สำหรับคุณแม่ท้องที่เดินทางมาถึงไตรมาส 2 กันแล้ว Amarin Baby & Kids จึงรวมหลากเรื่องที่แม่มือใหม่ในไตรมาสที่ 2 ควรรู้ในแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกันค่ะ
Highlights แม่ท้องช่วงไตรมาสที่ 2
- ขนาดท้องใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัดเจน
- เริ่มรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นแล้ว และรู้ว่าลูกเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง
- อาการแพ้ท้องค่อยๆหายไป
- เริ่มมีอาการปวดหลัง กรดไหลย้อน วิงเวียนศีรษะ
- น้ำนมเหลืองเริ่มไหล
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม
อาการแบบนี้ต้องหาหมอ
- เลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ คือ มีกลิ่นเหม็น เป็นมูก มีเลือดปน
- ปวดช่องท้องหรือมีการบีบตัวของมดลูกมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
- ปวดหน่วงๆที่อุ้งเชิงกรานหรือรู้สึกถึงแรงกดเพิ่มมากขึ้น
- ปวดหลังส่วนล่างทั้งๆที่ไม่เคยปวดมาก่อน
- ปวดหัวรุนแรงและต่อเนื่อง
- ปวดท้องรุนแรง ท้องแข็งตึงอย่างต่อเนื่อง
- มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อน หรือเห็นจุดดำลอยไปมา
- หน้าบวม ตาบวม มือบวม จู่ๆเท้ากับข้อก็บวมอย่างกระทันหัน ขาข้างใดข้างหนึ่งบวมผิดปกติ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ขาเป็นตะคริวไม่หาย และเจ็บน่อง
- แสบและปวดขณะปัสสาวะ
- อาเจียนรุนแรงร่วมกับมีไข้
- มีไข้เท่ากับหรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
- วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก
- มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
- ลูกดิ้นน้อยลง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Must do
พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เช่น การชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะและความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจของลูก ตรวจขนาดหน้าท้องและมดลูก และตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารก การเจาะน้ำคร่ำ (สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุมากกว่า 35 ปี) การอัลตราซาวด์ การตรวจคัดกรองเบาหวาน
อาหารการกิน ในช่วงไตรมาส 2
สำหรับไตรมาสนี้มีสารอาหาร 3 ชนิดที่แม่ท้องต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ได้แก่
- โปรตีน เพราะจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของลูก
- ธาตุเหล็ก เนื่องจากคนตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนปกติ เพื่อเสริมสร้างส่วนของทารกและส่วนของแม่ ซึ่งแม่ท้องต้องการธาตุเหล็กตลอดการตั้งครรภ์จำนวน 1,000 มิลลิกรัม โดยจำนวน 300 มิลลิกรัม ไปสร้างส่วนที่เป็นรกและทารก จำนวน 500 มิลลิกรัม ไปเพิ่มส่วนที่เป็นโลหิตของแม่ และจำนวน 200 มิลลิกรัม ถูกขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และเหงื่อ
- แคลเซียม จำเป็นมากสำหรับการสร้างกระดูกและฟันของลูก และบำรุงกระดูกของแม่ให้แข็งแรง สำหรับคุณแม่ที่ดื่มนมไม่ได้ คุณแม่สามารถกินแคลเซียมจากแหล่งอื่นได้ เช่น คะน้า ปลาตัวเล็ก ถั่วเหลือง เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต งา เป็นต้น
การออกกำลังกาย ในช่วงไตรมาส 2
ขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่ทรงตัวลำบาก หกล้มได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป เช่น ว่ายน้ำ โยคะ เดิน เป็นต้น
Tip : การฝึกขมิบเป็นการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ช่วยให้คลอดง่าย ใช้เวลาคลอดน้อยลง
Do You Know?
อัตราเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำมี 0.5% จากการติดเชื้อ ดังนั้นหลังจากได้รับการตรวจแล้วควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดยกของหนัก และงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 วันแรกหลังจากการตรวจ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
คลิปการเจริญเติบโตของหนูน้อยในครรภ์มารดา ช่างน่าอัศจรรย์จริงๆ ค่ะ
สารอาหารเพื่อสุขภาพแม่ท้อง ดีต่อทารกและคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์
แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง? ตั้งแต่ตั้งครรภ์ถึงการคลอดลูก
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : entertain.news-lifestyle.com/contents/160626/
ขอบคุณภาพจาก IG : @sunisajett