สาเหตุที่คุณหมอแนะนำให้ควรมีลูกห่างกันคนละ 2 ปี
- การมีลูกถี่เกินไป ระยะห่างน้อยกว่า 2 ปี ลูกมักจะเกิดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ร่างกายไม่แข็งแรง เลี้ยงยาก เจริญเติบโตไม่ดี มีพัฒนาการไม่สมวัย มีปัญหาในการเรียนรู้ อาจตายในช่วงขวบปีแรกมากกว่าเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักปกติถึง 4 เท่า
- แม่ที่มีลูกถี่ และมากเกินไป จะมีสุขภาพทรุดโทรม เพราะร่างกายยังไม่กลับคืนสู่สภาพปกติ จึงต้องการเวลาพักฟื้นบำรุงสุขภาพก่อนที่จะตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
- การมีลูกห่างกันอย่างน้อย 2 ปี พ่อแม่จะมีเวลาเอาใจใส่ อบรมเลี้ยงลูกแต่ละคนได้อย่างเต็มที่ และจะได้มีเวลาให้ลูกคนโตเตรียมตัวเตรียมใจยอมรับการมีน้องคนใหม่
- การมีลูกแต่ละคนทำให้ครอบครัวใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเว้นช่วงการมีลูกให้ห่างจะช่วยให้พ่อแม่มีโอกาสเก็บออมเงินทอง เตรียมไว้เพื่อความมั่นคง และความสุขของครอบครัว
- ร่างกายของแม่มักจะอ่อนล้าจากการตั้งครรภ์บ่อยๆ การคลอด การให้นมลูกและเลี้ยงดูลูกเล็กๆ หลายคนต่อๆ กัน โดยเฉพาะเมื่อเว้นช่วงห่างน้อยกว่า 2 ปี และมีลูก 4 คน แม่จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้น เช่น โรคโลหิตจาง และตกเลือด
- การตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 ขึ้นไป แม่มักมีปัญหาสุขภาพ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดได้บ่อย เช่น โลหิตจาง ตกเลือด แท้ง ทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูก
- ลูกคนที่ 4 ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาจจะตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย เสี่ยงต่อความพิการเจ็บป่วยได้ง่าย มีโอกาสตายในช่วงปีแรกได้มากกว่า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้เหตุที่มีการสนับสนุนให้มีลูกน้อยๆ คน ก็เพราะว่าการที่มีลูกมากนั้นมีผลสะท้อนต่อสุขภาพของบุคคลภายในครอบครัวที่เห็นได้ชัด ก็คือ
ผลที่มีต่อสุขภาพของบิดา
ในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพของตัวพ่อที่มีลูกมากๆ นั้นที่เห็นได้ชัด ก็คือ พ่อที่มีลูกมากมีโอกาสจะเป็นโรคประสาทและโรคจิตได้มากกว่าพ่อที่มีลูกน้อยเพราะ พ่อเป็นหัวหน้าครอบครัวย่อมจะต้องรับผิดชอบในการหาเงินมาเลี้ยงดูลูกๆ ให้มีความสุข และมีการศึกษาพอสมควร การมีลูกมากย่อมทำให้พ่อต้องดิ้นรนขวนขวายทำงานหาเงินมากขึ้น นอกจากร่างกายจะตรากตรำจากงานแล้ว จิตใจยังมีความกังวล เคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลา จึงอาจจะเจ็บป่วยได้ง่าย บางคนอาจหันไปใช้เหล้า หรือยาเสพติดเป็นเครื่องดับทุกข์ หรือบรรเทาความกลัดกลุ้มซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพและชีวิตอย่างยิ่ง
ผลที่มีต่อสุขภาพของมารดา
การตั้งท้องและการคลอดลูกบ่อยครั้ง เป็นผลร้ายแก่สุขภาพอนามัยของแม่โดยตรง คือ
- แม่ที่คลอดลูกบ่อยๆ โอกาสที่จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคแทรกระหว่างตั้งท้องมีสูงมากกว่าแม่ที่คลอดลูกน้อยครั้งกว่า
- คลอดลูกบ่อยๆ จะทำให้เกิดการฉีกขาดของช่องคลอดซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เป็นมะเร็งที่ปากมดลูกได้ ส่วนเด็กที่เกิดจากแม่ลูกดกนั้น ในช่วงอยู่ในท้องอาจมีขนาดโตเกินไปหรืออยู่ในท่าที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้มดลูกแตกเวลาคลอดได้ หรือเด็กที่คลอดออกอาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ มีโอกาสที่จะเป็นโรคขาดอาหาร ปัญญาอ่อน มีอวัยวะพิการหรือไม่สมประกอบแต่กำเนิดก็ได้
- การมีลูกถี่เกินไปแบบหัวปีท้ายปีติดต่อกันไป ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่และลูกได้ โดยจะทำให้สุขภาพของแม่ทรุดโทรวม คลอดลูกเสร็จร่างกายยังไม่ทันพักผ่อน ก็ต้องตั้งท้องเตรียมคลอดลูกคนใหม่อีก ร่างกายยิ่งอ่อนแอลงทุกที ดีไม่ดีมีโรคแทรก อาจทำให้ทั้งแม่และลูกต้องเสียชีวิตไปพร้อมกันก็มี ดังนั้น ช่วงเวลาห่างในการมีลูกแต่ละคนควรจะเป็น 4 ปี
- การที่แม่มีลูกตั้งแต่อายุยังน้อยโดยเฉพาะก่อนอายุ 14 ปีนั้น มีโอกาสที่แม่และลูกจะตายเพราะการตั้งท้องหรือตอนคลอดมีสูงมาก ส่วนแม่ที่ไปตั้งท้องเอาเมื่อตอนอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็มีอันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเท่าเทียมกัน สรุปแล้วช่วงที่ดีที่สุด ที่ผู้หญิงควรจะมีบุตร ก็คือ ช่วงระหว่าง 20-30 ปี
- แม่ที่เป็นโรคบางอย่างอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคมะเร็ง การตั้งท้องและการคลอดบุตรยังอาจเป็นอันตรายร้ายแรงแก่ตัวแม่ ทำให้ถึงกับเสียชีวิตก็ได้
- ในการตั้งท้องแต่ละครั้ง ร่างกายของแม่จะต้องใช้อาหารเพิ่มขึ้นสำหรับหล่อเลี้ยงทารกในท้อง ดังนั้นถ้าหากผู้เป็นแม่เป็นโรคขาดธาตุอาหารอยู่แล้ว ก็ย่อมจะมีโรคมากขึ้นในระหว่างตั้งท้อง ผู้หญิงที่ตั้งท้องในขณะที่ลูกคนเล็กยังไม่อดนมนั้นก็เท่ากับร่างกายต้องเสียพลังเลือดเนื้อเลี้ยงลูก 2 คน ในเวลาเดียวกัน ซึ่งย่อมบั่นทอนสุขภาพของตัวแม่เป็นอย่างยิ่ง
- ในด้านสุขภาพ แม่ที่มีลูกมากย่อมจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคประสาทและโรคจิตได้มากกว่าปกติ และการที่ตัวภรรยาไม่อยากจะมีลูกอีกนั้น อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความระหองระแหงขึ้นในครอบครัวถึงอันหย่าร้างได้ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสามีภรรยาที่มีลูกมาก มักจะทะเลาะเบาะแว้งและหย่าร้างกันมากกว่าสามีที่มีลูกน้อยๆ คน