อ้วน รังสิตเตือนพ่อแม่ ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ น้องโรฮาเกือบต้องผ่าตัด - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ

อ้วน รังสิตเตือนพ่อแม่ ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ น้องโรฮาเกือบต้องผ่าตัด

Alternative Textaccount_circle
event
ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ
ลำไส้กลืนกัน สาเหตุ

การรักษา

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันมี 2 วิธี 

  • วิธีที่ 1 คือ การดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่ โดยการใช้แรงดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งอาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารของเหลวที่เป็นสารทึบรังสี Barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดัน ถ้ากระบวนการสวนลำไส้ใหญ่สามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้สำเร็จ ก็ไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1 – 2 วัน อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษานี้มีโอกาสที่จะทำให้ลำไส้ฉีกขาดได้
  • วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้อง ในการผ่าตัดนั้นศัลยแพทย์จะใช้มือบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน มีเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าหรือมีการแตกทะลุของลำไส้แล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าตายออกและทำการต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน กลุ่มนี้จะรุนแรงและให้การดูแลรักษาแบบกลุ่มลำไส้อุดตัน นอนในโรงพยาบาลนาน และมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่า ทั้งนี้ วิธีการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดตัน

    ปล่อยไว้นาน อันตรายถึงชีวิต
    ปล่อยไว้นาน อันตรายถึงชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนของโรคลำไส้กลืนกันหากปล่อยไว้นาน

การอุดตันของลำไส้ที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อหรือผนังบริเวณลำไส้บางส่วนเสียหายและเกิดลำไส้เน่า หากไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่การทะลุและฉีกขาดของผนังลำไส้จนกลายเป็นภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะปวดท้อง ช่วงท้องบวม และมีไข้

หากเกิดในเด็กอาจทำให้ช็อก โดยจะมีอาการตัวเย็น ผิวซีดแตกลอก การหายใจผิดปกติ ชีพจรแผ่ว กระสับกระส่าย หงุดหงิด และอาจหมดสติ หากเด็กมีอาการดังกล่าว ผู้ปกครองควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจติดเชื้อในกระแสเลือดหรืออาจมีการกระจายของก้อนเนื้อที่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษา

ป้องกันภาวะลำไส้กลืนกันได้อย่างไร?

โรคลำไส้กลืนกันเป็นโรคที่มีความรุนแรงจนอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และยังไม่มีวิธีป้องกัน เนื่องจากไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของการเกิดได้อย่างชัดเจน ผู้ปกครองจำเป็นจะต้องเฝ้าระวัง หากบุตรหลานมีอาการผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วนอย่าชะล่าใจว่าเป็นแค่อาการปวดท้อง และในผู้ที่เคยมีอาการของโรคลำไส้กลืนกันในวัยเด็ก ก็ควรเฝ้าระวังความผิดปกติและหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองด้วยเช่นกัน

โรคอะไรบ้างที่ต้องระวังเมื่อลูกน้อยปวดท้อง!!

อาการปวดท้อง สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้หลากหลายโรค ดังนั้นหากลูกบ่นปวดท้อง นอกจากพ่อแม่จะสันนิษฐานถึงอาการของโรคลำไส้กลืนกันแล้ว ยังต้องนึกถึงโรคเหล่านี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ลูกจะเป็นอีกด้วย เช่น

โรคไส้ติ่งอักเสบ

ในเด็กเล็กๆ อาจทำการวินิจฉัยโรคค่อนข้างลำบาก เพราะอาการต่างๆ  ดูได้ไม่ชัดเจนอย่างผู้ใหญ่ ไส้ติ่งอยู่บริเวณด้านขวาของช่องท้องตรงใกล้รอยต่อของลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ มีปลายข้างหนึ่งตัน แต่ก็จะมีช่องเล็กๆ ทางปลายอีกด้านที่ต่อกับลำไส้ เมื่อเกิดการอุดตัน ก็อาจเป็นเหตุให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโต จนเกิดอาการบวมและอักเสบได้

