การรักษาทำอย่างไร ??
- รักษาที่ด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนนิซิลิน(Penicillin) อะมอกซิซิลิน (Amoxycillin) หรืออิริโทรมัยสิน (Erythromycin) เป็นเวลา 10 วัน และแม้อาการจะหายไปภายใน 3-4 วันก็ต้องรับประทานยาต่อไปจนครบ 10 วันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้รูมาติกและหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อน
- ให้การรักษาตามอาการอื่นๆที่ตรวจพบ แนะนำให้นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ
- ควรกลับมาพบแพทย์เมื่อได้รับการรักษาแล้วกลับเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ มีไข้ร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย ปวดข้อ หรือตุ่มหรือก้อนที่ใต้ผิวหนัง หรือมีอาการบวม ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือเลือดปน เป็นต้น
ระยะเวลาการติดต่อและควรหยุดโรงเรียนนานแค่ไหน ??
การป้องกันทำได้อย่างไร ??
เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ การป้องกันการติดเชื้อจึงสามารถทำได้โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดัวยการรับประทานอาหารที่ประโยชน์ครบ 5 หมู่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยแต่หากมีความจำเป็นที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาร่วมกับล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือของใช้ของผู้ป่วย
- อย่าใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะของใช้ส่วนวตัว เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
การดูแลรักษาด้วยตนเอง หลังจากอาการบรรเทา
นอกจากจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยสามารถรักษาไข้อีดำอีแดงด้วยดูแลตนเองอยู่ที่บ้านได้ เพื่อช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยใช้วิธีต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการและความไม่สบายเนื้อตัวที่เกิดจากโรคได้ ดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ลำคอชุ่มชื้นตลอดเวลาและลดอาการขาดน้ำ
- การบรรเทาอาการไข้และอาการปวด ทำได้โดยการเช็ดตัวเพื่อลดไข้หากมีไข้ขึ้น รวมทั้งรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดอาการเจ็บคอหรือบรรเทาอาการไข้
- การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดอาการเจ็บคอ
- รับประทานยาอม
- ทำให้อากาศภายในบริเวณที่อยู่อาศัยชุ่มชื้น เนื่องจากอากาศแห้งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในลำคอซึ่งจะนำมาด้วยอาการเจ็บคอได้
- รับประทานอาหารที่ช่วยให้อาการทุเลาลง อาทิ อาหารอุ่นอย่างน้ำซุป หรืออาหารเย็นอย่างไอศครีม ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ หรือการทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้เพื่อลดฝุ่นละออง
- ห้ามให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 รับประทานยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.pidst.or.th/https://www.pobpad.com/https://ddc.moph.go.th/https://hellokhunmor.com/https://www.rama.mahidol.ac.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
3ข้อรู้ไว้ห่างไกลมะเร็ง เยื่อบุโพรงมดลูก โรคร้ายอันดับ3 ของผู้หญิง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่