การรักษาโรคหัวบาตร หัวโต
การรักษาโรคหัวบาตร หัวโต วิธีการรักษาที่เร็วที่สุด คือวิธีการผ่าตัด ทั้งนี้ เพื่อลดแรงกดของสมองได้ทันที ป้องกันไม่ให้สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งวิธีการผ่าตัดรักษาโรคหัวบาตร หัวโต มีวิธีดังนี้
- การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องในโพรงสมอง โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น โดยจะผ่าตัดและใช้กล้องขนาดเล็กส่องภายในโพรงสมอง สร้างรูในเนื้อสมองเพื่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังให้ไหลออกมายังผิวสมองส่วนที่สามารถดูดซับน้ำสมองได้
- การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง เป็นการใส่ท่อระบายน้ำที่ยาว ยืดหยุ่นได้ และมีลิ้นเปิดปิด เพื่อให้ของเหลวจากสมอง ไหลถูกทิศทางด้วยอัตราความเร็วที่เหมาะสม แพทย์จะผ่าตัดนำปลายท่อด้านหนึ่งไว้ที่โพรงสมอง และสอดท่อไว้ใต้ผิวหนังผ่านไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ที่สามารถดูดซึมน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังที่มากเกินไปได้ เช่น บริเวณช่องท้อง โดยผู้ป่วยโรคหัวบาตร หัวโตจำเป็นต้องใส่ท่อระบายนี้ตลอดชีวิต และต้องเข้ารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง
- การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ป่วยด้วยโรคหัวบาตร หัวโต อาจต้องได้รับการรักษาอื่นเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และระยะเวลาในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นของโรคหัวบาตร หัวโต
แม้ว่าเด็กที่เป็นโรคหัวบาตร หัวโต จะได้รับการผ่าตัด แต่ก็ยังคงต้องสังเกต และเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่องค่ะ เพราะการผ่าตัดรักษาโรคหัวบาตร หัวโต นั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
- ในการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังนั้น สายอาจหยุดการระบาย หรือควบคุมการระบายน้ำได้ไม่ดี เนื่องจากเครื่องมืออาจทำงานผิดปกติเกิดการอุดตัน หรือเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก
- ในการผ่าตัดในโพรงสมองนั้น ก็อาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะเลือดออก จนเกิดการติดเชื้อได้
- ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาและทางร่างกายบกพร่อง เช่น มีปัญหาความจำและการเรียนรู้ มีสมาธิสั้น มีความบกพร่องในการพูดและการมองเห็น หรืออาจป่วยด้วยโรคลมชักก็เป็นได้เช่นกัน แต่หากอาการไม่รุ่นแรงมากนัก ก็จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม
การป้องกันโรคหัวบาตร หัวโต
โรคหัวบาตร หัวโต แม้ว่าจะเป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก แต่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ควรจะทำการฝากครรภ์ เพื่อให้อยู่ในความดูแลจากแพทย์ก่อนคลอด ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการตรวจลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรค และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเป็นเหตุให้เด็กมีภาวะหัวโตได้ รวมถึงคุณแม่ควรดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ด้วยการรับบประทานอาหารที่มีโฟเลต ช่วยลดโรคหัวบาตรได้ และรับประทานกรดโฟลิค ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์ เพื่อป้องกันความผิดปกติของกระดูกสันหลัง และสมองด้วยค่ะ
เมื่อวางแผนที่มีจะลูกน้อยมาเติมเต็มชีวิตครอบครัวแล้ว การเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับว่าที่คุณแม่ทุกคนนะคะ เพราะเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกที่เกิดมากมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองมากๆ และคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆของลูกน้อยด้วยนะคะ หากมีความผิดปกติใดๆ จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก pobpad
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
อัพเดทราคา แพคเกจวัคซีน 2561 จาก 12 โรงพยาบาลดัง
อัพเดท ราคาวัคซีนโรต้า 2561 จาก 12 โรงพยาบาลดัง
กรมควบคุมโรคเตือน! ระวัง “ลูกแรกเกิด-4ปี” เสี่ยงป่วย โรคหัด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่