ทารกหยุดหายใจ ภาวะอันตรายในเด็กคลอดก่อนกำหนด - amarinbabyandkids
ทารกหยุดหายใจ

ชมคลิป นาทีชีวิต! พยาบาลเร่งช่วยทารกเพิ่งคลอดหยุดหายใจ

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกหยุดหายใจ
ทารกหยุดหายใจ

การพยาบาลทารกที่มีภาวะหยุดหายใจจากการเกิดก่อนกำหนด

สำหรับการพยาบาลทารกที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาเท่านั้น พยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิดจะให้ทารกได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยยากระตุ้นศูนย์หายใจที่ใช้บ่อย คือ กลุ่ม methylxanthine และ doxapram

  • Methylxamthine ได้แก่  theophylline  และ caffeine  ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์หายใจทำงานเพิ่มขึ้น  เพิ่มความไว และลด threshold ของศูนย์หายใจต่อคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้กระบังลมหดตัวดีขึ้นและอ่อนล้า (fatigue) ช้าลง  นอกจากนี้ยังยับยั้งการทำงานของ adenosine ซึ่งเป็น neurotransmitter ที่กดการหายใจ (ประวิน  จันทร์วิทัน,  2546)
  • Doxapram  โดยยานี้ถ้าให้ในขนาดต่ำจะกระตุ้น carotid body chemoreceptor  ถ้าให้ในขนาดสูงจะกระตุ้นศูนย์หายใจ เนื่องจากนี้ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย จึงไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียด
  1. พยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิด จะทำการประเมินติดตามการตอบสนองต่อการรักษา ภายหลังให้ยากระตุ้นศูนย์หายใจ ภาวะหยุดหายใจของทารกควรจะหายไป
  2. ประเมินติดตามผลข้างเคียงของยา ได้แก่
    • หัวใจ  ยานี้ทำให้หัวใจเต้นเร็ว  ดังนั้นก่อนให้ยานี้แก่ทารก จะต้องประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ หากมากกว่า 180 ครั้ง/นาที  งดให้ยาและรายงานแพทย์ทราบ
    • ทางเดินอาหาร  อาจทำให้อาการท้องอืด  ความสามารถในการรับนมลดลง  สำรอกนม
    • การเผาผลาญ  อาจเกิดน้ำตาลในเลือดสูง จึงควรสังเกตอาการปัสสาวะออกมาก  และตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ
    • ระบบประสาท  จะทำให้เกิดอาการมือเท้าสั่น  ตื่นตัวง่าย  ถ้ารุนแรงอาจเกิดอาการชักได้
  3. ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจระดับยาในเลือด  เนื่องจากการตอบสนองต่อยาแตกต่างกันในทารกแต่ละคน    ดังนั้นทารกจึงควรได้รับการตรวจระดับยาในเลือด  เพื่อปรับระดับยาหากทารกมีการตอบสนองต่อยาน้อย หรือเกิดผลข้างเคียงของยามาก
  4. ประเมินติดตามภาวะหยุดหายใจของทารกภายหลังหยุดให้ยา เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาของการให้ยา  และวิธีหยุดยาไว้แน่นอน  ดังนั้นหากแพทย์มีแผนการรักษาให้หยุดยาดังกล่าว  พยาบาลจะต้องประเมินติดตามภาวะหยุดหายใจของทารกภายหลังแพทย์หยุดให้ยา  เพื่อจะได้รายงานแพทย์ต่อไป  หากทารกกลับมีภาวะหยุดหายใจและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

อ่านต่อบทความอื่น่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.cmnb.org

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up