- ฉีดเพื่อป้องกันก่อนได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า ผู้ซึ่งสมควรได้รับวัคซีนนี้ได้แก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ต้องทำงานและอยู่ใกล้ชิดสัตว์ป่า ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสเชื้อไวรัสดังกล่าว หรือผู้ที่มีความเสี่ยงจะได้รับเชื้อ เช่น บุรุษไปรษณีย์ สัตว์แพทย์ ครูฝึกสอนสัตว์เลี้ยง หรือผู้ดูแลสัตว์
- ฉีดเพื่อป้องกันเมื่อต้องสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า แพทย์จะพิจารณาให้รับวัคซีนนี้เมื่อถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด หรือข่วน ซึ่งจะต้องได้รับวัคซีนเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ก่อนฉีดควรสังเกตลักษณะหรือความผิดปกติของวัคซีนอย่างละเอียด หากตัววัคซีนมีสีและลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือบรรจุภัณฑ์แตกร้าวไม่ควรนำมาใช้ เพราะตัวยาอาจเสื่อมสภาพแล้ว การได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักรเพื่อความปลอดภัย
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดภายในกี่วัน
ในการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ผู้เข้ารับวัคซีนจะต้องได้รับวัคซีนอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด และควรได้รับจนกว่าจะครบ สำหรับการฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรคในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
- โดยมากจะเป็นวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน
- ฉีด 5 ครั้งในวันที่ 0 3 7 14 และ 30 (วันที่ 0 หมายถึงวันแรกที่ฉีด)
- ในกรณีนี้ถ้าหลังจากเกิดเหตุ 10 วันแต่สัตว์ยังปกติดีให้หยุดฉีดวัคซีนได้ เพราะสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าและอยู่ในระยะแพร่เชื้อจะแสดงอาการจนถึงตายภายใน 10 วัน และเท่ากับว่าเราได้รับวัคซีนแล้ว 3 ครั้ง ถือเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้า
- ส่วนเซรุ่มนั้นจะฉีดในวันแรกแค่ครั้งเดียวโดยฉีดรอบบาดแผลและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
สำหรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เพื่อกระตุ้นผู้ที่สัมผัสกับโรคหรือเคยได้รับวัคซีนจนครบมาก่อนแล้ว ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีนแบบก่อนสัมผัสโรค หรือหลังสัมผัสโรคจนครบชุดแล้ว มีการสัมผัสกับโรคซ้ำ แพทย์จะฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยซ้ำ โดยยึดหลักดังต่อไปนี้
- สัมผัสโรคภายใน 6 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม ครั้งเดียว หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 จุด ปริมาณ 1 มิลลิลิตรครั้งเดียว
- สัมผัสโรคหลังจากได้รับวัคซีนครั้งสุดท้าย 6 เดือนขึ้นไปฉีด 2 ครั้ง โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 3 วัน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทั้งนี้ในการฉีดเข้าใต้ผิวหนังให้ฉีดครั้งละ 1 จุดปริมาณ 1 มิลลิลิตร
ไปรับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ผิดนัด ต้องทำไง
ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับวัคซีนไม่ครบ ไปรับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ผิดนัด หรือไม่สามารถมาฉีดได้ตามกำหนด ควรแจ้งแพทย์โดยทันที ซึ่งหากคลาดจากกำหนดเดิมเพียง 2-3 วันก็สามารฉีดต่อไปโดยไม่ต้องเริ่มใหม่
เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนอาจลดลงได้หากใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน อีกทั้งวัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อพิษสุนัขได้ 100% นอกจากนี้ส่วนประกอบของอัลบูมิน ที่อยู่ในวัคซีนอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคเกี่ยวกับประสาทส่วนกลางได้ แต่เป็นไปได้น้อยมาก
ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วัคซีนดังกล่าว ไม่ว่าจะมีสุขภาพปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพหรือไม่เพื่อความปลอดภัยจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
สำหรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ของ แม่ท้อง หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร หากจำเป็นต้องได้รับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากการฉีดวัคซีนนี้ เพราะตัวยาอาจปนไปในน้ำนม หรือถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ลูกโดนหมากัด ต้องดูแล และ ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า กี่เข็ม?
- Kid safety รักน้องแมวรักน้องหม ต้องพาไปฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า
- 6 โรคหน้าร้อน เตือนพ่อแม่เตรียมรับมือไว้ให้ดี!
- อยากท้อง แต่เลี้ยงน้องสุนัขได้ไหม?
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.fm91bkk.com , www.pobpad.com