กิจกรรม PA

มาทำกิจกรรม PA (Physical Activities) ฉบับครอบครัวกันเถอะ

Alternative Textaccount_circle
event
กิจกรรม PA
กิจกรรม PA

กิจกรรม PA คืออะไร

กิจกรรม PA หรือกิจกรรมทางกาย คือกิจกรรมอะไรก็ตามที่ทำให้เด็กๆ ได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เคลื่อนที่มากพอจนทำให้เกิดการหายใจที่ถี่ขึ้น หายใจเร็วขึ้น (ในเด็กที่มีสุขภาพร่างกายปกติ) และอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ซึ่งเด็กๆสามารถทำกิจกรรม PA ได้ในหลากหลายรูปแบบ ในช่วงเวลาใดก็ได้ในแต่ละวัน โดยอาจจะเป็นกิจกรรมแบบทางการ อย่างเช่น การเล่นกีฬา หรือกิจกรรมไม่เป็นทางการ อย่างเช่น การให้เด็กได้เล่นสนุก หรือแม้กระทั่งการทำงานบ้านที่ได้ออกแรงอย่างการขุดดินปลูกต้นไม้ การกวาดถูบ้าน รวมไปถึงการเดินทางในชีวิตประจำวันที่ต้องออกแรง เช่น การเดิน การขี่จักรยาน เป็นต้น

Physical Activities
Physical Activities For Kids

การทำกิจกรรม PA ในครอบครัวให้เป็น Active Family ดีอย่างไร

  • ทำให้คนในครอบครัวได้ใช้เวลาสนุกร่วมกันมากขึ้น เป็นช่วงเวลาคุณภาพ
  • ช่วยให้ผ่อนคลายจากการเรียนหรือการทำงานได้
  • ช่วยลดภาวะน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมสำหรับทุกคนในครอบครัว
  • ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและเบาหวานประเภท 2 ได้
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางประเภทได้
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อ

แหล่งอ้างอิงAustralian Government , Department of Health Brochure PA Guideline for Family

 

วิธีง่ายๆ มาเป็น Active Family กัน

  • มีกิจกรรม PA ทำร่วมกันทุกๆวัน
  • ทำให้สนุก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวให้มากที่สุดในทุกช่วงวัน
  • เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะการกระทำสำคัญกว่าคำพูด พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น
  • ให้ของขวัญลูกเป็นอุปกรณ์กีฬา หรืออื่นๆ ที่ส่งเสริมกิจกรรม PA เช่น รองเท้าสเก็ต ลูกบอล ฮูลาฮูป ไดร์ฟกอล์ฟเล็กๆ เป็นต้น
  • ออกไปทำกิจกรรม PA กันทั้งครอบครัว ให้กลายเป็นช่วงเวลาดีๆของทุกคน
  • สร้างหรือดัดแปลงกิจกรรม PA ในบ้านให้ได้สนุกกัน เช่น ห้อยลูกบอลร้อยยางเป็นสนามมวย หรือตุ๊กตาล้มลุก
  • พากันไปเดินนอกบ้าน เพิ่มความสนุกด้วยการ นับก้าวไปด้วย นับรถ หรือนับสิ่งของรอบตัวไปด้วยระหว่างเดิน
  • เล่นกีฬาที่ลูกชอบกับลูก
  • เพิ่มการเดินขึ้นลงบันได
  • ให้มีช่วงเวลาหยุดพักจากการอ่านหนังสือ หรือทำการบ้านของลูกโดยให้มีกิจกรรมยืดเหยียด หรือชู้ตบอลสั้นๆ หรือจะเป็นเตะบอลสั้นๆ ก่อนจะกลับไปทำการบ้านต่อ
  • ปิดจอต่างๆ ทั้งจอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ และจอโทรทัศน์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง Family tip sheet : 2005 CIGNA & Healthy Kids Challenge

 

 

Q : ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็ก Active และรักษาระดับนั้นไว้ได้?

สำหรับเด็กการกระตุ้นเขาตั้งแต่อายุยังน้อยถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะกลายเป็นนิสัยติดตัวตลอดไป อาจจะเริ่มต้นจากวันละ 1 ชั่วโมงกับกิจกรรม PAที่ไม่เป็นทางการ การเล่นอย่างสนุกสนานได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการเล่นกีฬาที่มีรูปแบบชัดเจน ลองมาดูคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกันค่ะ

 

  • ทำให้กิจกรรม PAเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตครอบครัว เช่น การเดินเล่นกับครอบครัว หรือการเล่นเกมที่มีความ Active
  • พาเด็กๆ ไปสถานที่ต่างๆ ที่สามารถมีกิจกรรมที่ Active ได้ เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา หรือสถานที่เล่นกีฬาต่างๆ
  • พ่อแม่ต้องมีความรู้สึกแง่บวกเกี่ยวกับกิจกรรม PA ที่เด็กๆ เข้าไปมีส่วนร่วม และกระตุ้นให้พวกเขามีความสนใจกับกิจกรรมใหม่ๆ
  • ทำให้กิจกรรมมีความสนุกสนาน อะไรก็ได้ที่เด็กรู้สึกชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ตาม กิจกรรมต่างๆ สามารถเป็นได้ตั้งแต่การเล่นกีฬาเป็นทีม การเล่นกีฬาคนเดียว หรือกิจกรรมนันทนาการต่างๆ อาทิ เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ กิจกรรมในสนามเด็กเล่น หรือการเล่นในเวลาว่าง
  • แทนที่จะนั่งดูโทรทัศน์หลังจากรับประทานอาหารเย็น ไปกระตุ้นให้เด็กๆ หากิจกรรมที่สนุกๆ ทำด้วยตัวเอง หรือกับครอบครัวและเพื่อนๆ เช่น การเดินเล่น หรือการขี่จักรยาน
  • ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัย ขอให้มีการใช้เครื่องมือเพื่อความปลอดภัยเสมอ เช่น หมวกกันน็อค ปลอกกันศอกและเข่ากระแทก และให้แน่ใจว่าเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัย

 

เห็นไหมคะว่ากิจกรรม PA นั้นสามารถแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรมของครอบครัวแบบสบายๆ และถ้าอยากได้เคล็ดลับดีๆแบบนี้เพิ่ม แนะนำให้เข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่เวบไซต์ www.kidactiveplay.com ค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up