ไม่คาดหวัง ไม่ใช่การละเลย!!
จากที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าพ่อแม่ไม่ควรแสดงความคาดหวัง หรือให้ความสำคัญต่อผลการเรียนของลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เราปล่อยปละละเลยในการเรียนของเขา เพราะคงไม่อาจโต้แย้งได้ว่า เด็กในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมีทักษะที่พร้อมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้ใหญ่ และอนาคตที่ดีของเขาต่อไป หากเป็นเช่นนี้สิ่งใดจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ที่มา : เพจคุยกับนักจิตวิทยา
9 ไอเดียสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ให้ลูก
1. ให้โอกาสลูกได้เป็นคนเลือก
พ่อแม่บางคนมักจะกำหนดแนวทางชีวิตให้กับลูกไปเสียก่อนที่จะได้พูดคุย หรือถามความคิดเห็นของลูก แม้ว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นชีวิตของเขาเอง ดังนั้นหากพ่อแม่ลองปล่อย และอนุญาตให้ลูกได้ร่วมเลือก ร่วมตัดสินใจบ้าง ก็จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากเรียนรู้ในสิ่งนั้น ๆ ได้ดีกว่าการบังคับ การได้เปิดใจคุยกันทำให้เราสามารถหาทางที่ลงตัวสำหรับทุกคนได้อย่างแน่นอน
2.พูดคุยถึงเป้าหมายที่แท้จริงของลูก
เด็ก ๆ ส่วนมาก มักจะยังไม่รู้ถึงเป้าหมายของอนาคต เขายังไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องของอนาคตที่ไกล ๆ ได้ การพูดคุย ชี้แนะแนวทางให้กับลูก เพื่อให้เขาได้มองเห็นเป้าหมายของตัวเอง จะช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะเขาจะตั้งใจทำเพื่อเป้าหมายที่เขาต้องการ ไม่ใช่ทำเพื่อให้พ่อแม่พอใจ แต่สิ่งนั้นไม่ใช่เป้าหมายของตัวเอง การตั้งเป้าหมายในระยะยาวอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กบางคน ลองให้ลูกตั้งเป้าหมายในชีวิต ในเรื่องง่าย ๆ สั้น ๆ แล้วค่อย ๆ ตะลุยฝ่าด่านไปเรื่อย ๆ ก็จะเป็นการฝึกให้ลูกเข้าใจ และมองเห็นเป้าหมายในระยะยาวต่อไปได้
3.ไม่เข้มงวด บังคับกับลูกมากเกิน
การเข้มงวดกับลูกนั้น เป็นการแสดงถึงความไม่มั่นใจในความสามารถของเขาในทางหนึ่ง เมื่อเด็กรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนี้ จะทำให้ลูกกลายเป็นคนที่ทำอะไรตามคำสั่ง เพราะตัวเขาเองก็ได้เกิดความรู้สึกไม่เห็นคุณค่าในตนเองเช่นกัน ซึ่งนั่นเป็นอันตรายต่อการพัฒนาตนเองของเด็ก
4.พักผ่อนบ้าง ชาร์จพลังสมอง
สมองจะทำงานได้ดีเมื่อมีการพักซึ่งพ่อแม่เองอาจไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ผู้ปกครองยังติดความคิดเดิม ‘ยิ่งเรียนเยอะยิ่งดี’ แต่สมองต้องได้รับการพักผ่อนบ้าง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เกิดจากการทำงานหนักของสมองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการทำงาน หรือการอ่านหนังสือเรียน ส่งผลให้เกิดอาการทางอารมณ์ที่แปรปรวน หรือการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เช่น ความจำไม่ดีชั่วขณะหนึ่ง ถึงแม้อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่หากเกิดภาวะสมองล้าบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอันตราย เช่น เกิดอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมก่อนวัย เป็นต้น
5.การเรียนรู้ไม่ได้มีแต่ในตำราเรียน
รู้หรือไม่ว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดจากการลงมือทำ การเรียนเพียงแค่ท่องตำราเรียน อาจทำให้ส่งผลดีต่อผลการเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่า ความรู้จะมีอยู่แค่ในตำราเรียนเท่านั้น การให้ลูกได้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกอื่น ๆ บ้าง จะเป็นการเพิ่มทักษะในด้านอื่น ๆ ที่เขาจำเป็นต้องมี ที่ในบางทีตำราเรียนอาจไม่สามารถให้ได้
6.คำชมเป็นรางวัลที่ดีเสมอ
พูดชื่นชมลูกบ้าง เมื่อเขาทำได้ดี การชมลูกควรเป็นการชมในความพยายามของเขา ไม่ควรชมจากผลสำเร็จ เพราะนั่นจะทำให้ลูกเกิดความกดดัน ความสำเร็จ ผลคะแนนเรียนที่ดีไม่ได้มีปัจจัยเพียงแค่อย่างเดียว ดังนั้นหากเขามีความพยายามที่จะทำให้ได้ดี นั่นก็เพียงต่อการที่พ่อแม่ มอบคำชื่นชมให้แก่ลูกแล้ว
7.ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
เด็กส่วนใหญ่ต้องการประสบความสำเร็จ พ่อแม่ทำแค่ส่งเสริมพวกเขาด้วยความช่วยเหลือในการค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อไปถึงเป้าหมาย วิธีหนึ่งในการกระตุ้นให้เด็กได้ คือการทำให้พวกเขามองตัวเอง และรับรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เด็กมักจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยการคิดวิเคราะห์ต่อปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองมากกว่าการที่พ่อแม่เข้าไปจัดการให้กับลูกเอง
สอนให้ลูกรู้จักสนุกระหว่างทาง มากกว่าความสำเร็จ แม้ว่าเป้าหมายจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเรียนรู้ และสนุกไประหว่างทางที่จะไปถึงเป้าหมายก็สำคัญไม่แพ้กัน และที่สำคัญเขาจะรู้สึกดี รู้สึกสนุกในทุกวัน มากกว่ามานั่งเฝ้ารอวันที่จะประสบผลสำเร็จเพียงแค่วันเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก www.teachthought.com/www.tcijthai.com/www.petcharavejhospital.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่