ผลที่มีต่อสุขภาพของบุตร
เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่มีลูกมาก จะประสบปัญหาดังนี้ คือ
- เด็กที่เกิดมาในอันดับที่ 5 ขึ้นไป ย่อมมีโอกาสที่จะตายตั้งแต่อยู่ในท้องได้มาก ถึงแม้จะไม่ตายตอนอยู่ในท้อง ก็มีโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิตในระหว่างวัยทารกก็ได้ มากกว่าเด็กที่เกิดในอันดับที่ 1-4
- เด็กที่เกิดมาจากมารดาที่อายุมาก และผ่านการมีลูกมามากคนแล้ว โอกาสที่จะมีอวัยวะพิการ หรือวิปริตแต่กำเนิด และมีโอกาสที่จะเป็นเด็กปัญญาอ่อนได้มากกว่าปกติ
- เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีลูกมาก จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเด็กในครอบครัวที่มีลูกน้อย และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยบ่อยครั้งกว่าเด็กในครอบครัวที่มีลูกน้อยคน ทั้งนี้เพราะเด็กทารกที่เกิดมาย่อมต้องการอาหารที่มีคุณค่าในการหล่อเลี้ยงร่างกายและสร้างความเจริญเติบโตให้แก่อวัยวะต่างๆ หากเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอก็จะโตช้า เจ็บป่วยได้ง่าย เพราะขาดความต้านโรค และสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อยและยากจนนั้น เด็กที่เกิดเพิ่มขึ้นมาอีกคนหนึ่งย่อมหมายความว่า อาหารของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนจะต้องถูกเฉลี่ยออกไป
- เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีลูกมาก มักจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กในครอบครัวที่มีบุตรน้อยกว่า และมีโอกาสจะเจ็บป่วยด้วยโรคประสาทหรือโรคจิตหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความประพฤติและอุปนิสัยมากกว่าเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีบุตรน้อย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ดังนั้น วิธีที่จะหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการมีลูกกระชั้นชิดติดกันไป หรือมีในเวลาอันไม่ควร การรู้จักใช้วิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ เช่น ถุงยาง “มีชัย” ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาสอดในช่องคลอด ห่วงอนามัย หรือวิธีนับระยะปลอดภัยก็ตามเพื่อช่วยให้กำหนดได้ว่าควรจะมีลูกเมื่อใด และเมื่อมีแล้วควรจะเว้นระยะการมีลูกคนใหม่ให้ห่างกันกี่ปี หรือเมื่อมีพอแล้วก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวร คือการทำหมันชาย ทำหมันหญิง ไปเสียเลยเพื่อตัดความกังวลที่จะตั้งท้องอีก
ผ่าคลอด มีลูกได้กี่คน?
โดยปกติแล้วคุณแม่ที่ ผ่าคลอดลูก คุณหมอจะแนะนำให้มีลูกแค่ 2 คนเท่านั้น และเว้นช่วงการมีลูกห่างกัน 2 ปี เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนร่างกายและกันเรื่องแผลที่ผ่าจะแยก หรือเรื่องมดลูกจะแตก ดังนั้นหลังผ่าคลอดควรเว้นระยะไปสักนิดถ้าต้องการมีลูกคนต่อไป เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ
แต่ในปัจจุบัน คุณแม่ผ่าคลอดบางคน ผ่าคลอดลูก 3-4 คน ก็มีมาแล้ว หรือ บางคนเว้นช่วงยังไม่ถึงปี ก็ตั้งครรภ์คนต่อไปเลยแบบนี้ก็มีค่ะ คุณแม่ผ่าคลอด จะมีลูก 2 คน 3 คน หรือ 4 คน ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด คุณหมอจะดูข้อจำกัดของคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้ว ดังนี้
- อายุของคุณแม่มากเกินไปหรือไม่
- แผลผ่าคลอดครั้งที่แล้ว หนาบางแค่ไหน
- มีพังผืดที่ท้องมากเกินไปหรือไม่ ถ้ามีมากไม่สมควรผ่าคลอดอีกค่ะ
- โรคประจำตัวที่อาจจะแทรกซ้อนรุนแรงขณะที่ตั้งครรภ์
สิ่งสำคัญเมื่อตั้งครรภ์มีลูกแต่ละคน นอกจากการดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดแล้ว ช่วงเวลาหลังคลอดก็เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจดูแลตัวเองเป็นพิเศษเช่นกัน ด้วยภาระหน้าที่ของคุณแม่หลังคลอดที่ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบต่อชีวิตน้อยๆ ของคุณมากขึ้น ดังนั้น จงอย่าปล่อยให้สุขภาพเจ็บป่วยหรือเสื่อมโทรมในหลังจากคลอดเลยนะคะ เพื่อชีวิตทารกน้อยๆ ที่คุณจะต้องดูแลอย่างดีที่สุด ดังนั้นแล้ว หากคุณแม่ไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ วันหนึ่งข้างหน้าคุณอาจจะต้องเจ็บป่วยและอาจปกป้องดูแลคนที่คุณรักได้อย่างไม่เต็มที่ก็เป็นได้ค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.doctor.or.th , www.factsforlifethai.cf.mahidol.ac.th
ขอบคุณภาพจาก เฟสบุ๊ก Ple Nakorn , june_kasama , ple_nakorn