Hand Spinner สมควรถูกแบนในไทยด้วยหรือไม่?
กระแสของแฮนด์ สปินเนอร์ ในบ้านเราอาจยังไม่ฮิตในวงกว้างนัก แต่ก็มีคำถามว่ามันควรจะถูกแบนเหมือนที่หลายประเทศทำมาแล้วหรือไม่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้
- อันตรายที่คาดไม่ถึง ไม่น่าเชื่อว่าของเล่นชิ้นเล็กๆจะทำอันตรายได้ใช่มั้ย ลองเปิด youtube หาคลิปฝรั่งที่ทดลองให้เห็นกันจะๆ ว่า แฮนด์ สปินเนอร์ หมุนด้วยความเร็วถึงขั้นที่ทำให้แก้วแตกได้เพียงสัมผัสนิดเดียวเท่านั้น บางคนที่กล้ารับคำท้าเอาสปินเนอร์ที่กำลังหมุนไปสัมผัสหน้าเพื่อพิสูจน์ความแรงของมัน ผลลัพธ์ก็คือสปินเนอร์บาดแก้มจนเลือดสาด! หรือแม้แต่อุบัติเหตุโดนสปินเนอร์บาดนิ้วเหวอะขณะเล่นก็มีมาแล้ว เพราะฉะนั้นใครที่กำลังคิดว่ามันคือของเล่นสำหรับเด็กที่ไม่มีอันตรายอาจจะต้องคิดใหม่
- รบกวนสมาธิคนรอบข้าง เช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอเมริกา เมื่อมันทำให้เด็กๆที่เล่นมีสมาธิจดจ่อกับ แฮนด์ สปินเนอร์ ‘มากเกินไป’ จนไม่สนใจสิ่งรอบข้างหรือครูที่กำลังสอนในห้องเรียน แถมคนรอบข้างยังถูกรบกวนสมาธิได้ง่ายๆ เพราะถึงแม้มันจะไม่มีเสียงแต่มนุษย์มักถูกดึงดูดความสนใจด้วยสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหว กลายเป็นว่าคนเล่นมีสมาธิแต่คนที่อยู่รอบๆกลับเสียสมาธิแทน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือในห้องเรียนจน แฮนด์ สปินเนอร์ กลายเป็นของเล่นต้องห้ามที่ถูกแบนไปเรียบร้อยแล้ว
- การเล่นที่ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากตัวของเล่น แฮนด์ สปินเนอร์ ไม่ได้มีกลไกการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้หลายๆคนเกิดไอเดียประกอบ Hand Spinner DIY ในแบบของตัวเองขึ้นมา ในบ้านเราอาจยังไม่เห็นมากนัก แต่ทางฝรั่งมีการสอนทำสปินเนอร์เวอร์ชั่นพิเศษพิสดารมากมายมาแข่งกันว่าของใครจะหมุนได้เร็ว แรง และแปลกกว่ากัน โดยเพิ่มออปชั่นพิเรนทร์ๆ อย่างใบมีดคัตเตอร์, เฟือง, ไม้ขีดไฟ, ประทัด ฯลฯ ออปชั่นที่ฮิตที่สุดก็คือ ใบมีดโกนที่มีการดีไซน์ออกมาหลายแบบ แต่ละแบบก็ดูอันตรายไม่ต่างกัน และที่สำคัญมันใช้เป็นอาวุธได้จริง!
อย่างไรก็ตามทางด้านจิตวิทยา ดร.วัลลภ แนะว่าการเล่นของเด็ก คือ การลองทำให้มันเป็นจริง เรามีอุปนิสัยอย่างไรก็จะเล่นอย่างนั้น เช่น ตอนเด็กชอบเล่นเป็นหมอ โตมาก็ได้ทำงานเป็นหมอ พยาบาล ทางจิตบำบัด จึงคิดบำบัดจิตเด็กด้วยการเล่นให้มีสาระ และมีเหตุผล หรือสมาธิมากขึ้น เรียกว่า play therapy
ถ้าเด็กเล่นตามกระแสนิยมไปเรื่อยๆ โตขึ้นจะเป็นคนที่ถูกชักจูงจากสังคมได้ง่าย แต่ถ้าเด็กรู้จักเลือกจะเล่นตามความรู้สึกของตัวเอง โตขึ้นจะเป็นคนสร้างสรรค์ และคิดเชิงรุก (Proactive) ไม่เป็นเด็กไทยอย่างในทุกวันนี้ที่ตามกระทั่งวัฒนธรรมเกาหลี
ทั้งนี้ “การเล่นของเล่นนาน หรือไม่ว่าจะอะไรก็ตามที่นานไป มันคือการหมกมุ่น ย่อมมีผลเสียแน่ แต่คนไทยเรารับกระแสอะไรเร็ว เลยมักลืมง่าย การมีของเล่นชิ้นใหม่มาแทน ไม่เกิดผลเสียเป็นพวกย้ำคิดย้ำทำ แต่กลับกลายเป็นคนใจง่าย เช่น รักง่ายเบื่อเร็ว หรือเอาแต่ใจ ถ้าสุดขั้ว รับอะไรใหม่ๆ ก็ตื่นเต้นมากอาจสร้างนิสัยให้กลายเป็นพวกอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ซึ่งคนไทยกำลังเป็นโรคนี่กันมาก” ดร.วัลลภ กล่าวทิ้งท้าย
ปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการผลิตของเล่นที่ชื่อว่า “Hand Spinner” รวมไปถึงการนำเข้าของเล่นชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นมากในประเทศไทย เพราะฉะนั้นผู้ปกครองท่านใดที่คิดจะซื้อของเล่นดังกล่าวให้เด็กๆ ควรให้คำแนะนำเรื่องวิธีเล่นที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ๆ ด้วย
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- ของเล่น เสี่ยงอันตราย 9 ประเภท ที่ไม่เหมาะให้ลูกเล่น
- ของเล่นเสริมทักษะ หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ จำเป็นสำหรับลูกแค่ไหน? อะไรคุ้มค่าเงินจริงๆ?
- ของเล่นอัตโนมัติทำลายสมองลูกจริงหรือ!?
ขอบคุณข้อมูลจาก : issue247.com , www.tnews.co.th , www.amarintv.com , www.thairath.co.th