การดูแลตนเอง และป้องกันโรคโบทูลิซึม
- หลีกเลี่ยงการหมัก การดองทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เนื้อปลาต่างๆ ด้วยตน เอง หากต้องการทำ ควรเตรียมอาหารและภาชนะที่จะใส่ ให้สะอาด ใส่กรดมะนาวที่ความเข้ม ข้นมากกว่า 65% หรือใส่เกลือแกงให้เข้มข้นมากกว่า 3% และเก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารหมักดองที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หากจะบริโภค จะต้องนำของหมักดองเหล่านั้นไปต้มให้เดือด 100 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายพิษที่อาจมีอยู่
- สำหรับการซื้ออาหารกระป๋อง รวมถึงนมผง หรืออาหารสำเร็จรูปที่พร้อมทาน ต้องเลือกจากบริษัทผลิตที่เชื่อถือได้ และดูจากฉลากว่ามีเครื่องหมาย อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่ชัดเจน บริโภคก่อนวันหมดอายุที่ระบุบนฉลาก และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
- มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin ซึ่งสามารถป้องกันพิษชนิดย่อย A ถึง E แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน และอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ (เช่น การแพ้ยา) การให้วัคซีนจึงจำกัดให้เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้เท่านั้น เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับพิษชนิดนี้ หรือในกรณีมีการปล่อยอาวุธเชื้อโรคที่เป็นพิษชนิดนี้[5]
การระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้กับเด็กเล็กๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาหารที่หน้าตา สีสันสวยงามมาจากธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัยกับสุขภาพร่างกายเสมอไป ดังนั้นก่อนทานอะไรต้องเช็กข้อมูลจนมั่นใจแน่นอนแล้วว่าปลอดภัยสามารถนำมาทานกันได้ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก
อุทาหรณ์เตือนแม่! ลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก จากสายยางที่ตากอยู่กลางแดด
กระเจี๊ยบเขียว คนท้อง อาหารสมุนไพรดีต่อสุขภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1เครือข่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
2พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด. นิตยสาร Amarin Baby & Kids
3,4ผศ.นพ. สัมมน โฉมฉาย ศูนย์พิษวิทยาศิริราช
5โรคโบทูลิซึม (Botulism). หาหมอ