ปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด (Acquired causes) สามารถนำไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งมัก ได้แก่
- โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ อาทิเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) โรคหัด (Measles) และโรคคางทูม (Mumps) สามารถนำไปสู่ภาวะหูตึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดในเด็ก
- การติดเชื้อเรื้อรังในหู ซึ่งมักแสดงออกมาในลักษณะโรคหูน้ำหนวก (Discharging ears) โดยนอกจากจะนำไปสู่ภาวะหูตึงแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ฝีในสมอง (Brain abscesses) และโรคหัด
- การสะสมของของเหลวในหู จนทำให้หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)
- การใช้ยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินไม่ว่าในช่วงวัยใดก็ตาม เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหูชั้นใน
- ความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นต่อศีรษะหรือหู
- การฟังเสียงที่ดังเกินไปอย่างต่อเนื่อง
- อาการหูตึงที่แปรผันไปตามอายุ หรือ อาการประสาทหูบกพร่องในวัยชรา (Presbycusis) ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเซลล์อันเกี่ยวกับกระแสประสาท
- ขี้หู รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมที่ขวางอยู่ในช่องหูก็สามารถเป็นสาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการได้ยินได้ในบุคคลทุกวัย เพียงแต่ลักษณะความหูตึงจากสาเหตุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงระดับน้อย และสามารถแก้ไขได้ในทันที
ทั้งนี้ สำหรับเด็กแล้ว การสะสมของของเหลวในหู จนทำให้หูชั้นกลางอักเสบถือเป็นสาเหตุหลักอันนำไปสู่ปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน
การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูก ทำได้ 2 วิธี
- การทดสอบการได้ยินโดยการใช้อุปกรณ์ OAE (Otoacoustic) เป็นการทดสอบโดยให้ทารกฟังเสียงจากหูฟังเล็กๆ โดยคอมพิวเตอร์จะทำการวัดระดับความดังของเสียงที่หูทารกได้สะท้อนกลับมา การทดสอบจะทำในขณะที่ทารกยังหลับอยู่
- การทดสอบการได้ยินด้วยอุปกรณ์ ABR (Auditory Brainstem Response Test) การทดสอบโดยให้ทารกได้ยินเสียงผ่าน Head Phone การทดสอบนี้จะสามารถวัดการได้ยินของทารก
วิธีสังเกตความบกพร่องต่อการได้ยินของลูกน้อย
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่นั้นจะรู้ทันท่วงทีว่าลูกมีความบกพร่องต่อการรับรู้ ดูได้จากวิธีการคร่าวๆ ดังนี้
-
สำหรับเด็กในระยะแรกที่เกิดใหม่
วิธีเริ่มแรก ของเด็กทั่วไป หลังคลอดจะส่งเสียงร้องออกมา เพราะความตกใจ หรือได้ยินเสียงของโลกภายนอกเสียงที่ไม่เคยได้ยิน การส่งเสียงของเด็กที่แสดงให้เรารู้ว่า มีพฤติกรรมรับรู้เสียงชัด ส่วนเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน จะไม่แสดงอาการส่งเสียงร้องออกมามากนัก เนื่องจาก ไม่ได้ยินเสียงของคุณหมอ มักจะร้องต่อเมื่อหิวอาหาร หรือป่วยหนักๆเท่านั้น
-
เด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไปหลังจากคลอดแล้ว
จุดสังเกตเบื้องต้น พูด หรือส่งเสียงเรียกเขา หากไม่มีการตอบรับ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายของเด็กให้เร็วที่สุด
-
เด็กที่อายุ 6 เดือน
ใช้วิธีเรียก หรือส่งเสียงให้เขารับรู้ หากได้ยิน เด็กจะแสดงพฤติกรรมการเอียงหู หรือหันหน้ามาหาเรา หากไม่พบสิ่งที่ได้เอ่ยมา แสดงว่าเด็กอาจจุมีการสูญเสียการได้ยินไปบ้างเล็กน้อย
-
อายุ 8 – 12 เดือน
สังเกตพฤติกรรม การรับชมทีวี การหัวเราะ ว่ามีพฤติกรรม นอกเหนือจากเด็กทั่วไปหรือไม่ ปกติแล้วหากเด็กรับชมการ์ตูน หรือดูทีวี จะแสดงท่าทีที่ชอบ และหยอกล้อกับสิ่งที่เขาเห็น เช่นการ์ตูน
-
เด็กอายุ 2 ปี
ปกติแล้ว อายุครบ 2 ปี ถือว่าเด็กต้องมีการพูดคุยกับคุณพ่อ และคุณแม่ได้พอสมควรแล้ว และการรับรู้หรือการรับเสียง จะเต็มที่สุดในอายุครบ 2 ปี หากเด็ก มีความบกพร่องทางการได้ยิน แนะนำควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน
สรุปการสังเกตลูกหูหนวก หรือบกพร่องทางการได้ยิน หากอายุครบ 2 ปี ยังไม่พูด หรือแสดงกิริยาที่ผิดปกติ ไม่มีการโต้ตอบเหมือนเด็กทั่วไป แสดงว่าเด็กอาจจะพิการทางด้านหูแล้ว แต่สมัยนี้นวัตกรรมของคุณหมอ มีความเชียวชาญและทันสมัยมากขึ้น การรับรู้ของเด็กที่พิการทางด้านหูก็อาจจะมีสิทธิกลับมาได้ยินเหมือนเด็กทั่วไปอีกครั้ง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ
- 17 ท่า นวดทารก ช่วยทำให้สุขภาพและพัฒนาการดี
- 5 วิธีกระตุ้นความจำ ให้สมองลูกน้อย
- เจาะลึก 40 สัปดาห์กับการ พัฒนาการลูกในครรภ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.abnormalbehaviorchild.com