1).การพูด 2 ภาษาทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าด้านภาษา = ไม่จริง
เพราะถึงแม้ว่าคำศัพท์ที่รู้จักอาจไม่เท่ากับเด็ก 1 ภาษา แต่เมื่อรวม 2 ภาษาแล้วจะได้คำศัพท์เท่ากัน แต่เด็ก 2ภาษาอาจเริ่มพูดคำ แรกช้ากว่าเล็กน้อย แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 8-15 เดือน แต่เมื่อเริ่มพูดเป็นประโยคสั้นๆ จะพูดได้เร็วไม่แตกต่างจากเด็ก 1
ภาษา สรุปคือเด็ก 2 ภาษาไม่ได้มีพัฒนาการด้านภาษาช้าผิดปกติ
ดังนั้นถ้าพบเด็ก 2 ภาษาที่มีพัฒนาด้านภาษาช้าผิดปกติ แสดงถึงการมีปัญหาความผิดปกติด้านภาษาของเด็กคนนั้นเอง ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไข
2).ถ้าลูกใช้ภาษาทั้ง 2 สลับกันไปมาแสดงว่าลูกกำลังสับสน
ไม่ควรฝึกอีกต่อไปไม่จริง เพราะถ้าลูกใช้ทั้ง 2 ภาษาในประโยคหรือบทสนทนาเดียวกัน แสดงว่าลูกรู้จักความหมายของทั้ง 2 ภาษา สามารถใช้กลับไปกลับมาได้ แต่พ่อแม่มักกังวลใจว่าจะเป็นสัญญาณว่าลูกมีปัญหาด้านภาษาหรือไม่
ความจริงคือ การที่ลูกสามารถใช้ภาษากลับไปกลับมาได้
แปลว่ามีความสามารถในการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
3).การจะพูด 2 ภาษาได้ต้องฝึกตั้งแต่เด็กเล็ก = ไม่จำเป็น
การฝึกตั้งแต่เด็กจะมีโอกาสออกเสียงได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากกว่าเมื่ออายุมากขึ้น และมีความถูกต้องด้านไวยากรณ์มากกว่า แต่ก็มีบางงานวิจัยพบว่าเด็กโตจะเข้าใจเรื่องคำศัพท์และไวยากรณ์ได้เร็วกว่าเด็กเล็ก
4).พ่อหรือแม่ควรแบ่งพูดไปคนละภาษาเลย = ไม่จำเป็น
อาจใช้วิธีพูดกันคนละภาษาไปเลยก็ได้ ถ้าผู้พูดชำนาญในภาษานั้นๆ หรือจะพูดปนๆกันก็ได้ สิ่งสำคัญพ่อแม่ไม่ต้องเครียดกับการพูดทำให้เป็นธรรมชาติและสบายๆมากที่สุด
5).ถ้าอยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่ควรพูดภาษาไทยกับลูกเลย = ไม่ถูกต้อง
เพราะหากพ่อแม่ไม่คล่องภาษาอังกฤษ การไม่ยอมพูดภาษาไทยกับลูกเลย จะทำให้โอกาสพูดคุยกับลูกลดน้อยลงไป งานวิจัยพบว่าถ้าลูกคล่องภาษาแม่แล้ว จะทำให้การเรียนรู้ภาษาที่สองง่ายขึ้น
วิธี สอนภาษาอังกฤษลูก และสนับสนุนให้ลูกเรียนรู้ภาษาที่สอง
1). ให้พ่อแม่ทำสิ่งที่สบายใจและอยากทำ ไม่จำเป็นต้องฝืนพูดภาษาที่สองกับลูก ถ้ารู้สึกอึดอัดที่จะทำเช่นนั้น แต่ถ้าพ่อแม่มีความสามารถ มีความสบายใจ และไม่อึดอัดใจที่จะฝึกภาษาที่สองให้ลูกเอง ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์หรือโรงเรียนสองภาษา ให้หาเครื่องมือการสอนและทำบรรยากาศการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด เช่น ถ้าบ้านไหนมีคุณพ่อเป็นชาวต่างชาติ หรือมีคุณพ่อคุณแม่ท่านใดท่านหนึ่งชำนาญภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็พูดกับลูกไปเลยโดยไม่ต้องฝืน การเรียนรู้ก็จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
2). ไม่ต้องกังวลเวลาที่ลูกพูด 2 ภาษาปนกัน หรือตอบคุณแม่เป็นภาษาไทยขณะที่คุณแม่ถามเป็นภาษาอังกฤษ นั่นแสดงว่าลูกก้าวหน้าไปอีกขั้นแล้ว เช่น คุณแม่พาลูกมาซื้อของเล่น แล้วพยายามถามลูกเป็นภาษาอังกฤษตลอด “Do you like this?”
