และที่กำลังเฝ้าเลี้ยงดูเขาเติบโต เพราะลูกคือที่สุดในใจพ่อแม่เสมอ
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.karolinska.se/www.paolohospital.com/ w1.med.cmu.ac.th/www.samitivejhospitals.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่