ลูกกินนมเยอะ อาจไม่ใช่เพราะความหิวอย่างแม่คิด แต่กลายเป็นความเข้าใจผิดที่คิดว่า ทุกครั้งที่ลูกร้องแปลว่าลูกหิว จนทำให้ทารกได้รับนมมากเกินไป หรือที่เรียกว่า overfeeding ไม่ว่าจะจากเต้านม หรือขวดนมก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยได้เช่นกัน
Must Read : แม่ต้องรู้! 9 สัญญาณ บ่งบอกเมื่อ ลูกหิวนม
หลังแม่คลอดลูกน้อยใหม่ๆ ทารกแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมากินนมแม่ในหนึ่งวันทุก 2-3 ชั่วโมง กินอิ่มเสร็จก็นอนหลับต่อ และจะเห็นวงจรชีวิตเป็นแบบนี้ไปตลอดช่วง 1-3 เดือน “ป้าหมอ” คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ได้อธิบายสาเหตุที่ดูเหมือน ลูกกินนมเยอะ กินนมบ่อยว่า เกิดจากกระเพาะของทารกยังเล็กมาก จึงกินนมได้เพียงครั้งละ 5-7 มิลลิลิตร หรือราว 1/6 -1/6 ออนซ์ จึงทำให้ทารกน้อยต้องตื่นขึ้นมาทานนมแม่บ่อยๆ
หลังจากนั้นกระเพาะของทารกจะค่อยๆใหญ่ขึ้นทีละน้อยตลอด 1 เดือน โดยมีปริมาณเทียบเท่าผลไม้ ดังต่อไปนี้
1 วัน ขนาดเท่ากับลูกแก้ว หรือผลเชอรี ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ซีซี หรือ 1 – 1.4 ช้อนชา
3 วัน ขนาดเท่ากับผลวอลนัท ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 22 – 27 ซีซี หรือ .75 – 1 ออนซ์
7 วัน ขนาดเท่ากับผลแอปปริคอต ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 45 – 60 ซีซี หรือ 1.5 – 2 ออนซ์
30 วัน ขนาดเท่ากับไข่ไก่ ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 80 -150 ซีซี หรือ 2.5 – 5 ออนซ์
รู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมเยอะเกินไปหรือยัง
การมองจากปากที่ขยับตลอดเวลาของลูกน้อย ซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณของการดูดนมตามธรรมชาติ และเวลาลูกร้อง อาจทำให้ ลูกกินนมเยอะ เกินความต้องการ จนลูกอ๊อกนม หรืออาเจียนบ่อย ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารย้อนกลับขึ้นมา หลอดอาหารและกระเพาะเป็นแผล ลำไส้ย่อยนมไม่ดีพอ ลูกจึงปวดท้องได้
MUST READ: วิธีสังเกตอาการ Overfeeding
คุณแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกกินนมเพียงพอในแต่ละวันหรือยังได้จากการ “นับอึ-ฉี่” และ “จัดการตารางการให้นม” โดยสังเกตว่า
- ลูกอึครบ 2 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณพอๆกับแกนของม้วนทิชชู่ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม.) หรือฉี่ครบ 6 ครั้ง ใน 24 ชม. ไม่จำเป็นต้องให้นมเพิ่ม
- ให้นมแม่ชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าให้เพิ่มเป็น 2 ออนซ์ ลูกจะอิ่มยาวได้ราว 2 ชั่วโมง ตามปกติทารกจะตื่นร้องขอกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง
- ถ้าลูกร้องจ้า ให้ลองเช็กว่า ลูกอึ-ฉี่หรือไม่ ปวดท้อง มีไข้ หรือไม่สบายตัวไหม หากลูกสบายดี ให้เบี่ยนเบนความสนใจด้วยการอุ้มเดิน หรือใช้จุกหลอกให้ดูดแทนการให้นมทุกครั้งที่ร้อง
- สำหรับเด็กติดเต้าอาจร้องเพียงเพราะอยากดูดเต้าให้อุ่นใจ แต่ไม่ได้หิว กรณีนี้คุณแม่อาจปั๊มนมออกสักนิด ก่อนเอาลูกเข้าเต้า เพื่อป้องกัน ลูกกินนมเยอะ เกินไป
หากคุณแม่พบว่าอาการ Overfeeding เกิดจากลูกกินนมเยอะแล้ว คุณแม่ควรปรับพฤติกรรมการกินนมของลูกน้อยใหม่ รวมถึงการปรับกิจวัตรของคุณแม่ให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย และมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะเด็กที่มีสุขภาพดีไม่ใช่เด็กอ้วนจ้ำม้ำเสมอไป
อ่านต่อ บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป อันตรายหรือไม่?
ลูกกินนมเก่ง อย่าหลงดีใจ สุดท้ายต้องแอดมิทเพราะ กินนมมากเกินไป
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่