ลูกก็ตอบเป็นภาษาไทยตลอด “ไม่เอา หนูไม่ชอบอันนี้ จะเอาอันโน้น ” คุณแม่ก็หงุดหงิด ถึงขั้นลากลูกกลับบ้าน แบบนี้ก็ไม่ไหว
เครียดกันทั้งบ้าน
3). ความต่อเนื่องในการฝึก บางทีให้ลูกเรียนอนุบาลอินเตอร์ แต่พอย้ายไปโรงเรียนไทย ไม่ได้เรียนภาษาที่สองต่อเนื่อง หรือที่บ้านไม่ได้พูดภาษาที่สองกับลูก พอไม่ได้ใช้นานๆก็จะเลือนๆไปขณะที่บางคนมาเรียนภาษาที่สองตอนโต แต่ได้ใช้บ่อยๆกับที่ทำงานหรือมีสามีภรรยาเป็นคนต่างชาติ ก็จะเกิดความชำนาญคล่องแคล่วไปเอง
4). ปัญหาของคนไทยในการใช้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องไวยากรณ์ แต่เป็นเรื่องของความกล้าพูดมากกว่า ดูตัวอย่างคนอินเดีย สิงคโปร์ ฮ่องกง พูดภาษาอังกฤษปร๋อ ทั้งๆที่สำเนียง ไวยากรณ์ก็ใช่ว่าจะถูก แต่เอาเป็นว่าสื่อสารได้ก็โอเค ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่กล้าพูดกับลูก ถึงแม้ว่าสำเนียงไม่ดี ไวยากรณ์ไม่เป๊ะ แต่มีความสุขความสบายใจในการพูด ก็พูดไปเถอะค่ะ ยังไงก็ได้ประโยชน์แน่นอน ส่วนเรื่องสำเนียงลูกเค้าเลียนแบบจากสื่อการสอนหรือการ์ตูนดีๆเสียงภาษาอังกฤษในฟิล์ม หรือเรียนไวยากรณ์จากวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเองได้
อย่างไรก็ดี การ สอนภาษาอังกฤษลูก ในยุคนี้ เรียกได้ว่าเป็นกระแสเลี้ยงลูกแบบต่างๆมีมาตลอด คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจารณาดูว่าแบบไหนที่เหมาะกับลูกเรา และอย่าฝืนจนไม่เป็นธรรมชาติ อย่าลืมว่าลูกจะเก่งแค่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญคือต้องให้เค้าเป็นคนดีและมีความสุขด้วยค่ะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- หมอชี้! เด็ก 4 ขวบเก่งอังกฤษเพราะมือถือไม่ใช่เรื่องดี เสี่ยงออทิสติกเทียม
- รวมเพลงเด็กภาษาอังกฤษ ร้องง่าย ฟังติดหู ลูกได้ฝึกคำศัพท์
- สอนลูกเก่งอังกฤษ ตั้งแต่เล็กๆ ด้วย 9 เทคนิคแสนง่าย!
- เผยเคล็ดลับ! วิธีสอนภาษาอังกฤษลูก ให้เก่ง โดยไม่ต้องเรียนพิเศษ
ขอบคุณข้อมูลจาก กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด พ.ญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