เพราะ เด็กก็คือเด็ก เด็กก็ต้องซนบ้างเป็นเรื่องปกติ ซึ่งพ่อแม่ทั้งหลายก็ย่อมจะรู้ถึงเรื่องนี้ดีอยู่แก่ใจ แต่ทำไมพอถึงเวลานั้น กลับควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เสียที…
รู้ไหม “ลูกคิดอะไร”
แม่ชอบ ระเบิดอารมณ์ใส่ลูก ต้องอ่าน!
หากลองถามคุณแม่ว่า… ตอนลูกอายุเท่าไหร่ที่คุณแม่เบาใจที่สุด? คุณแม่หลายคนอาจจะตอบว่า ตอนเป็นทารก เพราะตอนนั้นลูก จะแค่กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กิน ไม่ต้องเป็นกังวลใดๆ แต่เมื่อลูกโตขึ้น ความอดทนของพวกคุณพ่อคุณแม่ก็มีขีดจำกัดที่ต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้บ่อยครั้งที่ทนไม่ไหว เผลอตะคอกหรือตะโกนใส่ลูก แล้วก็ต้องมาเสียใจทีหลัง
เพราะว่าลูกโตแล้ว สิ่งต่างๆไม่ได้อยู่ในขอบเขตที่พ่อแม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นพ่อแม่ก็เลยมักจะเผลอโมโหลูกๆ แต่พอทำไปแล้ว ก็ต้องมานั่งเสียใจ ในเมื่อลูกก็เป็นคนๆหนึ่ง เขามีความคิดของตัวเอง ทำไมเราต้องไปบังคับให้เขาทำแบบที่เราต้องการด้วย เพราะบางทีหลังจากคุณระเบิดอารมณ์ไปแล้ว คุณจะคิดว่าจะไม่ทำอย่างนี้อีกแล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าตอนที่คุณตวาดลูกไปนั้นจิตใจของลูกจะเป็นยังไงบ้าง
ตะโกน ดุด่าลูก ยิ่งทำให้ลูกเป็นเด็กมีปัญหา
อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ที่ชอบลงโทษลูกด้วยวาจา ไม่ว่าจะเป็นการตะคอกใส่ลูก ตะโกนใส่ลูก หรือใช้คำพูดเจ็บๆ เห็นทีต้องคิดหนักและพยายามระงับอารมณ์ให้ได้ก่อนจะระเบิดคำพูดอะไรออกไป เพราะมีผลการศึกษาพบว่าการลงโทษลูกด้วยการตะคอก ตะโกน หรือ ใช้คำพูดแรงๆ ทิ่มแทงจิตใจ สามารถส่งผลต่อจิตใจ และความรู้สึกของลูก ถึงขนาดสามารถทำให้ลูกโตขึ้นมีพฤติกรรมชอบโกหก ลักขโมย และทะเลาะวิวาทกับเพื่อนที่โรงเรียน
ทั้งนี้ ดอกเตอร์หมิง ที หวัง รองศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา เล่าว่าได้ทำการศึกษาประเด็นนี้ในกลุ่มพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริการาว 976 ครอบครัว ซึ่งพบว่ามีพ่อแม่จำนวนมากที่ใช้วิธีตะโกนดุว่าลูกเสียงดังหรือใช้คำพูดที่ทำร้ายความรู้สึก ซึ่งเด็กที่ถูกลงโทษด้วยวิธีนี้มีสัดส่วนที่จะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเมื่อโตขึ้นประมาณอายุ 13-14 ปี มากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ใช้วิธีลงโทษลูกด้วยคำพูด
ดอกเตอร์หมิงย้ำด้วยว่า แม้แต่ครอบครัวที่พ่อแม่ลูกมีความสนิทใกล้ชิดกันมาก การลงโทษแบบนี้ ซึ่งพ่อแม่อาจคิดว่าไม่เป็นไรเพราะลูกย่อมเข้าใจว่าพ่อแม่ดุว่าไปก็ด้วยความรัก ก็สามารถส่งผลเสียต่อเด็ก
สำหรับวิธีที่ดีดอกเตอร์หมิงกล่าวว่า ควรเป็นการพูดคุยกับลูกดีๆ ให้ลูกรู้ถึง ความห่วงใยความวิตกกังวลของพ่อแม่และชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะตามมา
คลิกหน้า 2 >> เพื่อดู “ภาพประกอบ สิ่งที่ลูกคิด เมื่อแม่ระเบิดอารมณ์ใส่ลูก”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่