ส่วนสาเหตุของการเกิดโรค พบว่า 80 % เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ส่วนโคนลำไส้บวมขึ้นมา ทำให้รูดังกล่าวอุดตัน และอีก 20 % เกิดจากเศษอุจจาระที่แข็งตัวไปอุดรูเปิด เมื่อมีการอุดตันที่ตัวไส้ติ่ง ก็จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้ดี ทำให้เกิดการขาดเลือด จนเกิดการอักเสบบริเวณไส้ติ่งที่อยู่ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่

อาการ

  • ร้องไห้จากอาการปวดท้อง
  • ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้
  • อาจมีไข้และอาเจียน
  • ในรายที่มีอาการชัดเจนจะเริ่มด้วย อาการปวดท้อง ซึ่งมักจะเป็นรอบสะดือ และหลายชั่วโมงต่อมาอาการปวดท้องจะชัดเจนมากขึ้น และจะย้ายตำแหน่งที่ปวดมาปวดบริเวณหน้าท้องด้านขวาตอนล่าง (ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด) แต่ก็อาจจะปวดในตำแหน่งอื่นๆ แล้วแต่ตำแหน่งของปลายไส้ติ่ง
ลูกปวดท้อง เป็นโรคอะไรได้บ้าง
ลูกปวดท้อง เป็นโรคอะไรได้บ้าง

ไส้เลื่อน

โดยปกติภายในช่องท้อง จะมีผนังหน้าท้องที่แข็งแรงป้องกันอยู่โดยรอบ แต่ส่วนที่ทำให้เกิดปัญหา คือบริเวณขาหนีบ ซึ่งมักจะพบว่ามีส่วนถุงเยื่อบุช่องท้องยื่นออกมาตรงขาหนีบ ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนถุงนี้มักจะปิดได้เองโดยธรรมชาติ แต่บางครั้งก็ไม่ปิด ทำให้ลำไส้อาจเคลื่อนตามออกมาด้วย ส่วนใหญ่ยังพบอีกว่า มักเป็นกับเด็กผู้ชาย เพราะถุงเยื่อบุช่องท้องมักจะเปิดอยู่ อันเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของอัณฑะซึ่งเดินทางจากภายในช่องท้องลงมาที่ถุงอัณฑะ  เด็กผู้หญิงก็มีไส้เลื่อนด้วยเช่นกัน แต่การเคลื่อนที่ของไส้เลื่อนจะลงมาได้ถึงแค่บริเวณหัวหน่าวเท่านั้น เด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะมีภาวะความเสี่ยงของโรคไส้เลื่อนมากกว่าเด็กปกติทั่วไป

อาการ

  • อาจพบก้อนเนื้อผิดปกติปูดขึ้นบริเวณขาหนีบหรือที่ถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง ขณะที่เด็กร้องเบ่งเสียง
  • ก้อนเนื้อที่ปูดขึ้นมาอาจผลุบๆ โผล่ๆ ให้เห็น เวลาที่เด็กยืนหรือเดินนานๆ และอาจจะยุบหายไปในขณะที่เด็กนอนหลับ  ผู้ปกครองอาจจะสังเกตเห็นไส้เลื่อนในขณะที่อาบน้ำก็ได้
สังเกตอาการผิดปกติของลูก ช่วยคุณหมอวินิจฉัยโรคได้
สังเกตอาการผิดปกติของลูก ช่วยคุณหมอวินิจฉัยโรคได้

โรคลำไส้อักเสบ

เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส พยาธิ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นพวกไวรัสซึ่งทำให้เกิดอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้อาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้โดยตรง หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

 อาการ

  •  อาเจียน คลื่นไส้
  • อุจาระร่วง
  • ปวดท้อง
  • เป็นไข้
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.pobpad.com/www.paolohospital.com/www.bangkokhospital.com/ www.si.mahidol.ac.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เตือนไข้หวัดใหญ่ระบาด!รุนแรงในรอบ 2ปีรีบฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี

ปฐมพยาบาลงูกัด เรื่องควรรู้ช่วงหน้าฝน ทุกนาทีคือชีวิตลูก

ตุ่มน้ำพอง ที่กัดกินชีวิตเมฆ วินัย เกิดจากอะไร เป็นยังไง

ฟิลเตอร์ แกล้งเด็ก หลอกผีอย่าหาทำ!ลูกขี้กลัวจนป่วยได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up